โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Monday, October 29, 2012

การจัดการทุนมนุษย์ (human capital management)

การจัดการทุนมนุษย์ (human capital management)





หลังจากที่ได้อ่านเรื่อง การจัดการทุนมนุษย์ (human capital management) ซึ่งนำมาเชื่อมโยงกับ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้( Personal mastery ) ซึ่งผมศึกษาจากหนังสือ  การจัดการทุนมนุษย์
ผมศึกษาการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้( Personal mastery ) จากหนังสือเล่มนี้ถึงแม้ไม่ตรงมาก แต่เป็นการบอก ชี้นำแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิ่งที่น่าสนใจคือ การนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการ  โดย นำ อิทธิบาท 4 มาบรรยายเพื่อ กำจัด นิวรณ์ 5 ตามลำดับ หากแปลให้เชือมโยงกันผมคิดว่า การบริหารจัดการคนเพื่อ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้( Personal mastery ) ตามที่ผมศีกษา อิทธิบาท 4  เป็นอีกโมเดลหนึ่งซึ่งน่านำไปเสนอเพิ่มเติมในการศึกษาค้นคว้า ตอนนี้เตรียมข้อมูลไว้แล้วเหลือแหล่งอ้างอิง  


อธิบาย อิทธิบาท 4  เพิ่มเติมนะครับ
      คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่







No comments:

Post a Comment

like