โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Sunday, January 3, 2016

การประเมินเพื่อตอบสนองแบบมีส่วนร่วม(Stekeholder) ต่อเป้าหมายและบทบาทของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน STEM

ระเบียบวิธีวิจัย แบบเชิงปริมาณและการประเมินเพื่อตอบสนองแบบมีส่วนร่วม(Stekeholder)
ต่อเป้าหมายและบทบาทของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน STEM
รวบรวมโดย นายวีรชาติ มาตรหลุบเลา
การวิจัย (อังกฤษ: research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์
โดยทั่วไป เป็นที่เข้าใจกันว่าการวิจัยคือการกระทำตามกระบวนการที่มีโครงสร้างเฉพาะอันใดอันหนึ่ง แม้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ดังกล่าวจะมีความผันแปรแตกต่างกันไปตามลักษณะของเนื้อหางานและตามนักวิจัยอยู่บ้างก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้:
          1.การวางเนื้อเรื่องและกำหนดชื่อเรื่อง
          2.การตั้ง          2.การตั้งสมมุติฐาน          3.การนิยามแนวคิด (Conceptual definition)
          4.การนิยามวิธีการทำวิจัย (Operational definition)
          5.การรวบรวมข้อมูล
          6.การวิเคราะห์ข้อมูล
          7.การทดสอบและการปรับสมมุติฐาน
          5.การรวบรวมข้อมูล
          6.การวิเคราะห์ข้อมูล
          7.การทดสอบและการปรับสมมุติฐาน
          8.การสรุปและการทำซ้ำ (iteration) ถ้าจำเป็น


วิธีการวิจัย ที่ใช้กันในปัจจุบัน

1.การวิจัยเชิงปฏิบัติ
2.ชาติพันธุ์วรรณา
3.วิธีเดลฟาย
4.การวิเคราะห์เชิงสถิติ
5.การจำลอง หรือ ซีมิวเลชัน
6.แบบจำลอง
7.แบบจำลองคณิตศาสตร์
8.การสัมภาษณ์
9.แบบสอบถาม
10.การทำแผนที่ (Cartography)
11.กรณีศึกษา (Case study)
12.การจำแนกประเภท (Classification)
13.การวิเคราะห์ข้ออ้างอิง (Citation Analysis)
14.การถือชาติพันธุ์ของผู้บริโภค (Consumer ethnocentrism) และ CETSCALE
15.ตัวบทหรือ
15.ตัวบทหรือการวิเคราะห์ตัวบท (Content or Textual Analysis)
16.ประสบการณ์ (Experience)
17.การรู้เอง (intuition)
18.การทดลอง (Experiment)
19.การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation)
20. ปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology)
21.วิธีวิทยาคิว (Q methodology)
22.การสำรวจเชิงสถิติ (Statistical survey)



Saturday, January 2, 2016

การเรียนรู้ด้วยตนเองจากทฤษฎีการเชื่อมต่อ (Connectivism) จากนโยบายรัฐบาล สู่โรงเรียน ครู ห้องเรียน และนักเรียนจากนโยบายรัฐบาล สู่โรงเรียน ครู ห้องเรียน และนักเรียน

การเรียนรู้ด้วยตนเองจากทฤษฎีการเชื่อมต่อ (Connectivism)
จากนโยบายรัฐบาล  สู่โรงเรียน ครู ห้องเรียน และนักเรียนจากนโยบายรัฐบาล  สู่โรงเรียน ครู ห้องเรียน และนักเรียน

วีรชาติ มาตรหลุบเลา
          ห้องเรียน ณ เวลาปัจจุบัน ปลายปี 2558 ย่างเข้าสู่ปี 2559 สภาพแวดล้อมบางอย่างเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น รัฐบาลและท้องถิ่นได้สนับสนุนการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องทุกปี เช่นในปีการศึกษา 2558 นี้ได้มีการสนับสนุนโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Dlit) จากโครงการนี้ได้มีการสนับสนุนการเรียนการสอนทั้งด้าน Solfware Hardware Peopleware และ Data  ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนในโครงการนี้ เช่น บริษัท กูเกิ้ล ประเทศไทย (Google App for education) บริษัทไมโครซอฟต์ประเทศไทย (Office 365 for education) บริษัทแอบเปิ้ล ประเทศไทย (iTunes U) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ Digital Economy ของรัฐบาลปัจจุบัน กิจกรรมการเรียนการสอนได้รับการสนับสนุนให้ใช้สื่อที่ทันสมัยนั้นเกิดกิจกรรมการเรียนการสอนขึ้นทั้งในรูปแบบออนไลน์และในรูปแบบออฟไลน์ จึงทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนในปีนี้เริ่มมีเค้าโครงการเข้าสู่การเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น  บทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในชั้นเรียนจึงควรมีความหลากหลายสามารถเชื่อมต่อการเรียนรู้กับส่วนอื่น มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม  มีความถูกต้อง  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
            การเรียนรู้ในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในชั้นเรียนอีกต่อไป นักเรียนเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้านและทุกที่ที่ต้องการเรียนรู้ ด้วยการสังเกต การคิด การอ่าน การฟัง การพูด การตั้งถาม การค้นคว้า การแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งการเรียนรู้นี้อาจเกิดขึ้นในระดับกลุ่ม ระดับบุคคล หรือระดับองค์กร แต่การเรียนรู้นั้นต้องเกิดในระดับบุคคลก่อนจึงจะเกิดการเรียนรู้ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้ขึ้นในระดับบุคคลแล้วอาจไม่เกิดการเรียนรู้ระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร (Sange, 1990)  โดยในแนวคิดด้านการเรียนรู้อย่างเป็นระบบนี้มีนักทฤษฏีที่มีเชื่อเสียงหลายท่านได้เสนอแนวคิดการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ขึ้นหลากหลายแนวคิด เช่น มาร์คอร์ต และ โรโนล์ กล่าวถึงปัจจัยการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) การเรียนรู้ 2) องค์กร 3) บุคคล 4) ความรู้ และ 5) เทคโนโลยี  (Marquardt, & Raynolds, 2002, pp. 23-33)    ดังนั้น จึงควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเริ่มจากระดับบุคคล เช่น เริ่มที่ครู เริ่มที่ห้องเรียน เมื่อเกิดการเรียนรู้จึงจะเกิดการเชื่อมต่อองค์ความรู้ และเกิดความรู้ใหม่ ซึ่งเป็นความรู้ที่เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ตามสถานการณ์ ตามปัจจัยหรือตามตามองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง  

STEM สำหรับโรงเรียนมัธยมตำบล

Research-Based Practices for Engaging Students in STEM Learning
Innovative and effective practices at Cleveland's MC2 STEM High School are driving learning and higher achievement for students in a district where every student qualifies for free or reduced-price meals.
ที่มา::   http://www.edutopia.org/stw-college-career-stem-research
รวบรวม โดย วีรชาติ มาตรหลุบเลา

The STEM School Movement
            เบื้องต้นทำการวิจัยกับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในด้านการเรียนการสอนแบบสะเต็ม มีตัวชี้วัดจาก การเริ่มต้นสร้างความร่วมมือกับอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษาที่สูงกว่า องค์กรไม่แสวงผลกำไร พิพิธภัณฑ์  และศูนย์กลางการวิจัยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสะเต็ม เรียนรู้ผ่านการฝึกงาน การให้คำปรึกษา สหวิทยาการการเรียนรู้แบบโครงการ และประสบการณ์ก่อนเข้าวิทยาลัย(Means, 2008; National Research Council, 2011)  รูปแบบ MC2 STEM เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการเรียนรู้สะเต็มของรัฐ โอไฮโอ (Ohio STEM Learning Network) ซึ่งมีทั้งหมด 10 โรงเรียน พัฒนาโดยการสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายและจากการสนับสนุนของมูลนิธิ เมลินดา เกตส์  และได้ร่วมมือกับรัฐโอไฮโอ และจากพันธมิตรอื่นๆ เครือข่ายการเรียนรู้สะเต็มของรัฐโอไฮโอ ประกอบด้วยหลักการความร่วมมือ  5 หลักการ ดังในส่วนของเครือข่าย  MC2 STEM เป็นการบริหารโรงเรียนสะเต็ม ที่รับนักเรียนด้วยการจัดฉลากไม่สามารถเลือกผู้เรียนได้โดยการสอบ ซึ่งบริบทแตกต่างกับโรงเรียนที่รับนักเรียนโดยการสอบ และเป็นความมุ่งมั่นในแนวคิดความสามารถหรือทักษะทางสะเต็มเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ หลังจากนั้นบางอย่างที่มีตามธรรมชาตินั้นจะต้องถูกระบุเปิดเผยออกมา (Means, 2008).
Bibliography

ความเคลื่อนไหวของโรงเรียนสะเต็ม
          โรงเรียนแบบพิเศษ ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์  เกิดขั้นในสหรัฐอเมริกามานานกว่า 100 ปี เริ่มจากช่วงต้นปี 1950 ในยุคสงครามเย็นและเมื่อเร็วๆนี้ได้มีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เมื่อเปรียบเทียบกับนานาชาติ (ปี 2008) ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าหนักใจเพราะสภาการวิจัยแห่งชาติ (2011) กล่าวว่า เกินกว่าครึ่งของรายได้ต่อหัวในช่วงศตวรรษที่ 20 นั้นมาจาก ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ภาคธุรกิจในสหรัฐอเมริกาเป็นกังวลเกี่ยวกับการผลิตคนด้าน STEM เกินความต้องการและความสามารถในการใช้งานคนงานด้าน STEM และผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าความต้องการแรงงาน STEM จะเพิ่มขึ้นเพียงชั่วคราว time (U.S. Department of Commerce, 2011, 2012).  ดังนั้น เป้าหมายโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนสะเต็ม คือ ส่งเสริมอนาคตของแรงงานด้านสะเต็มและรักษาตำแหน่งผู้น้ำด้านนวัตกรรมของสหรัฐอเมริกา สิ่งนี้เป็นความต้องการของประชาชนและผู้บริโภคที่จะรับรู้และใช้ชีวิตอยู่ทุกวัน การตัดสินใจนั้นเกี่ยวข้องหรือขัดแย้งกับความเป็นวิทยาศาสตร์ จากการอภิปรายกฏหมาย ซึ่งจะมีผลที่ตามมาสำหรับสุขภาพของพวกเขาและความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ที่เขาบริโภคและการใช้ชีวิตที่เขาเลือก
         
          โรงเรียนสะเต็มแห่งหนึ่งช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะความสามารถที่จะประสบความสำเร็จอย่างท้าทายและเป็นการพัฒนาแรงงานด้านสะเต็ม Cleveland Metropolitan School เป็นโรงเรียนระดับตำบล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนที่ด้อยโอกาสในประเทศ จัดสรรการเรียนการสอนและอาหารกลางวันฟรี 100% ในปี 2011 มีนักเรียนเพียง 6 คน จาก 10 คน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนแห่งนี้ แต่ด้วยกระบวนการสอนแบบสะเต็ม MC2 STEM ซึ่งเปิดทำการสอนในปี 2008 ทำให้ 95% ของนักเรียนทั้งหมดจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนที่เข้าร่วมการสอนแบบ MC2 STEM ไม่เพียงแต่สำเร็จในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างเดียวแต่พวกเขายังประสบความสำเร็จตามข้อกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ในทุกๆมาตรฐานที่รัฐกำหนด  การบูรณาการด้วยความหลากหลายโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เป็นการปฏิบัติที่นำไปสู่การสนับสนุนให้นักเรียนประสบความสำเร็จและการดูแลสภาพแวดล้อมที่โรงเรียนขนาดเล็กแห่งนี้


Credit: Edutopia



like