การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง :: เรื่องเล่าของครูวีรชาติ
เกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน
เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
ขอแนะนำตัวก่อนนะครับ ผมนายวีรชาติ
มาตรหลุบเลา ตำแหน่งครูผู้ช่วย โรงเรียนซับบอนวิทยาคม
มีความสนใจศึกษาหาความรู้ด้านต่างๆ ที่ผมสนใจทั้งในและนอกวงการการศึกษา
ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาได้นำความรู้ที่เคยทำงานมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่โรงเรียนซับบอนวิทยาคม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์
ในหัวข้อ โครงงานสำรวจและปฏิบัติการการประหยัดพลังงาน แบบมีส่วนร่วม
โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับรายวิชา ซึ่งจัดทำในรูปแบบโครงงานสำรวจ
นักเรียนได้สืบเสาะความรู้ (Inquiry method)โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานความรู้
ออกแบบการเรียนการสอนจากสภาพปัญหาความสิ้นเปลืองพลังงานที่เกิดขึ้นในโรงเรียน
ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนี้ได้ประโยชน์กันทุกฝ่ายและสามารถนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้อย่างเหมาะสม นักเรียนได้ฝึกค้นหาปัญหา รวบรวมข้อมูล
คิดวิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหา นำเสนอและเผยแพร่ สามารถเลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องในการใช้พลังงาน ใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และร่วมกันภาคภูมิใจกับส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3 ห่วง
1.ความพอประมาณ
การใช้พลังงานให้เหมาะสมกับองค์กรและใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
จำเป็นที่จะต้องมีรูปแบบหรือกลยุทธในการบริหารจัดการ
เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและไม่เกิดความสิ้นเปลือง ดังนั้น
สมาชิกทุกคนในองค์กรต้องร่วมมือกันสำรวจราบละเอียดต่างๆที่ทำให้เกิดความสิ้นเปลือง
เพื่อให้ค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานไม่เป็นภาระกับการบริหารจัดการในองค์กร
2.ความมีเหตุผล
ความสิ้นเปลืองพลังงานมีสาเหตุจาก
ปัจจัยหลักจำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม ตามหลักคิดแบบ 4Ms
คือ Man
Machine Materail Method ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กรที่ต้องร่วมกันวิเคราะห์แยกแยะปัญหาและหาวิธีการแก้ไขปรับปรุง
ซึ่งต้องเหมาะสมและเป็นเหตุเป็นผลกับปัจจัยต่างๆเช่น งบประมาณ ระยะเวลา
3.มีภูมิคุ้มกัน
การสำรวจความสิ้นเปลืองด้านพลังงานเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน
เป็นการวิเคราะห์ปัญหาออกเป็นส่วนๆ และสังเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาพร้อมทั้งเสนอแนวทางการป้องกันการเกิดซ้ำ
ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้อับองค์กร
และในส่วนหนึ่งเป็นการปลูกจิตสำนึกในการตระหนักถึงการพลังงานให้นักเรียน
ซึ่งเป็นผู้ใช้พลังงานให้เกิดจิตสำนึกในการใช้พลังงาน
เป็นการป้องกันหรือสร้างภูมิคุ้มกันในระดับบุคคล
2 เงื่อนไข
1.เงื่อนไขความรู้
นำความรู้เรื่องพลังงานจากแหล่งต่างๆที่ได้ศึกษาช่วยกันนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาโดยนำความรู้ที่ได้ศึกษามาเช่น
การคำนวณค่าไฟฟ้า การคำนวณอัตราการไหลของน้ำ
ความเข้มของแสง ซึ่งเป็นสาระการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์
ดำเนินการค้นหาความรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะ(Inquiry)
2.เงื่อนไขคุณธรรม
การร่วมกันรับผิดชอบหาสาเหตุความสิ้นเปลืองพลังงานที่เกิดขึ้นในองค์กรแบบมีส่วนร่วม
เป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในระดับบุคคลและระดับองค์กร
ในส่วนของผู้เรียนเป็นเป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ทัศนคติ
ให้ถูกต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นจาการกระทำของตนเอง
โครงงานนี้เป็นอีกหนึ่งงานที่สร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน