โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Friday, November 29, 2013

E-STEM ในรูปแบบการนำเสนอ ฝึกทักษะการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีที่ใกล้ตัว

             จากที่เริ่มทดลองสอนด้วยกระบวนการ การเรียนการสอนแบบ E-STEM ซึ่งพัฒนาต่อยอดกันมาจาการเข้าร่วมอบรม EIS และบูรณาการกับของเดิมแบบ STEM ซึ่งผมออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนนี้เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการ โดยให้ความสำคัญมากกว่าเรื่องการพัฒนาตัวเองมากกว่าด้านตัวเลข  นักเรียนกลุ่มนี้ใช้เทคโนโลยีที่ที่มีอยู่รอบตัวได้อย่างยอดเยี่ยมนะครับ ใช้การแปลภาษาด้วย google และค้นหาเพิ่มเติมด้วย google   ครั้งก่อนผมเคยโพสไว้เกี่ยวกับเรื่องการสนทนากับนักเรียนเรื่องการตัดต่อคลิปวีดีโอด้วยมือถือ    ในช่วงที่ application เป็นเรื่องคุ้นเคยสำหรับเด็กนักเรียน เกือบทุกคนโหลด App ได้   และใช้งานอย่างสนุกสนาน วันนี้เป็นมาเป็นเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่อยุ่ในเมือ ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวหรือบางคนอาจมีมือถือติดตัวตลอดเวลา  แม้แต่การทำการตลาดในปัจจุบันนี้ ก็ยังมี การพูดถึงศัพท์ใหม่เช่น m-marketing ,Social Media Marketing  ซึ่งเทรนใหม่ของการเรียนรู้ก็น่าจะไม่ไกลจากสองมือนะครับ  วันนี้เอาผลงานมาโพสเก็บไว้นะครับ


เมื่อนำงานมาเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ปีนี้นักเรียนทำดีขึ้นนะครับ  ฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารได้เพิ่มขึ้นอีกเยอะ  ผลงานที่เคยเล่าเปรียบเทียบไว้กับปีที่แล้ว  http://kruweerachat.blogspot.com/2013/11/e-stem_24.html     ผมนำมาเขียนเป็นเรื่องราวไว้เผื่อวันหนึ่งได้นำกลับมาใช้ครับ

Tuesday, November 26, 2013

เรื่องเล่าการสอนด้วยกระบวนการแบบ E-STEM รุ่นทดสอบ

วันนี้เป็นอีก 1 วันที่การเมืองวุ่นวายสับสน แต่ผมยังคงสีเดิม  สีกากี  สีที่ผมใส่ไปทำงานทุกวันจันทร์  วันนี้ ผมก็ยังคงสอนและทำหน้าที่อยู่เหมือนเดิม เพราะผมรับเงินเดือนจากแผ่นดิน ไม่ไช่จากกลุ่มใด  วันนี้ยังอยู่ในหน้าที่เหมือนเดิมนะครับ
             เล่าเรื่องการสอนด้วยกระบวนการแบบ E-STEM ต่อนะครับ หลังจากที่ผมเริ่มทดลองสอนในสองสามรูปแบบ ซึ่งเน้นการบูรณาการครับ จัดกิจกรรมการสอนในรูปแบบโครงงานที่นักเรียนต้องสังเคราะห์องค์ความรู้ออกมาเป็นชิ้นงาน เช่น   โครงงานการออกแบบเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์     โครงงานสิ่งประดิษฐ์เครื่องบินพลังงานยาง และเครื่องบิน f117    การสอนควบคู่กับการใช้ภาษาอังกฤษเข้ามาเสริมประสบการณ์  และใช้ Social Media ต่างๆเข้ามาร่วมสอน เช่น youtube การเปลี่ยนรายงานกระดาษเป็นรูปแบบดิจิตอล  แปลศัพท์จาก google.com     วันนี้ลองใช้กระบวนการหลายๆอย่างร่วมกันในการสอน และปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับกระบวนการเรียนการสอน ณ ห้องเรียนของผมที่ซับบอนวิทยาคม ซึ่งมีสภาพตัวป้อน (Input) ที่แตกต่าง เป็นโรงเรียนระดับตำบลนักเรียนสามร้อยกว่าคน กระบวนการ (Process)  นั้นก็จะแแตกต่างออกไป ส่วนผลลัพธ์ (Output) เรารับกันจริงๆตามสภาพครับ แต่สิ่งที่ผมเปรียบเทียบได้คือ นักเรียนของผมมีพัฒนาการขึ้นหลายด้านครับ ผมใช้การประเมินตามสภาพจริงในการวัดผลชิ้นงานของนักเรียน ไม่ได้วัดเพื่อจัดอันดับ สภาพการเรียนการสอนที่ผมจัดจึงแตกต่างออกไป ซึ่งผมคิดว่า ถ้าผมไปบรรจุ หรือสอนที่โรงเรียนอื่นก็คงแตกต่างจากนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพบริบทและสภาพของผู้เรียน  จากวันแรกที่นักเรียน บวก ลบ คูณ หาร เป็นภาษาอังกฤษไม่ได้  ปีที่แล้วนำเสนอด้วยคลิปวีดีโอ เป็นภาษาไทย เป็นครั้งแรกที่ครูสั่งงานโดยให้ส่งเป็นคลิปวีดีโอ ปีนี้โตขึ้นอีกปี  ส่งงานคลิปวีดีโอเป็นภาษาอังกฤษ (เป็นการประยุกต์จากการอบรม EIS)  ซึ่งนักเรียนทยอยส่งกันแล้ว  ผมนั่งมองย้อนหลัง ผมมองเห็นพัฒนาการ มองเห็นการพัฒนาองค์ความรู้ อย่างมากเนื่องจากผมสอนมาสองปีแล้ว ปีนี้ดีขึ้นมาก  ตามคลิปวีดีโอนี้ครับ




คลิปวีดีโอเหล่านี้ใช้มือถือถ่ายทำครับ   ซึ่งผมให้คะแนนโดยเน้นพัฒนาการนะครับ ทุกกลุ่ม ถือว่าซ้อมกันหลายรอบ (ตามสภาพนะครับ) หากเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ถือว่าพัฒนาขึ้นเยอะครับ  


                 การบอกเล่าเรื่องราวในเว็บบล็อกผมนี้ไม่ได้มีเพื่อโชว์หรือโอ้อวดนะครับ แต่เป็นการเล่ากระบวนการที่ผมใช้พัฒนาการเรียนการสอนนะครับ  งานแต่ละชิ้นแทบไม่ตัดต่อ  เท่าไหร่เท่ากันเพราะเน้นที่การพัฒนานักเรียน ผมอยากให้คนที่มาประเมินต่างๆ มองที่กระบวนการมากกว่าการนำเสนอแบบสร้างภาพ  การศึกษาของประเทศเราจึงจะพัฒนานะครับ

คิดถึงแม่โจ้

ร่วมแวะเวียนให้กำลังใจกับทีมฟอร์มูล่าวัน แม่โจ้ Maejo Racing Team ซึ่งต้องบอกเล่าประสบการณ์สู่ความสำเร็จเพื่อกระตุ้นและปลุกเร้าน้องปี 1 ทุกคนทั้งมหาวิทยาลัยให้มุมานะบากบั่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานดีๆ เฉกเช่นนศ.ทีมนี้ ได้ที่อาคารพัฒนาวิสัยทัศน์นักศึกษา (Cowboy Mall) เป็นเวลา 3 วัน เริ่มเวลา 18:00 น. ในวันที่ 26-28 พ.ย. 56* >>>>แวะเวียนไปที่เฟสอาจารย์ ก็อปมาแชร์ พัฒนามาเกือบสิบปีแล้ว คิดถึงแม่โจ้จัง

ปีที่แล้วไปแข่งที่ประเทศจีนมาครับ  ไม่ได้ไปแม่โจ้ นานแล้ว สองปีหลังที่ออกมาจากเชียงใหม่ ยิ่งไม่ได้ไปเลย 


'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''

เหนือสุดเหนือ  ใต้สุดใต้ ไขว้แต่ทิศ
ลูกแม่โจ้ ไม่เคยคิด แยกใต้เหนือ 
ถินอุบล หลอีกสาน ก็ว่านเครือ
คือเลือดเนื้อ พันผูก ลูกแม่เดียว

ปรัชญาชีวิต  :: งานหนักไม่เคยฆ่าคน

---------------------------------------------
--------------------------------------------

Monday, November 25, 2013

วันนี้ได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษาขั้นเทพ อ.ประสาท สิริ ช่วยจูนเครื่อง f117

วันนี้ได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษาขั้นเทพ อ.ประสาท สิริ  ช่วยจูนเครื่อง f117  ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆครับ  ซึ่งผมแวะไปหาบ่อย กาแฟที่ร้านอร่อย ไม่แพง ฟรี wifi  และมีเครื่องบินให้ชม  คุยกันเรื่องเครื่องบิน


Sunday, November 24, 2013

เครื่องบิน F117 ทำจากฟิวเจอร์บอร์ด

เครื่องบิน F117 ทำจากฟิวเจอร์บอร์ด


                วันพฤหัสบดีที่แล้วผมสอนนักเรียนในชุมนุมทำเครื่่องบิน F117 จากฟิวเจอร์บอร์ดครับ เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนแบบ E-STEM คือ สร้างชิ้นงาน



งานนำเสนอชิ้นแรก กระบวนการสอน E-STEM

งานนำเสนอชิ้นแรก  กระบวนการสอน E-STEM
                 หลังจากที่สอนโดยให้นักเรียนทำรายงานนำเสนอรูปแบบต่างๆโดยใช้คลิปวีดีโอแทนการปริ้นลงในกระดาษ A4 สำหรับนักเรียนชั้น ม.4 ปีนี้ ผมตามสอนมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนั้นกลุ่มนี้เรียน ม.3 นำเสนอเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ สามเหลี่ยมน้อยอบแห้ง  ซึ่งเป็นการเรียนแบบสร้างชิ้นงาน นำความรู้ที่เรียนมาออกแบบโมเดลต้นแบบโดยใช้ฟิวเจอร์บอร์ด การนำเสนอในปีที่แล้ว ที่ผมเก็บไว้ประมาณนี้ครับ



ตอนนี้นักเรียนกลุ่มนี้เรียนในชั้น ม.4 ซึ่งผมสอนวิชาฟิสิกส์ครับ  หลังจากผมใช้การสอนฟิสิกส์โดยใช้ เนื้อหาภาษาอังกฤษประกอบ  และใช้การแปลภาษาจาก translate.google.com  เริ่มต้นการสอน E-STEM แบบเบสิก ท่องศัพท์วิทย์  ซึ่งนักเรียนสามารถแปลภาษาได้เองโดยไม่ต้องรอครูและแต่งประโยคขึ้นเองโดยมี google ช่วย  มันทำให้สามารถสร้างประโยคได้อย่างรวดเร็ว  กลุ่มแรก ส่งงานแล้วตามด้านล่างนี้นะครับ  ผมนำมาเปรียบเทียบกับคลิปของปีที่แล้วเนื่องจากต้องการวัดพัฒนาการ ทักษะการนำเสนอ  พอมองดูผมนึกภาพย้อนหลังไปเมื่อ 1 ปีก่อน นักเรียนที่ผมสอนมีพัฒนาการดีขึ้น ผมคิดว่าเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริง ต้องแบบนี้ครับ (ตามความคิดความชอบส่วนตัวนะครับ)

เทคโนโลยี ที่อยู่ในมือถือ เทียบเคียงกับคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับการเรียนโดยนักเรียน

วันนี้กล้บจากพิษณุโลกถึงโรงเรียนมีเวลานั่งดูหนังฟังเพลง เล่นเฟสบุ๊ค  สบายๆชิวๆ และแล้วก็มีนักเรียนเฟสเข้ามาถามเรื่องส่งงาน






สำหรับการสนทนานี้นะครับ ใจความทั้งหมดคือนักเรียนต้องการตัดต่อคลิปวีดีโอที่ผมสั่งงานไว้ เป็นคลิปการบรรยายเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ (Force and Motion) ตามแนวทางที่ผมสอนด้วยกระบวนการ E-STEM  ซึ่งผมเสริมประสบการณ์การเรียนของนักเรียนด้วยภาษาอังกฤษ โดยบูรณาการวิทย์ คณิต ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี และด้านวิศวกรรม เข้าด้วยกัน ประสบการณ์การสอนในช่วงก่อนหน้าที่ผมสอนตามแนวทาง สะเต็มศึกษา (STEM) มันก็สนุกแล้วนะครับ แต่หลังจากที่ผมไปอบรม EIS มาทำให้เชื่อมโยงเข้าสู่การสอนเพิ่มภาษาอังกฤษเข้าไป ก่อนหน้านี้ผมคิดว่า น่าจะยากมากสำหรับการสอนในระดับโรงเรียนตำบล ด้วยสภาพตัวป้อน(Input) ที่แตกต่างจากโรงเรียนระดับ WorldClass แต่วันนี้ผมมั่นใจว่า E-STEM ที่ผมใช้ ไม่ใกลเกินฝันแล้วนะครับ  ครั้งก่อนบรรยาการศการสอน E-STEM ในห้องเรียน ซึ่งผมได้โพสรูปตอนที่ผมสอนไว้แล้ว วันนี้จะต่อด้วย คลิปที่นักเรียนนำเสนองานนะครับ ขอไว้ในโพสต่อไปครับ  โพสนี้เล่าเรื่องที่นักเรียนขอตัดต่อคลิปวีดีโอ โดยใช้ application ที่อยู่ในมือถือให้ฟังนะครับ  ซึ่งมีหลาย app ด้วยกันผมเคยโหลดมาใช้บางตัว แต่ตอนนี้ที่เห็นมีอยู่หลายสิบตัว นั่นหมายความว่านักเรียนมีเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้อยู่ในมือและใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์เยี่ยมมากครับ ขอชม ผมหวังว่าการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ E-STEM จะสร้าง ประสบการณ์ใหม่ๆในการเรียนรู้ที่เหมาะกับวัยวุฒิและความสามารถของผู้เรียน ทันสมัย ท้าทาย ไม่น่าเบื่อนะครับ

Wednesday, November 20, 2013

รากฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้

             วันนี้ว่างๆระหว่างคาบเรียนอ่านหนังสือ การจัดการความรู้ ซึ่งเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีองค์ประกอบที่ผมต้องใช้ เนื่องจากผมทำค้นคว้าอิสระเรื่อง การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ตามทัศนะครู สังกัด สพม.40 ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เนื้อหาทางวิชาการดีมากครับแต่บริบทใจความส่วนใหญ่เน้นการบริหารบริษัทเอกชน ซึ่งแตกต่างจากบริบทสถานศึกษาครับ ผมอ่านวรรคตอนหนึ่งแล้วรู้สึกว่า น่าจะดีสำหรับคนที่เริ่มต้นครับ เรื่อง รากฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้  ซึ่งถ้าโฟกัสจุดนี้เป็นจุดเริ่มต้น เราจะมีกรอบแนวทางที่ชัดเจนในการนำไปปฏิบัติครับ  รากฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้ นั้นมีองค์ประกอบ 5 ประการด้วยกัน คือ  1) การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  2) การทดลองทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีการใหม่ๆ 3) การเรียนรู้จากประสบการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต 4) การเรียนรู้จากบุคคลอื่น 5) ถ่ายทอดความรู้ทั่วทั้งองค์กรได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เด็มมิ่งโมเดล PDCA

            ซึ่งกรอบแนวคิดการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้นั้นมีอยู่หลายแนวคิดครับ นักวิชาการ หรือระดับปฏิบัติการที่นำแนวคิดไปใช้ก็ยังให้นิยามที่ต่างกัน วันนี้เอาในแบบบริบทสถานศึกษากันนะครับ เข้าสู่ รากฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้ อีกครั้งครับ ข้อที่  1) การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  ตามภาพที่ผมยกมาเป็นการบริหารจัดการด้วยระบบ เด็มมิ่งโมเดล (PDCA) ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบกระบวนการที่นิยมใช้ในระบบประกันคุณภาพการศึกษา จุดเชื่อมโยงที่สำคัญคือกระบวนการนี้เป็นการพัฒนาบนพื้นฐานของตัวเอง วิเคราะห์สภาพของตัวเองและนำมาออกแบบวิธีการทำงานรวมถึงนำปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตมาวางแผนจัดการ ซึ่งเด็มมิ่งโมเดล (PDCA) นั้น ตอนผมทำงานบริษัท ผมก็ได้มีโอกาสใช้เหมือนกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับ ระบบ ISO ซึ่งว่าด้วยเอกสารที่่เอามาโชว์กันตอนประเมิน ถ้าให้เทียบประสิทธิภาพนั้น สำหรับบริบททางการศึกษาผมคิดว่า เด็มมิ่งโมเดล (PDCA) ยังกินขาดแบบไม่เห็นฝุ่น ส่วน ISO ที่เข้ามาในระบบประกันคุณภาพการศึกษานั้น มีข้อคอมเม้นอยู่ว่าเรา บริหารจัดการการเรียนการสอน บริหารจัดการชั้นเรียน ซึ่งเป็นคน เป็นสิ่งมีชีวิต แตกต่างกันกับโรงงานที่ผลิต สิ่งไม่มีชีวิต


         ข้อที่ 2 ) การทดลองทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีการใหม่ๆ   เดี๋ยวมาเล่าต่อในโพสต่อไปครับ

ฝึกทำโครงงานประดิษฐ์ ปีนี้ เครื่องบิน F117

วิชาวิทยาศาสตร์ ม.2 เรียนเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ และสอนอีกวิชาคือโครงงานวิทยาศาสตร์ควบไปด้วย ผมจึงมีเวลาเจอนักเรียนชั้น ม.2 มากกว่าชั้นอื่น 4 คาบ/สัปดาห์ และ สองวิชานี้สามารถเรียนบูรณาการกันได้ จากที่ผมลองทดสอบกระบวนการเรียนการสอนแบบ E-STEM บูรณาการ วิทย์ คณิต ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยี   สังเคราะห์ความรู้ทั้ง 4 ด้าน ออกมาในรูปแบบกระบวนการสร้างชิ้นงานทางด้านวิศวกรรม  ปีนี้ผมทดลองมาได้สักระยะ บางกลุ่มให้ผลตอบรับทางบวกดีมากครับ


Saturday, November 16, 2013

น้องชมพู่ ฝึกอ่านภาษาอังกฤษ ชุดฝึกของ Grolier

น้องชมพู่ ฝึกอ่านภาษาอังกฤษ  ชุดฝึกของ Grolier



                วันนี้วันอาทิตย์ได้กลับมาอยู่กับครอบครัว 1 วัน วันนี้ผมสอนลูกสาวอ่านภาษาอังกฤษ ใช้ชุดคิดของ   Grolier  ครับ  สามารถพูดและออกเสียงได้เมื่อนำปากกามาชี้ที่ตัวหนังสือ เป็นเทคโนโลยีที่น่านำมาใช้กับการเรียนการสอนมากครับ  ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้เองด้วยกราฟฟิกที่สวย โดนใจเด็กๆ  แต่ทั้งหมดนี้ถ้ามองในเรื่องทรัพยากรที่โรงเรียนมีอยู่ผมคิดว่าไม่ไช่เรื่องยากที่เราจะพัฒนาต่อเช่น Application ลงใน tablet ที่ตอนนี้ โรงเรียนระดับประถมมีกันทุกโรงเรียน  จากการสอนลูกตัวเอง ผมคิดว่ามันช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านการเรียนภาษาได้เร็วขึ้นนะครับ

Friday, November 15, 2013

การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์





วันนี้อับเรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์  ไว้สักเรื่องก่อนครับ
ผมมี โปรแกรมจำลอง สองสามตัวที่น่าสนใจครับ  ตัวที่ผมใช้ก่อนหน้านี้


และตอนนี้กำลังทดลองใช้ของ http://phet.colorado.edu/sims/projectile-motion/projectile-motion_en.html
ซึ่งเป็นอีกตัวที่ใช้งานได้ดีมากครับ


แหล่งข้อมูลการสอน

หัวข้อหลัก

  • การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์
  • มุม
  • อัตราเร็วเริ่มต้น
  • มวล
  • แรงต้านอากาศ

ตัวอย่างเป้าประสงค์ของการเรียนรู้

  • Predict how varying initial conditions affect a projectile path(various objects, angles, initial speed, mass, diameter, initial height, with and without air resistance).
  • Use reasoning to explain the predictions.
  • Explain common projectile motion terms in their own words. (launch angle, initial speed, initial height, range, final height, time).
  • Describe why using the simulation is a good method for studying projectiles.

คำแนะนำสำหรับครู

คู่มือครู (pdf) บรรจุคำแนะนำต่างๆ จากทีมงาน PhET


การสอนในห้องเรียน จากประสบการณ์การใช้ควรสร้างเป็นการทดลองและให้บันทึกการทดลองนะครับ 
ตัวอย่างไฟล์ที่ผมใช้บันทึกการทดลอง  ฝึกกำหนด ตัวแปรต้น  ตัวแปรตาม  เพื่อฝึกทักษะการควบคุมและบันทึกผลการทดลองครับ ซึ่งจะทำให้นักเรียนใช้ประโยชน์จากโปรแกรมจำลองได้เต็มที่ครับ





Wednesday, November 13, 2013

บทความ : อุณหภูมิน้ำหวานเย็นลงได้ด้วย STEM เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา กับกิจกรรมสนุกว่าด้วยความเย็น


STEM Education (Science Technology Engineering and Mathematics Education) เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาแบบบูรณาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน จากปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ผลักดันให้เกิด “สะเต็มศึกษา” (STEM Education) ขึ้นในประเทศไทย โดยหวังว่าจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของไทย

Tuesday, November 12, 2013

STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21



STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
STEM Education and 21st Century Skills Development



โครงงานการออกแบบเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

สอนวิชาวิทยาศาสตร์ พลังงาน  ชั้น ม.3 โครงงานการออกแบบเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์  กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ฝึกทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  แบบ E-STEM  เพื่อนำความรู้ไปเชื่อมโยงและออกแบบเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ในขั้นตอนต่อไป  รายละเอียดการออกแบบจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรแกนกลาง 2551 มีดังนี้ครับ



สาระที่ ๕   พลังงาน
มาตรฐาน ว ๕. ๑     เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้  ไปใช้ประโยชน์ 

 ชั้น  ม.๓      ตัวชี้วัดที่ ๑ ๑.      อธิบายงาน พลังงานจลน์ พลังงานศักย์โน้มถ่วง กฎการอนุรักษ์พลังงาน และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเหล่านี้ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 

- สาระการเรียนรู้   กฎการอนุรักษ์พลังงานกล่าวว่า พลังงานรวม  ของวัตถุไม่สูญหาย แต่สามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ การนำกฎการอนุรักษ์พลังงานไปใช้ประโยชน์ในการอธิบายปรากฏการณ์ การเปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อน การหักแหของแสงผ่านกระจก การสะสมความร้อน นำความรู้ไปใช้ประโยชน์  ออกแบบเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้แบบ E-STEM












บรรยากาศการสอน E-STEM ในห้องเรียนของผม

วันนี้ 12/11/2556  สอน ม.2/2 ต่อกัน 3 ชั่วโมง  บรรยากาศการสอน E-STEM ในห้องเรียนของผม  ทั้งเรียนทั้งสอบเก็บคะแนน เก็บคะแนนสมุด คะแนนสนทนา ทักษะการสื่อสาร ฝันไว้หวานๆว่านี่คือการเรียนรู้ที่ดีกว่ารูปแบบเดิม  ปีนี้เป็นรอบที่สองที่ผมสอนเรื่องนี้ ในชั้น ม.2  เรื่องแรง  (Force)  ปีที่แล้วสอนภาษาไทยล้วนๆ ปีนี้ ได้สอนวิทย์และโครงงานควบกัน  จึงสอนในรูปแบบโครงงานเป็นหลัก  และใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอนเช่น การใช้ google ช่วยในการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยและอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ การสอนในปีนี้จึงเป็นอีกแบบกับปีที่แล้ว ผมหวังว่ากระบวนการ E-STEM ที่ผมสอนนี้จะช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ให้กับนักเรียนของผม













Saturday, November 9, 2013

Language is an art >> How to memorize new words and vocabulary easily in a foreign langua

Language is an art >> How to memorize new words and vocabulary easily in a foreign langua






เครดิต Wulnee Noimanee

ความได้เปรียบทางการเงิน กระบวนการการทำเงินที่เงินทำงานด้วยตัวมันเอง

ความได้เปรียบทางการเงิน กระบวนการการทำเงินที่เงินทำงานด้วยตัวมันเอง  เป็นแนวคอนเซ็ปการคิดที่ผมศึกษามาจากการอ่านหนังสือ บวกกับประสบการณ์จริงแบบเล่นจริงเจ็บจริงนะครับ  เจอมรสุมในชีวิตเรื่องการเงินมาระรอกใหญ่ เลยพอมีประสบการณ์มาเล่าเรื่องการเงินบ้าง เรื่องมีอยู่ว่า ช่วงแรกๆของชีวิตการทำงาน ผมเริ่มเหนื่อยและไม่อยากทำงาน แต่เมื่อหยุดทำงานก็ไม่มีตังค์ใช้ ก็เลยวิ่งหาวิธีการทำงานแบบต่างๆ ยิ่งทำมากยิ่งเหนื่อยมากนะครับ  วันหนึ่งผมได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการเงิน และความได้เปรียบทางการเงิน ทำให้ผมมีมุมมองในการทำงานที่เปลี่ยนไป  หลายเรื่องนะครับที่ผมอ่านเช่น เงิน 4 ด้าน งาน 4 ทิศ  พ่อรวยสอนลูก  แยกแยะเรื่องทรัพย์สินและหนี้สินออกจากกัน แต่ก่อนเคยคิดว่ามีรถแล้วมีทรัพย์สินตามจริงแล้วไม่ไช่นะครับ  รถมีแต่รายจ่าย  ทรัพย์สินต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้เรา  โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ก็เช่นกันของพวกนี้ค่าเสื่อมราคาสูงมาก ไม่ค่อยเพิ่มมูลค่า ถ้าไม่เชื่อเอาคอมกับมือถือที่ซื้อมาไปขายดูครับ จะได้เท่าไหร่  ทรัพย์สินที่ผมนิยามไว้นี้ต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้ในอนาคตเท่านั้นครับ เคยยกตัวอย่างไว้ในบทความที่แล้ว ลงทุนในทรัพย์สิน มูลค่าเพิ่ม ( Value Investment)   

จากที่อ่านจากหนังสือของคนอื่น มาลองดูสภาพจริงของชีวิตจริง แบบเล่นจริงเจ็บจริงกันดู ด้วยสภาพพื้นฐานที่ใกล้เคียงกันกับหลายๆคน ลองดูนะครับว่า รายได้ 15,000 บาท สร้างมูลค่าเพิ่มได้เท่าไหร่ รายได้โดยส่วนมากจะหายไปและไม่กลับมาอีก ยากเว้น ลูกที่โตขึ้น ร่างกายที่เดินไปตามเวลา  ผมแบ่งการเงินการใช้จ่ายออกเป็นสองส่วน คือ รายจ่าย กับ เงินออมและลงทุน  ตามภาพด้านล่างนี้ครับ



รายจ่ายเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายๆ ไม่ซับซ้อนครับ แต่เรื่องของการออกและลงทุน ต้องใช้ความเข้าใจและใช้เวลาในการสร้างครับ ประมาณ 20 % ของเงินเดือนหากออมได้ ในเวลา 30 ปี จะสร้างเม็ดเงินกลับมากว่า 10 ล้านบาท ด้วยการเติบโตแบบต้นทบดอก  ซึ่งทำให้ก้าวเข้าสู่อิสระภาพทางการเงินได้ สร้างความมั้นคงให้ชีวิตโดยไม่เป็นหนี้ให้ตัวเองลำบากมากเกินไป
             ความได้เปรียบทางการเงิน กระบวนการการทำเงินที่เงินทำงานด้วยตัวมันเอง  โจทย์มันอยู่ที่ว่า เราจะทำอย่างไรให้เงินออมนั้นกลับขึ้นไปเป็นรายให้เราอีกครั้ง และทุนออมนั้นยังอยู่ และสร้างผลตอบแทนออกมาทุกๆที ปีละ 10-30 % เพื่อให้เงินทุนที่เรามีเติบโตเร็วขึ้น  ผมเลือกเป็นหุ้นหรือกองทุนรวม  เอาไว้เก็งกำไรเล็กน้อยก็ว่าได้ ส่วนเงินฝากซื้อฉลากออมสินไว้ เผื่อวันหนึ่งอยากถอน จะได้คล่องตัว ส่วนลึกยังหวังรวยจากการถูกล็อตเตอร์รี่ และเคลื่อนย้ายไปซื้อที่ดิน (ถ้าออมไว้มากพอ) ความได้เปรียบทางการเงิน กระบวนการการทำเงินที่เงินทำงานด้วยตัวมันเอง นั้น หากยังนึกภาพระบบต้นทบดอกไม่ออก ลอง นำ 1+1 =2  , 2+2=4 ,4+4=8 ,8+8=16 ................  บวกกันไปเรื่อยๆ 30 ครั้ง  ลองดูนะครับ จะรู้ว่า การออมแบบต้นทบดอกมันให้ผลมากกว่าที่คิดมากแค่ไหน เมื่อดอกเบี้ยทำงานได้เอง จะถึงขั้นอิสระภาพทางการเงิน


ลงทุนในทรัพย์สิน มูลค่าเพิ่ม ( Value Investment)

           วันนี้วันหยุด แวะไปชัยภูมิ เดินดูสวนยางที่บ้านปลูกไว้  กลับมาเปิดเน็ตดูหุ้น  >>  นี่เป็นชีวิตวันหยุดที่กำลังพอดี  บางทีอยากอยู่แบบนี้นานๆ ปล่อยสมองให้โล่งและปลิวไปกับสายลม  ผมโพสหัวข้อไว้ว่า    ลงทุนในทรัพย์สิน มูลค่าเพิ่ม ( Value Investment)  วันนี้เอาเรื่องการลงทุนมาพูดกันสักหน่อยจากเดิมที่เล่าซี่รี่การสอน วันนี้ถอดตัวเองออกมาบ้างนะครับ
            ลงทุนในทรัพย์สิน มูลค่าเพิ่ม ( Value Investment)  เป็้นการลงทุนด้วยทุนก้อนหนึ่งโดยมีเงื่อนไขว่า เงินลงทุนหรือทรัพย์สินที่นำไปลงทุนนั้นต้องเติมโตไปตามเวลา  หรือสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่อเวลาผ่านไป อาจดูเหมือนหุ้นห่านทองคำ ที่ไขออกมาเป็นทองคำทุกวัน โดยที่เจ้าของไม่ต้องลงแรงอะไรมากมาย  การสร้างทรัพย์สินมูลค่าเพิ่มเป็นส่วนหนึ่งในการออมนะครับ หากปล่อยเงินไว้ในธนาคารเฉยๆ เงินไม่ค่อยเติบโตแน่นอนครับ  สู้อัตราเงินเฟ้อไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการปลูกยากพาราผมเพิ่มข้อคิดอีก 1 ข้อนะครับ เรื่องทุน  ใช้เงินลงทุนมากพอสมควร  และต้องใช้เวลาถึง 8 ปี  แต่ละปีมีค่าใช้จ่ายค่าปุ๋ย และแรงงาน ไร่ละ 2,000 บาทโดยประมาณ  แต่เมื่อครบ 8 ปี  สามารถกรีดยากได้ นาน 25 ปี  ซึ่งการลงทุนในลักษณะนี้เรียกได้ว่า การลงทุนแบบ มูลค่าเพิ่ม ( Value Investment)  แต่ความเสี่ยงก็ยังมีอยู่คือราคายางไม่แน่นอน แต่ผมว่าก็ยังดีกว่าราคาข้าว แต่ช่วงหลังนี้ชาวสวนยางก็ออกมาประท้วงกันมากมาย  การลงทุนก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่เหมือนเดิมแล้วแต่ว่าใครจะถนัดแบบไหน รับความเสี่ยงได้เท่าไหร่  ส่วนตัวผม กระจายพอสมควร แต่ที่สำคัญคือชีวิตปัจจุบันที่มีความสุขและสร้างคุณค่าให้ผู้อื่น  การลงทุนมันขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ การลงทุนที่จำเป็นที่สุดเรียงลำดับ  ลงทุนกับสุขภาพตัวเอง   ลงทุนกับครอบครัว  ลงทุนกับสิ่งที่เรารัก  ลงทุนกับสังคมของเรา  ที่สำคัญที่สุดต้องรู้ไว้ว่าเงินไม่ได้สำคัญที่สุด หาวิ่งตามเงิน จากวันนี้ถึงวันตาย ยังไงก็ไม่มีคำว่าพอ  โพสนี้แค่นี้ก่อนนะครับ โพสหน้า เรื่องความได้เปรียบทางการเงิน กระบวนการการทำเงินที่เงินทำงานด้วยตัวมันเอง









Thursday, November 7, 2013

การสอน E-STEM ร่วมกับการทำโครงงาน

                  หลังจากที่ผมเริ่มสอน ในรูปแบบกระบวนการ E-STEM  ในวิชาวิทยาศาสตร์และโครงงาน รวมทั้งกิจกรรมชุมนุมนักประดิษฐ์ที่ผมจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวความสนใจของผู้เรียน ซึ่งเน้น Robot และเครื่องบิน  หลังจากเริ่มวางโครงออกแบบจากสภาพการสอนจริง  ร่วมกับการสอนที่เสริมภาษาอังกฤษเข้าไป การทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์ผมยังเน้นการประยุกต์ใช้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เหมือนเดิมนะครับ และการออกแบบปรับปรุงปรสิทธิภาพ (งานด้านวิศวกรรรม) ถูกนำมาใช้เพื่อรวมวิทย์ คณิต และเทคโนโลยีเข้ามาด้วยกัน  หลังจากที่ได้เครื่องบินแล้ว ก็จะทำการทดลองทดสอบประสิทธภาพ การบิน หรือการร่อน  ซึ่งวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) และ คณิตศาสตร์ Trigonometry  จะเริ่มนำเข้ามาเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อใช้ในการออกแบบและทดลองกิจกรรมครับ
                ผมทดสอบการสอนเป็นช่วงๆ ว่างๆจะมาเล่าซีรี่ E-STEM ให้ฟังนะครับ วันนี้ บรรยากาศก็ประมาณนี้ครับ

ณ ห้องเรียนชุมนุมนักประดิษฐ์ ปีนี้ 18 คน ยังเพิ่มได้อีกเต็มที่ 2  คน (เงื่อนไข ถ้าไม่ส่งงาน  มผ.)


เทอมนี้ มีนักเรียนหญิง 2 คน ฝึกโปรแกรมคอม kodu game เตรียมไว้โปรแกรม Robot




 F-117
ชุดนี้ ชายล้วนกำลังวัดขนาเครื่องบิน F-117



 กลุ่มนี้ฝึกบินโดยโปรแกรมจำลองเสมือนจริง แต่ซอฟแวร์นั้นเจ๋งมาก



ชุดนี้เครื่องร่อนจากเทอมที่แล้วพึ่งมาส่งงาน (ครูรออยู่)

like