โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Thursday, July 19, 2012

การระดมและบริหารทรัพยากรทางการศึกษา



                   เช้าวันนี้ผมเปิดเจอไฟล์งานที่สำส่ง วิชา การบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา อ่านอยู่สักพัก นึกถึงคำว่า "Learning by Sharing "   เก็บไว้ในเครื่องคอมตัวเองก็คงจะไม่เกิดประโยชน์สักเท่าไหร่ ก็เลยเอามาแชร์กันในเว็บบล็อก บริบทอาจแตกต่างกันไปนะครับ โรงเรียนผมก็ประมาณนี้ เผื่อเพื่อนๆที่กำลังเรียนวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา จะใช้เป็นแนวทางในการศึกษาผมหวังว่า รายงานฉบับนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจนะครับ  รายละเอียด ด้านล่่างนี้นะครับ






.....................................................................................................................................................................................................................
การระดมและบริหารทรัพยากรทางการศึกษาจากชุมชน
ของโรงเรียนซับบอนวิทยาคม

บริบทโรงเรียนซับบอนวิทยาคม
             โรงเรียนซับบอนวิทยาคม  ตั้งอยู่เลขที่ 9 หมู่ที่  7  ตำบลกันจุ  อำเภอบึงสามพัน  จังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ปัจจุบันมีผู้บริหารโรงเรียน คือ นายอุทิศ  ฉัตรแก้ว  ตำแหน่ง  ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ มีผู้ช่วยผู้บริหาร คือ  นายคำภาสน์  บุญเติม  ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียน  และมีบุคลากรทั้งหมดจำนวน 28  คน  นักเรียนจำนวนทั้งหมด  392  คน  ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษา  (สมศ.) รอบที่  3   ผ่านการประเมินเศรษฐกิจพอเพียง  และผลการสอบ  O- net  ใน  8  กลุ่มสาระอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น

             วิสัยทัศน์ (Vision)
            โรงเรียนซับบอนวิทยาคม  เป็นโรงเรียนดีประจำตำบล  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน  ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน  มีจิตสาธารณะ  สู่สังคมคุณธรรม  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

            พันธกิจ (Mission)
            1.  ส่งเสริมและจัดการศึกษาให้กับนักเรียนในเขตและนอกเขตบริการให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
            2.  พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.  2551
            3.  พัฒนาครูและบุคลากรให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
            4.  พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
            5.  พัฒนาสภาพแวดล้อม  แหล่งเรียนรู้  งานวิจัย  สื่อ  นวัตกรรม  และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
            6.   ส่งเสริมและพัฒนาความรู้   ความสามารถของผู้เรียนให้ได้มาตรฐาน  มีจิตสาธารณะแเละเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าเศรษฐกิจพอเพียง
           7.  ส่งเสริมความประพฤติ   ด้านคุณธรรม   จริยธรรมของผู้เรียน
           8.  ประสานความร่วมมือ   ผู้ปกครอง  ชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนดีประจำตำบล
          เป้าประสงค์ (Goal)
             1.  นักเรียนในเขตและนอกเขตบริการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
             2. โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   สอดคล้องกับ                         หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน   พ.ศ.  2551
             3.  ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ
             4.  ผู้บริหาร   ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนางาน
             5. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดี   พัฒนาแหล่งเรียนรู้   งานวิจัย   สื่อ   นวัตกรรม  และเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้
             6.  ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้  ความสามารถ  ได้มาตรฐาน  มีจิตสาธารณะและเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
            7. ผู้เรียนมีคุณธรรม   จริยธรรม   นำความรู้
            8. โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง  องค์ชุมชน   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนดีประจำตำบล

          กลยุทธ์ (Strategy)
             กลยุทธ์ที่ 1   ปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  ความมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม  และมีวิถีชีวิตความเป็นไทย
                                 โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
             กลยุทธ์ที่ 2   เพิ่มอัตราการเข้าเรียนของนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับและจบการศึกษาขั้นพื้น
                                  ฐานด้วยรูปแบบบริการที่หลากหลาย
             กลยุทธ์ที่      ยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียน โดยพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
                                  พ.ศ. ๒๕๕๑ และกระบวนการเรียนรู้ระบบบริหารจัดการ และเพิ่มสมรรถนะครูและ
                                  ผู้บริหาร
             กลยุทธ์ที่ 4    เร่งพัฒนาโรงเรียนให้มีสภาพแวดล้อม  แหล่งเรียนรู้  งานวิจัย  สื่อ  นวัตกรรม  และ
                                   เทคโนโลยีสารสนเทศ  ในการจัดการเรียนรู้  และการบริหารจัดการ
             กลยุทธ์ที่ 5    สร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของ  ผู้ปกครอง  ชุมชน
                                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
             กลยุทธ์ที 6    สร้างความพร้อมของสถานศึกษา  บุคลากร  ชุมชน  เพื่อรองรับการพัฒนาเป็นโรง
                                    เรียนดีประจำตำบล



                                                                      อัตลักษณ์                                                     
                                                     
                                                         “ ส่งเสริมกีฬา    พัฒนาสุขภาพ                                                
                                                                   
                                                                     เอกลักษณ์
                                                                
                                                      “ ไอ  ซี  ที  เด่นเป็นมาตรฐานสากล 

                                                       สีประจำโรงเรียน         เหลือง    ฟ้า                                             
                                                                                                                    
                                  สีเหลือง     หมายถึง     ความรุ่งโรจน์  ความสว่างแห่งศรัทธา          
                                 สีฟ้า          หมายถึง     สงบเป็นสุขร่มเย็น

                                                              อักษรย่อ  
                                                                  ซ.ว.

                                                              ปรัชญา                                                                                           
                            
                                   สุวิชาโน    ภวังค์   โหติ           ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ                  

                                                              สัญลักษณ์

                                                                                                                                   
  


           
                                   



แนวคิดเกี่ยวกับการระดมทรัพยากร    
           การบริหารทรัพยากร คือ การพยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่  ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด กระบวนการ บริหารทรัพยากรการศึกษา มีหลายแนวคิด   โดยเริ่มต้น จากการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย การกำหนด   ความต้องการ การแสวงหา การจัดสรร การควบคุม   และการประเมินการใช้ 
            แนวคิดในการระดมทรัพยากรของโรงเรียนซับบอนวิทยาคมได้จัดการระดมทัพยากร ทั้งชุมชน  หน่วยงานของรัฐ  และภาคเอกชน  ทางด้านเงินทุน  วัสดุอุปกรณ์  และบุคลากร โดยได้ยึดหลักธรรมาภิบาล
คือ   หลักนิติธรรม   หลักความคุ้มค่า   หลักคุณธรรม   หลักความรับผิดชอบ   หลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนรวม  โดยใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือแบ่งปันเอหนุนกันอาจจัดในรูปแบบของกิจกรรมซึ่งมีความสอดคล้องกันกับหน่วยงานอื่นในเรื่องของวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ร่วมกันโรงเรียนซับบอนวิทยาคมให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ของชุมชนในท้องถิ่น และสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่เหมาะสมและสอดคล้องกับชุม        
           หลักในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา
            1.  หลักความเสมอภาค ในการบริหารทรัพยากรต้องถือหลักความเสมอภาคอย่างเคร่งครัด คือ ต้องมีความเสมอภาคในด้านคุณภาพและความเสมอภาคในด้านโอกาส ซึ่งความเสมอภาคแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.1      ความเสมอภาคในแนวราบ ได้แก่  นักเรียนกลุ่มภาวะเหมือนกันจะได้รับการปฏิบัติทัดเทียมกัน
              1.2   ความเสมอภาคในแนวตั้ง ได้แก่ การกระทำกับนักเรียนที่แตกต่างกันออกไป
             2. หลักประสิทธิผล หลักการดำเนินงานของหน่วยงานก็คือการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้นๆได้กำหนดไว้ การใช้หรือการบริหารทรัพยากรก็คือพยายามหาสิ่งมาช่วยเหลือสนับสนุนให้การดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆบรรลุเป้าหมาย
     3. หลักประสิทธิภาพ ความมีประสิทธิภาพในการบริหารจะรวมทั้งประสิทธิภาพในการจัดสรร
ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น คน เงิน วัสดุ อาคาร สถานที่หรือที่ดิน

             การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถาบันการศึกษา
              1.  นิติธรรม ได้แก่   การออก กฎ ข้อบังคับ ให้ทันสมัย และเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับของครู  นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาโดยที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับเหล่านั้น 
             2.  หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามของศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่สังคมยอมรับว่าพึงปฏิบัติ   รณรงค์ให้บุคลากรในสถานศึกษาปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม    
ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยันอดทน มีระเบียบวินัย
              3.  หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในสถานศึกษา โดยปรับปรุงกลไกการทำงานของทุกส่วนฝ่ายให้มีความโปร่งใส  ชุมชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยสะดวกและเข้าใจง่าย มีกระบวนการให้ตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
              4.  หลักความมีส่วนร่วมได้แก่  เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมรับรู้  และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของสถานศึกษา ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น  การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ หรือ การแสดงประชามติ
              5.  หลักความรับผิดชอบ ตระหนักในสิทธิหน้าที่ / สำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม  ใส่ใจปัญหา  กระตือรือร้นในการแก้ปัญหา เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง กล้ายอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตน
              6.  หลักความคุ้มค่า   หมายถึง    การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สถานศึกษา   รณรงค์ให้มีความประหยัด  ใช้ของอย่างคุ้มค่า  รักษาและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

วิธีการระดมทรัพยากรจากชุมชนของโรงเรียน
         จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กล่าวว่ากฎหมายได้กำหนดให้มีการกระจายอำนาจการบริหาร และ การจัดการศึกษาไปสู่สถานศึกษา  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงิน และทรัพย์สินทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   บุคคล   ครอบครัว   ชุมชน   องค์กรชุมชน  เอกชน  องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษาโดย เป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สิน หรือทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษาและมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น
รัฐบาลได้จัดสรรเงินอุดหนุนให้กับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นค่าใช้จ่าย  ดังนี้
           1. รายจ่ายงบบุคลากร  ให้ใช้จ่ายเป็นค่าจ้างชั่วคราว  เช่น จ้างครูอัตราจ้าง  ยาม  เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด  คนขับรถ
          2. รายจ่ายงบดำเนินการ ให้ใช้จ่ายเป็นค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ  เช่น วัสดุการศึกษา ค่าตอบแทนวิทยากร  ค่าพาหนะ ที่พัก และเบี้ยเลี้ยง  ค่าเวชภัณฑ์  ค่าเครื่องเขียน ค่าใช้จ่ายในการแข่งขันกีฬา  และค่าสาธารณูปโภค  เช่น ค่าน้ำ  ค่าไฟฟ้า  ค่าโทรศัพท์
         3. รายจ่ายงบลงทุน ให้ใช้จ่ายเป็นค่าครุภัณฑ์ เช่น จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องถ่ายเอกสาร ครุภัณฑ์การศึกษา  และค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
สภาพปัญหาค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาและผู้ปกครองภายหลังมีการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวจากรัฐบาลพบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่ประสบปัญหาภายหลังมีการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัว คือ ความไม่พอเพียงของงบประมาณ  และปัญหาการบริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับ  ทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
        สภาพปัญหาการอุดหนุนการศึกษาไทยว่ามีปัญหาหลายประการ   ดังนี้ 
          1. ความจำกัดด้านงบอุดหนุนการศึกษา
          2. การไม่สามารถกระจายโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพสู่กลุ่มคนด้อยโอกาสได้อย่างแท้จริง
          3. การเพิ่มความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษาระหว่างเขตเมืองกับชนบท โรงเรียน ที่มีคุณภาพมักอยู่ในเขตเมือง โรงเรียนในเขตเมืองมีผู้เรียนมากกว่า
         4. การจัดสรรทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด  งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้นั้นไม่เพียงพอกับความต้องการ ในการนำไปใช้ในการพัฒนาการศึกษา   ดังนั้นโรงเรียนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาการศึกษาโดยมีการพัฒนาภาคี เครือข่าย  ผู้อุปถัมภ์ให้มีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงิน  และทรัพย์สินทั้งจากรัฐ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  บุคคล  ครอบครัวชุมชน  องค์กรชุมชน   เอกชน  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ ส ถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น  และต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษาโดยเป็นผู้จัด   และมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  การบริจาคทรัพย์สิน  หรือทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา  และมีส่วนร่วมในการรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น   ทั้งนี้เพื่อให้โรงเรียนสามารถที่จะบริหารจัดการและพัฒนาให้มีคุณภาพส่งผลถึงคุณภาพของนักเรียนต่อไป 
        แหล่งทรัพยากรทางการศึกษา
           1.  งบประมาณแผ่นดิน
   2.  เงินนอกงบประมาณ
     3.  เงินจากการลงทุน
 ทรัพยากรจากชุมชน
                จะเห็นได้ว่า  แหล่งทรัพยากรทางการศึกษาส่วนใหญ่  คือ เงิน ทั้งที่ได้มาจากรัฐบาลและจากการระดมทุน  ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องนำเงินที่ได้ไปใช้สำหรับการจัดหาทรัพยากรที่สำคัญต่อไป  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารต้องศึกษาถึงข้อกำหนดในการบริหารเงินงบประมาณ  ซึ่งในเรื่องนี้ต้องมีการนำหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้อย่างเต็มที่  นั่นคือ  ต้องมีวินัยในการนำเงินไปใช้เพื่อจัดการศึกษา มีความซื่อสัตย์ในการใช้จ่ายเงินทุกบาท  การเบิกจ่าย การจัดซื้อจัดจ้าง ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด มีเอกสารยืนยันการทำงานทุกขั้นตอน และสามารถที่จะตรวจสอบย้อนหลังได้  และที่สำคัญก็คือ  ทรัพยากรที่จัดหามาทั้งหลายนั้น ต้องมีความเหมาะสมกับสถานศึกษาของตน  และต้องได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่าสูงสุด
                ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาก็คือ  มีการนำเงินไปใช้สำหรับการพัฒนางานเพียงด้านใดด้านหนึ่ง  หรือมีการกระจายเงินงบประมาณในการพัฒนาการจัดการศึกษาไม่สมดุลกัน มีการลงทุนหรือจัดซื้ออุปกรณ์บางอย่างที่ยังไม่มีความจำเป็น  ดังนั้น ผู้บริหารพึงควรระลึกไว้เสมอว่า ตามหลักธรรมาภิบาลแล้ว  ผู้บริหารต้องเปิดโอกาส ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมแสดงความเห็นและจัดการบริหารทรัพยากรด้วยเช่นกัน เพื่อให้การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างสมบูรณ์
 วิธีดำเนินการระดมทรัพยากรของโรงเรียนซับบอนวิทยาคม
            1.  วิเคราะห์ความต้องการความจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
            2.  จัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
            3.  จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ
            4.   ดำเนินการวางแผนการระดมทรัพยากร  ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เช่น  องค์การบริหารส่วนตำบล   องค์กรชุมชน  สถาบันศาสนา  องค์กรเอกชน และการบริจาคทรัพย์
           5.   ดำเนินการตามแผนการดำเนินการ โดยการจัดประชุมผู้ปกครอง   จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อหาแนวร่วมในการให้ความร่วมมือในการระดมทรัพยากร   เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา   สำรวจแหล่งเรียนรู้  สถานประกอบการ  และภูมิปัญญาท้องถิ่น  เพื่อทำข้อตกลงการให้ความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน  จัดการบริหารและใช้งบประมาณ  วัสดุอุปกรณ์  แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
          6.  ประเมินผลการดำเนินโครงการตามเศรษฐกิจพอเพียง

การบริหารทรัพยากรของโรงเรียน
          ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทหน้าที่สำคัญในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา   เริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบาย และแผนของสถานศึกษา โดยจัดให้มีการทำแผนงานของสถานศึกษาของตนขึ้น เพื่อจะได้ทราบว่าจะต้องทำกิจกรรมอะไรบ้าง จึงจะทำการกำหนดทรัพยากรที่ต้องการ โดยรวบรวมความต้องการด้านทรัพยากรจากแผนงาน มีการจำแนกเป็นหมวดหมู่ที่ต้องการอย่างชัดเจน   รวมถึงการแสวงหาทรัพยากร โดยแสวงหาจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ เช่น งบประมาณ เงินรายได้ เงินบริจาค ทรัพยากรจากชุมชน  ผู้บริหารต้องมีการจัดสรรทรัพยากร โดยจัดเรียงตามลำดับความสำคัญ หรือความพร้อมของโครงการที่จะทำ   หลักการสำคัญอยู่ที่การใช้ทรัพยากร โดยมีการวางแผนการใช้ เช่นจะใช้กระดาษในกิจกรรมใด เพื่อมิให้เก็บไว้โดยเปล่าประโยชน์ และควบคุมการใช้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ  ซึ่งต้องมีการประเมินการใช้ เช่นประเมินผลประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความเพียงพอ ปัญหาและอุปสรรค 
   การบริหารทรัพยากรของโรงเรียนซับบอนวิทยาคม        
 1.  มีการจัดทำระบบสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อการตรวจสอบและรองรับการประเมินภายใน ภายนอก
          2.  มีการวางแผนงบประมาณการใช้จ่ายโครงการตามปีงบประมาณ   การจัดทำแผนกลยุทธ์
          3.  มีการคำนวณต้นทุนในการใช้จ่ายของกิจกรรมต่างๆ
          4.  มีการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง
          5.   มีการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ
           6.   มีการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน
           7.  มีการบริหารสินทรัพย์   วัสดุ   ครุภัณฑ์ อย่างคุ้มค่า
            8.  มีการตรวจสอบภายในเพื่อชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง
            9. ขอความอนุเคราะห์การสนับสนุนทรัพยากรจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม
           10. การทอดผ้าป่าจากศิษย์เก่า

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ผู้บริหารควรบริหารทรัพยากรทางการศึกษาด้วยหลักธรรมาภิบาล    ดังนี้
1.ระบบการบริหารทรัพยากรเพื่อการศึกษา
1.             มีระบบบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
2.             มีระบบบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างมีความคล่องตัว
3.             มีความโปร่งใสตรวจสอบได้
2. ระบบบริหารการเงินเพื่อการศึกษา
1.             วางระบบบัญชีและสารสนเทศเพื่อการจัดทำบัญชีของสถานศึกษา
2.             วางระบบการเงินสำหรับการใช้จ่ายเงินของสถานศึกษาและเขตพื้นที่
3.             วางระบบการบริหารงานพัสดุและทรัพย์สินของสถานศึกษา
4.             วางระบบการบริหารจัดการกองทุนต่างๆ
3.ระบบการตรวจสอบติดตามและประเมินผล
1.             การตรวจสอบภายใน
2.             คณะกรรมการตรวจสอบ
3.             การตรวจสอบของผู้ตรวจสอบอิสระจากภายนอก
4.             การตรวจสอบโดยประชาชน
4.การพัฒนาระบบตรวจสอบติดตามและประเมินผล
1.             วางระบบการตรวจสอบภายใน
2.             กำหนดบทบาทภารกิจของคณะกรรมการการตรวจสอบ
3.             กำหนดขอบเขตหน้าที่และวิธีการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบอิสระจากภายนอก
4.             กำหนดกระบวนการ  การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบของชุมชนและภาคเอกชน

คำนำ
          เอกสารการระดมและบริหารทรัพยากรทางการศึกษาจากชุมชน ของโรงเรียนซับบอนวิทยาคมฉบับนี้
ได้จัดทำเป็นรายงานในการบริหารทรัพยากรในบริบทของโรงเรียนซับบอนวิทยาคมซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำตำบล  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต  40   จังหวัดเพชรบูรณ์
         พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่เน้นความสำคัญของตัวผู้เรียน และเน้นการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามโครงสร้างการกระจายอำนาจ  การบริหารทรัพยากรจะเป็นกลไกหรือเครื่องมือสำคัญที่กระตุ้นให้สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดการศึกษา   สถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในความดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพราะฉะนั้นการดำเนินการด้านงบประมาณหรือทรัพยากร  ที่จะได้รับจากทางรัฐบาลจึงต้องดำเนินการผ่านเขตพื้นที่การศึกษา  สถานศึกษาจะมีฐานะเป็นหน่วยงบประมาณและหน่วยบริหารการเงินของตนเอง  แต่ยังต้องมีเขตพื้นที่ดูแลอีกชั้นหนึ่ง    แนวคิดทางการบริหารการศึกษาที่ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด การให้เขตพื้นที่การศึกษาเป็นตัวกลางประสานระหว่างสถานศึกษาต่างๆจึงเป็นการดี


                                                                                                                นายวีรชาติ มาตรหลุบเลา


                                                                    สารบัญ
                                                                                                                                             หน้า
บริบทโรงเรียนซับบอนวิทยาคม........................................................................................................                              1
แนวคิดเกี่ยวกับการระดมทรัพยากร...................................................................................................                             4
วิธีการระดมทรัพยากรจากชุมชนของโรงเรียนซับบอนวิทยาคม.......................................................                       5
การบริหารทรัพยากรของโรงเรียนซับบอนวิทยาคม..........................................................................                           7
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ...............................................................................................................                               8





เอกสารอ้างอิง

โรงเรียนซับบอนวิทยาคม. (2553). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (SAR). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
                   มัธยมศึกษาเขต 40  จังหวัดเพชรบูรณ์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2537).บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ประมวลสาระชุดวิชาการบริหาร
                    ทรัพยากรการศึกษานนทบุรี .มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.







                         การระดมและบริหารทรัพยากรทางการศึกษาจากชุมชน     
                                           ของโรงเรียนซับบอนวิทยาคม                         


                                                             เสนอ
                                                     ผศ. วินัย  สมมิตร



                                                                จัดทำโดย
                                                  นางวีรชาติ มาตรหลุบเลา
                                                       รหัส 54217011117



            รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา
                              สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะครุศาสตร์
                                        มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
                                              ภาคการศึกษาที่ 3/2554











No comments:

Post a Comment

like