โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Friday, July 20, 2012

การเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียน เป็นศูนย์กลางแบบโมเดลซิปปา(CIPPA MODEL)

การเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียน เป็นศูนย์กลางแบบโมเดลซิปปา(CIPPA MODEL) เป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง ที่รองศาสตรจารย์ทิศนา? แขมมณี อาจารย์จากคณะครุศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาขึ้นจากการรวบรวมและประสานสัมพันธ์ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ที่มีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางใน ลักษณะใหม่ที่เรียกว่า ซิปปา โมเดล นั้นเอง

ที่มาของแนวคิด
รองศาสตราจารย์ทิศนา แขมมณี รองศาสตราจารย์ ได้พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นจาประสบการณ์ที่ได้ใช้แนวคิดทางการศึกษาต่างๆในการสอน มาเป็นเวลาประมาณ30ปี และพบว่าแล้วคิดจำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอดมา จึงได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาประสานกัน ทำให้เกิดเป็นแบบแผนขึ้น ซึ่งแนวคิดเหล่านั้นได้ได้แก่ (1) แนวคิดการสร้างความรู้ (2) แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ (3) แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ (4) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการ และ (5) แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนการเรียนรู้ ซึ่งรองศาสตร์จารย์ทิศนา แขมมณี ได้ใช้แนวคิดเหล่านี้ในการจัดการเรียนการสอนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใน ลักษณะที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง (construc-tion of knowledge) ซึ่งนอกจากผู้เรียนจะต้องเรียนด้วยตนเองและพึ่งตนเองแล้ว ยังต้องพึ่งการปฎิสัมพัธ์ (interaction) กับเพื่อน บุคคลอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย รวมทั้งต้องอาศัยทักษะกระบวนการ (process skills) ต่างๆ จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ นอกจากนั้นการเรียนจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องได้ดี หากผู้เรียนอยู่ในสภาพที่มีความพร้อมในการรับรู้ และเรียนรู้ มีประสาทการรับรู้ที่ตื่นตัว ไม่เฉื่อยฉา ซึ้งสิ่งที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพดังกล่าวได้ก็คือ การให้มีการเคลื่อนไหวทางกาย (physical participation) เรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง และความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้น จะมีความลึกซึ้งและอยู่คงทนมากขึ้น หากผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ (application) ในสถานการณ์ที่หลากหลาย ด้วยแนวคิดดังกล่าว จึงเกิดแบบแผน ?CIPPA? ขึ้น ซึ่งผู้สอนสามารถนำแนวคิดทั้ง 5 ดังกล่าวไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลางให้มีคุณภาพได้


วัตถุประสงค์ของรูปแบบ

รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริงโดยการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วย ตนเองโดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก อาทิ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม กระการปฏิสัมพันธ์สังคม และกระบวนการแสวงหาความรู้ เป็นต้น
ความหมายของ? CIPPA
C?? มาจากคำว่า?? Construct หมายถึง? การสร้างความรู้ตามแนวคิดของ? Constructiviism?? กล่าวคือ? เป็นกิจกรรมการเรียนรู้? ช่วยให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง? ทำความเข้าใจ? เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายแก่ตนเอง? และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง? เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา
I? มาจากคำว่า?? Interaction หมายถึง? การช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม? กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับ บุคคล? และแหล่งความรู้ที่หลากหลาย? ได้รู้จักกันและกัน? ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้? ความคิดประสบการณ์? แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้? ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนทางสังคม
P? มาจากคำว่า?? Physical? Participation หมายถึง? การช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาท? มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย? ให้ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย?? โดยการทำกิจกรรมในลักษณะต่างๆ? ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย
P? มาจากคำว่า?? Process?? Learning หมายถึง? การเรียนรู้? กระบวนการ? ต่างๆ ของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี? ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ? ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
A? มาจากคำว่า?? Application การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้? ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน? เป็นการช่วยผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งในสังคม? และชีวิตประจำวัน? ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ
การจัดการเรียนการสอน
หลักของโมเดลซิปปา (CIPPA? MODEL)? ซึ่งได้รูปแบบการเรียนการสอนซึ่งสามารถประยุกต์ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีขั้นตอนสำคัญ 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1.ขั้นทบทวนความรู้เดิม ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้ของผู้เรียนในเรื่องที่เรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน
2. ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูล? ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่มีจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ? ซี่งครูอาจเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆ? เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
3. ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่? และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนเผชิญปัญหา? และทำความเข้าใจกับข้อมูล? ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล? ประสบการณ์ใหม่ๆ? โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง? เช่นใช้กระบวนการคิด? และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปผลความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น?? ซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงความรู้เดิม? มีการตรวจสอบความเข้าใจต่อตนเองหรือกลุ่ม? โดยครูใช้สื่อและย้ำมโนมติในการเรียนรู้
4. ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือ? ในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตนเอง? รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น? ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนเองแก่ผู้อื่นและได้ รับประโยชน์จากความรู้? ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆกัน
5. ขั้นการสรุปและจัดระเบียบความรู้ ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด? ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่? และจัดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นระบบระเบียบ?? เพื่อช่วยให้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
6. ขั้นการแสดงผลงาน ขั้นนี้เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้แสดงผลงานการสร้างความรู้ ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้? เป็นการช่วยให้ผู้เรียนตอกย้ำ หรือตรวจสอบ? เพื่อช่วยให้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
7. ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ ขั้นนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้? ความเข้าใจของตนเองไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ? ความเข้าใจ? ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้น ๆ
การ เรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแบบโมเดลซิปปา(CIPPA MODEL)นี้ จะเห็นได้ว่าเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้แสวงหา หรือคิดด้วยตัวของเขาเอง ก่อนที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้นั้นมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มเพื่อน เพื่อนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ การจัดการศึกษาในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา? มัธยมศึกษา จนไปถึงระดับอุดมศึกษา จึงนับเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
???????????????
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา? แขมมณี. (2542). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.
ที่มา :
http://gotoknow.org/blog/kongdet/212393
http://learners.in.th/blog/jintana-o/259102



 การใช้  CIPPA MODEL  กับ Social Media ,Social Network และ บล็อก




C-- Construct
I--Interaction
P--Physical? Participation
P-- Learning
A--Application

No comments:

Post a Comment

like