โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Saturday, July 21, 2012

การศึกษางานวิจัย เรื่อง สภาพและปัญหาการจัดการความรู้ ตามทัศนะของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง


                  คืนนี้ก่อนเดินทางไปดูงานที่ จ.กาญจนบุรี คงไม่มีอะไรทำมาก ดราฟรายงานมานั่งแชร์ แก้ไขอีกรอบก็คงปริ้นส่ง วันนี้พึ่งสอบเสร็จ  เทอมนี้ผ่านมาแล้ว 3 วิชา  เทอมต่อมานี้เน้นๆวิจัย กลับมาลุยโจทย์เก่าอีกรอบหลังจากที่ไม่ได้ใช้มานาน เกือบสองปีแล้วที่ไม่ได้ทำวิจัยเช็คตัวเองอีกรอบ ลืมเกือบหมด  วันนี้ขอแชร์การค้นคว้าเล็กๆนะครับ  วันหน้าถ้าทำ "การจัดการความรู้ด้วยบล็อกในบริบทของการศึกษา ในส่วนของผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหาร" สำหรับสถานศึกษาเสร็จ จะเอามาแชร์อีกรอบ




การศึกษางานวิจัย
เรื่อง
สภาพและปัญหาการจัดการความรู้ ตามทัศนะของผู้บริหารและครู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

เสนอ
ผ.ศ.วินัย สมมิตร


จัดทำโดย
วีรชาติ มาตรหลุบเลา

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาการบริหารทรัพยาการทางการศึกษา
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ภาคเรียนที่ 3/2554

คำนำ
                การศึกษางานวิจัยเรื่อง สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ ตามทัศนของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง การวิจัยนี้มุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ ตามทัศนของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จำแนกตาม ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา อายุ สถานภาพการสมรส วิทยฐานะ ประสบการณ์ในตำแหน่ง การอบรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ที่ตั้งของสถานศึกษา ขนาดของสถานศึกษา และผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยเฉลี่ย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารและครู ซึ่งปฎิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2553 จำนวน 314 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified ramdom sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.891 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย(mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(standard deviation) การทดสอบทีเทส (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่(Scheffe ‘s method) 












สารบัญ
                                                                                                                                                                                  หน้า
บทนำ…………………………………………………………………………………………..      1
ความมุ่งหมายของการวิจัย …………………………………………………………………….       2
สมมติฐานในการวิจัย ………………………………………………………………………….       2
วิธีดำเนินการวิจัย ………………………………………………………………………………      3
                ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ………………………………………………………………..      4
                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ……………………………………………………………..      4
                วิเคราะห์ข้อมูล ………………………………………………………………………      4
สรุปผลการวิจัย………………………………………………………………………………..      5
ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย………………………………………………………………………..       6









การศึกษางานวิจัย
เรื่อง
สภาพและปัญหาการจัดการความรู้ ตามทัศนะของผู้บริหารและครู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
บทนำ
                สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ ตามทัศนของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง นี้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ปีการศึกษา 2547 โดย วัฒนา ทองกัญชร เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
                ความมุ่งหมายของการวิจัย
                 1.สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ ตามทัศนของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
                2. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ ตามทัศนของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จำแนกตาม ตำแหน่งวุฒิการศึกษา การอบรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ และที่ตั้งของสถานศึกษา

สมมติฐานการวิจัย
                สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ ตามทัศนของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง มีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกตาม ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา อายุ สถานภาพการสมรส วิทยฐานะ ประสบการณ์ในตำแหน่ง ขนาดของสถานศึกษา การอบรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ที่ตั้งของสถานศึกษา และผลสัมฤทธ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ย

กลุ่มประชากรตัวอย่าง
                1.ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ปีการศึกษา 2553 จำนวน 154 โรงเรียน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 171 คน ครูจำนวน 1,284 คน รวม 1,455 คน
                2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เนื่องจากประชากรมีจำนวนที่แน่นอน (finite population) สูตรที่ใช้ในการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างจึงใช้สูตรยามาเน่ (yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และยอมให้ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5  ในการคำนวณหาชนาดของกลุ่มตัวอย่าง (สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมณ์,2546,หน้า 445) ได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 314 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified ramdom sampling) ตามสัดส่วนของผู้บริหารและครู โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามความเหมาะสมเป็นผู้บริหาร ร้อยละ 40 จำนวน 126 คน ครู ร้อยละ 60 ได้จำนวน 188 คน เป็นการแบ่งชั้น (strata) จนได้ตัวอย่างครบตามจำนวน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
                ข้อมูลที่ใช้ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามผู้บริหารและครู ต่อสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ ตามทัศนของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง แบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้
                ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม คำถามมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (check-list) จำนวน 10 ข้อ
                ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการจัดการความรู้ตามทัศนะของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง คำถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ จำนวน 32 ข้อ
                ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการจัดการความรู้ตามทัศนะของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง  คำถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ จำนวน 24 ข้อ


การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
                1.นำแบบสอบถามทั้งหมดมาตรวจสอบความสมบูรณ์ ความถูกต้องในการตอบแบบสอบถาม แล้วนำมาคัดเลือกฉบับสมบูรณ์และถูกต้องเพื่อนำมาคิดวิเคราะห์ข้อมูล
                2.การวิเคราะห์ข้อมูลมีขั้นตอนดังนี้
                  2.1 การวิเคราะห์ข้อมูล สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้การแจกแจงความถี่ (frequency) และการหาค่าร้อยละ (percentage)
                  2.2 การวิเคราะห์สภาพและปัญหาการจัดความรู้ ตามทัศนะของผู้บริหารและครูด้วยการหาค่าเฉลี่ย(mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)  ซึ่งการแปลผลค่าเฉลี่ยมีความหมาย ดังนี้
                  คะแนนเฉลี่ย 4.50-5.00 หมายถึง มีทัศนะเกี่ยวกับสภาพหรือปัญหาการจัดการความรู้ระดับมากที่สุด
                  คะแนนเฉลี่ย 3.50-4.49 หมายถึง มีทัศนะเกี่ยวกับสภาพหรือปัญหาการจัดการความรู้ระดับมาก
                  คะแนนเฉลี่ย 2.50-3.39 หมายถึง มีทัศนะเกี่ยวกับสภาพหรือปัญหาการจัดการความรู้ระดับปานกลาง
                  คะแนนเฉลี่ย 1.50-2.49 หมายถึง มีทัศนะเกี่ยวกับสภาพหรือปัญหาการจัดการความรู้ระดับน้อย
                  คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.49 หมายถึง มีทัศนะเกี่ยวกับสภาพหรือปัญหาการจัดการความรู้ระดับน้อยที่สุด
                  2.3 การวิเคราะห์ข้อมูล การเปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ ตามทัศนของผู้บริหารและครู จำแนกตามสภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ตำแหน่งวุฒิการศึกษา การอบรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ และที่ตั้งของสถานศึกษา โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test)
                  2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การเปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ ตามทัศนของผู้บริหารและครู จำแนกตามสภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ อายุ สถานภาพการสมรส วิทยฐานะ ประสบการณ์ในตำแหน่ง ขนาดของสถานศึกษาและผลสัมฤทธ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ย โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และ ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Sheffe ‘s mother)
ข้อคิดเห็นจากการศึกษา
                การศึกษางานวิจัย สภาพการจัดการความรู้ตามทัศนะของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง การวิจัยนี้ได้ทำการเปรียบเทียบสภาพการจัดการความรู้จากกลุ่มประชากรที่กำหนดกลุ่มชัดเจน จำแนกจาก จำแนกตาม ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา อายุ สถานภาพการสมรส วิทยฐานะ ประสบการณ์ในตำแหน่ง ขนาดของสถานศึกษา การอบรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ที่ตั้งของสถานศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ย ซึ่งทำให้ได้ผลการวิจัยที่สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างในเรื่อง สภาพการจัดการความรู้ตามทัศนะของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง โดยใช้ค่าทางสถิติในการวิจัยและสอดคล้องกับแนวความคิดในการจัดการความรู้ของนักวิชาการอื่นๆ และได้มีการเสนอแนะหัวข้อที่น่าสนใจในการทำวิจัย เพื่อให้ใช้เป็นแนวทางในการทำวิจัยครั้งต่อไป

No comments:

Post a Comment

like