โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Tuesday, July 31, 2012

โครงการแท็บเล็ตของรัฐบาล ถ้ามีส่วนที่เป็น open source

โครงการแท็บเล็ตของรัฐบาล  ถ้ามีส่วนที่เป็น open source แบบ linux  คงน่าจะดี
           วันนี้เปิดเว็บมาอ่านเจอเว็บนี้ดีมากๆครับ เครดิตเว็บเพื่อนครูคนนี้หน่อย http://sompriaw.wordpress.com  ผมหาชื่อเล่นแกยังไม่เจอแต่เนื้อหาในเว็บนี้เยี่ยมมาก ผมลิงค์กลับไปแ้ล้วเรียบร้อยและอยากบอกว่า ยินดีทีไ่ด้รู้จักนะครับ  วัีนนี้ ผมได้รับหนังเมล์เกี่ยวกับการพัฒนาซอฟแวร์ในที่ใช้ใน tablet แต่ถ้ามองในระยะยาว ซอฟแวร์แบบ Stand alone คงไม่มีสามารถตอบโจทย์ได้ดั่งใจผม แต่ส่วนที่น่าสนใจสำหรับผมคือ web application ที่รันได้ทุก os  แต่อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่อ่านบทความนี้ ขอกล่าวคำว่า ขอบคุณมากๆนะครับคุณอาจเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาไทย แต่สิ่งที่อ่านจากผมโพสด้านบน คงไม่ได้ใจความมากส่วนที่สำคัญ อยู่ด้านล่างนี้ เชิญอ่านครับ
          









โครงการแท็บเล็ตของรัฐบาลกำลังเป็นที่จับตามอง คำถามหนึ่งที่ถูกถามกันอย่างมากคือซอฟต์แวร์เนื้อหาภายในว่าจะเป็นเนื้อหาแบบใดบ้าง โดยตอนนี้เองมีตัวอย่างเนื้อหาที่ dekthai.net หลายคนวิจารณ์ว่าดีหรือไม่ดีต่างกันไป แต่ที่สงสัยเหมือนกันทุกคนคือทำไมจึงไม่มีข่าวเกี่ยวกับเนื้อหาออกมาก่อนหน้านี้ และตัวซอฟต์แวร์นั้นใช้งบประมาณส่วนไหนเป็นเงินเท่าใด ในข่าวก่อนหน้านี้ตอนที่เครื่องแท็บเล็ตส่งเข้ามายังเมืองไทยก็ปรากฏชื่อของคุณพิพัฒน์ วัฒนศาสตร์ ว่าเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ชุดนี้ ทาง Blognone จึงติดต่อขอสัมภาษณ์คุณพิพัฒน์มาในวันนี้
Blognone: หลายคนสงสัยว่าคุณพิพัฒน์เป็นใคร และเข้ามาทำงานส่วนนี้ได้อย่างไร?
พิพัฒน์: ตอนนี้ผมเป็น Assistant Vice President (AVP) ของบริษัท System Integrator บริษัทหนึ่งที่รับประมูลงานภาครัฐอยู่ก่อน และได้รู้ว่ามีความต้องการที่จะทำซอฟต์แวร์บนตัวแท็บเล็ตจากรัฐบาล แต่ขาดงบประมาณในส่วนนี้ ก็มีการเรียกบริษัทต่างๆ เข้าไปคุยว่าจะมีใครช่วยพัฒนาในส่วนนี้ได้บ้าง ซึ่งก็ไม่มีใครรับทำ จากนั้นทาง SIPA จึงได้ติดต่อผมเข้าไปว่าจะทำได้ไหม ผมจึงเข้าไปรับทำในช่วงเดือนท้ายๆ ให้ทางรัฐบาล
Blognone: คนที่ทำโปรเจคนี้มีกี่คน?
พิพัฒน์: เนื่องจากเป็น โปรเจคเร่งด่วน จึงต้องทำงานกระชับที่สุด คนทำงานหลัก ก็จะมีสามคน คือ คุณโสรัฐฏา คุณประธาน และผมเอง
Blognone: ระบบข้างในเป็นอย่างไรบ้าง?
พิพัฒน์: ผมเองเป็นคนวางระบบหลัก โดยดูว่ามีอะไรที่ใช้งานได้บ้าง ตอนนี้มีระบบ Cloud Storage ของ TOT ที่เตรียมไว้ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศจึงเข้าไปคุยว่าจะใช้ได้ไหม ซึ่งทาง TOT ก็ตอบตกลง ส่วนทางกระทรวงศึกษานั้นมี LO (Learning Object บทเรียนที่เราเห็นในเว็บ dekthai.net) แล้วมาคุยกับคุณโสรัฐฎาว่าจะทำหน้าจอให้เด็กๆ ได้อย่างไรบ้าง แต่หลังจากนั้นได้ติดต่อทางกระทรวงศึกษาธิการไปว่าจริงๆ แล้วมีโรงเรียนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กี่โรงเรียน ปรากฏว่ามีโรงเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถออนไลน์ได้ จึงต้องวางระบบให้ทำงานแบบออฟไลน์ได้ด้วย ในส่วนของ LO ที่กระทรวงศึกษาธิการทำไว้มีขนาดหลายกิกะไบต์ ทำให้ต้องคิดถึงประเด็นการอัพเดตว่าจะอัพเดตอย่างไรในกรณีที่โรงเรียนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ จึงคิดว่าในโรงเรียนคงจะมีอินเทอร์เน็ตและจุดชาร์จไฟ จึงออกแบบให้โรงเรียนสามารถตั้งเซิร์ฟเวอร์กลางของโรงเรียนเพื่อเป็นจุดอัพเดตซอฟต์แวร์ได้ด้วยผ่าน Wi-Fi โดยส่วนกลางอาจจะส่งอัพเดตเป็นซีดีเพื่อให้โรงเรียนไปอัพเดตข้อมูลให้กับเด็กๆ ให้กลับไปดูที่บ้าน จุดสำคัญของระบบนี้คือการให้ความสำคัญกับการอัพเดตในอนาคตว่าจะอัพเดตอย่างไรกับจำนวนเครื่องที่มีอยู่มากมาย LSystem มีความหมาย 2 อย่างที่ตั้งใจไว้คือ Learning System ก็มีความหมายตรงตัว และ L-System (Lindenmayer System) เป็น สมการ รูปแบบการเจริญเติบโตของ ต้นไม้ และ จำลองการเติบโตของ cellที่ไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนกับการขยายกิ่งก้านสาขาของความรู้ ที่จะต่อยอดประสบการณ์ เดิมที่มีอยู่
Blognone: จะโอเพนซอร์สระบบนี้รึเปล่า?
พิพัฒน์: บอกตรงๆ คืออาย เพราะตัวผมเองก็เขียนโปรแกรมไม่เก่งนัก ตัวระบบนี้อาจจะเปิดโอเพนซอร์สแต่ต้องหาคนมาปรับปรุงโค้ดให้ได้มาตรฐานโอเพนซอร์สเสียก่อน โดยทาง SIPA น่าจะหาคนมาปรับปรุงโค้ดกันภายหลังอีกที หลังจากนั้นก็อาจจะเปิดโค้ดออกมา
แต่แนวคิดสำคัญของเรื่องนี้คือซอฟต์แวร์จะอยู่กับหน่วยงานกลาง ไม่ขึ้นกับคนหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เพราะเนื้อหาที่อยู่ในระบบนี้จะมีผลประโยชน์จำนวนมาก อยากให้เป็นหน่วยงานอิสระหรือมูลนิธิ หาเงินทุนมาจ้างคนพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่อเนื่อง
Blognone: แล้วหลังจากซอฟต์แวร์ถูกติดตั้งไปแล้ว อย่างนี้จะรับดูแลระบบต่อไหม?
พิพัฒน์: คงให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมาดูแลต่อ เพราะการแก้ไขต้องได้รับการอนุมัติจากหลายฝ่าย ส่วนตัวแล้วคงเข้าไปช่วยวางระบบให้สมบูรณ์ขึ้นบ้าง
Blognone: แต่ตอนนี้มูลนิธิยังไม่ได้ตั้ง แล้วระหว่างนี้ใครจะเป็นคนดูแลซอฟต์แวร์?
พิพัฒน์: ตอนนี้ทาง SIPA เป็นคนอาสาร่วมกับทาง TOT โดยส่วนหลักน่าจะเป็นทาง SIPA ที่ดูแลไปก่อน
Blognone: ที่ว่าเชื่อมต่อกับ Cloud นี่เชื่อมต่ออย่างไรบ้าง?
พิพัฒน์: Cloud ที่ว่าตอนนี้ คือ Cloud Storage อย่างเดียว โดยทาง TOT นั้นมีความได้เปรียบที่เป็นผู้เตรียมลิงก์ไปยังโรงเรียนต่างๆ อยู่แล้ว ภายในตัวแท็บเล็ตเองจะมีซอฟต์แวร์อีกตัวหนึ่งที่อัพเดตข้อมูล เมื่อนักเรียนเปลี่ยนชั้นเรียนก็สามารถซิงก์ข้อมูลใหม่ๆ ลงไปได้ หรืออาจจะเลือกใช้เซิร์ฟเวอร์ในโรงเรียนเองก็ได้อย่างที่บอกไปแล้ว
Blognone: มีการใช้ความสามารถอื่นๆ เช่นการทำการบ้านแล้วซิงก์ข้อมูลขึ้น Cloud ไหม
พิพัฒน์: ตอนนี้ในระบบ LSystem ยังไม่มีการส่งข้อมูลกลับเพราะในตอนนี้โรงเรียนส่วนมากยังไม่มีลิงก์ให้ออนไลน์ แต่ในอนาคตก็อาจจะมีการอัพเดตแอพพลิเคชั่นเพิ่มให้มีความสามารถในการส่งข้อมูลกลับได้
Blognone: แล้วเรื่อง App.Store ที่ออกมาก่อนข่าวมาก่อนหน้านี้ มีพร้อมแล้วหรือยัง?
พิพัฒน์: มีแล้วครับ แต่จริงๆ ยังไม่ได้ตั้งชื่อเป็นทางการ โดยมันเป็นส่วนหนึ่งในสามส่วนของซอฟต์แวร์ในโครงการนี้ ได้แก่ LSystem, ระบบซิงก์, และ apps store แยกออกจากกันหมด แต่ตัว apps store นั้นต้องต่ออินเทอร์เน็ตมาลงเอง เพราะในตัวแท็บเล็ตนั้นไม่มี Google Play โดยที่จริงแล้วก็มีการถกเถียงกันในทีมงานส่วนนี้มาก เพราะหลายคนก็ต้องการให้มี แต่สุดท้ายก็ไม่ใส่ไว้เพราะเด็กป.1 ไม่จำเป็นต้องใช้ และเกรงว่าเด็กจะใช้เพื่อดาวน์โหลดเกม จากนั้นจึงตัดสินใจว่าจะสร้าง apps store กันขึ้นมาเอง โดยตัวมันแล้วคือพื้นที่ส่วนกลางสำหรับการวางแอพพลิเคชั่น ให้คนไทยหรือครูที่มีความสามารถ สามารถเสนอแอพพลิเคชั่นเข้ามายังพื้นที่ส่วนนี้ได้ ไม่ว่าจะแจกฟรีหรือให้ค่าตอบแทนกับผู้พัฒนา โดยส่วนนี้ทำให้ต้องคิดถึงการสร้างหน่วยงานกลางขึ้นมาดูแลเพราะน่าจะมีผลประโยชน์มหาศาลในอนาคต
Blognone: แล้วถ้ามีนักพัฒนาจะเสนอแอพพลิเคชั่นเข้าระบบนี้จะทำอย่างไร
พิพัฒน์: ในตอนนี้หน่วยงานกลางที่จะตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลระบบนี้ยังตั้งไม่เสร็จ แต่ตอนนี้อาจจะเป็น SIPA ที่เข้ามาดู แต่อย่างไรก็ตามแอพพลิเคชั่นต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงศึกษาธิการให้ติดตั้งในแท็บเล็ตได้
Blognone: แล้วนอกจาก LSystem แล้ว ยังมีซอฟต์แวร์ตัวอื่นในเครื่องรึเปล่า
พิพัฒน์: ที่ทราบคือมีคลังข้อสอบของ VChakarn.com และมีซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ที่ไปขอการสนับสนุนจากบริษัทต่างๆ มา ในส่วนนี้ผมไม่แน่ใจว่ามีอะไรบ้าง
Blognone: ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ตอนนี้มีการโอนไปยังหน่วยงานกลางแล้วหรือยัง
พิพัฒน์: ยังไม่ทราบว่ากระบวนการอยู่ในช่วงไหน แต่สุดท้ายแล้วลิขสิทธิ์ทั้งหมดต้องตกอยู่กับมูลนิธิ หากมีการขายซอฟต์แวร์ เงินก็ต้องเข้ามูลนิธิ เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาต่อหรือเป็นค่าตอบแทนให้กับครูที่พัฒนาสื่อการสอนให้กับคนอื่นๆ ต่อไป หรือเป็นทุนการศึกษาของเด็กที่ทำซอฟต์แวร์มาแชร์กัน
Blognone: โครงการนี้ถูกโจมตีว่ามีนอกมีในกันมาตลอด หนักใจบ้างไหม
พิพัฒน์: ไม่มากนักครับ ตัวผมเองไม่ได้เล่น social media มากนัก แต่ก็มีเพื่อนๆ มาบอกเหมือนกันว่ามีการไปค้นหาชื่อผมตามที่ต่างๆ แต่ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก ในเรื่องการมีนอกมีในก็อย่างที่เล่าว่าพอโครงการนี้ไม่มีเงินก็ไม่มีใครเข้ามาทำ ที่ผมมาทำตรงนี้ก็เพือลูกเพื่อหลาน วันนึงเด็กได้ใช้แล้วบอกได้ว่าลุงทำเองก็เป็นความภูมิใจ
Blognone: ทราบว่าไปทดสอบเครื่องที่จีนมาด้วย
พิพัฒน์: ครับ ไปช่วยทดสอบด้านเทคนิคเบื้องต้น ทดสอบว่าชาร์จแล้วไม่ระเบิด รื้อดูเครืองด้านใน โดยตรวจสอบในขั้นต้นแล้ว คุณสมบัติของตัวเครื่องได้ถูกต้องตาม TOR
Blognone: เข้ามาช่วยแบบนี้ แสดงว่าเชื่อว่าการใช้แท็บเล็ตจะช่วยพัฒนาการศึกษา
พิพัฒน์: ใช่ การที่คิดว่าถ้าเด็กได้แท็บเล็ตแล้วจะเอาไปเล่นเกมเป็นการปิดกั้นความคิดเด็ก ทำไมเราต้องไปคิดว่าเด็กป.1 ควรทำได้แค่นี้ เด็กไม่ควรทำอย่างนั้นไม่ควรทำอย่างนี้ เรื่องนี้ผมก็เถียงกับคนในกระทรวงศึกษาธิการว่าคุณไม่คิดเหรอว่าลูกคุณอาจจะไอคิว 180 แค่กลับให้ลูกคุณอ่านแค่ ก ไก่ ข ไข่ แทนที่จะปล่อยให้เขาเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ที่เขาจะได้เจอก็เป็นการเรียนรู้อีกแบบหนึ่งเพราะอย่างไรเสียมันก็หนีไม่พ้น เด็กอยากเรียนรู้อะไร ต้องปล่อยเค้า แต่ต้องอยู่ในการดูแลของผู้ใหญ่ เพราะเขายังไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก
Blognone: ผู้ปกครองหลายคนกลัวว่าเล่นแท็บเล็ตเยอะๆ แล้วจะสมาธิสั้น ไม่ยอมสนใจอย่างอื่น
พิพัฒน์: อันนี้ขึ้นกับผู้ใหญ่ครับ หลานผมพ่อเขาบอกให้หยุดก็หยุด เพราะถ้าไม่หยุดแล้วพรุ่งนี้ไม่ได้เล่น เด็กเป็นผ้าขาว คราวนี้จะปล่อยไปทางไหนก็ขึ้นกับผู้ใหญ่จะแนะนำ ถ้าตามใจจนเขาเคยตัวก็จะเป็นอย่างนั้น สมาธิสั้น ติดเกม ทำงานไม่ได้งาน ถ้าสอนเขาให้ถูกวิธี ยังไงเขาก็เป็นคนดี
Blognone: คือมองว่าแท็บเล็ตก็เป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง
พิพัฒน์: ใช่ครับ ก็เหมือนกับลูกข่าง ว่าว ของเด็กในสมัยก่อนที่เล่นกัน
Blognone: แนวทางของรัฐบาลคือการแจกแท็บเล็ตให้กับทุกชั้นปีเลย ยังคงเชื่อใช่ไหมครับว่าเป็นการใช้เงินที่คุ้มค่า
พิพัฒน์: ถ้าเรามองว่าเป็นการเริ่มต้นของการศึกษาที่มีให้กับเด็กผมมองว่ามันคุ้มค่า เพราะอย่างหนังสือเรียนกระทรวงก็แจก การเรียนฟรีทำได้ก็ควรทำ สื่อการเรียนการสอนที่ให้ได้ก็ควรให้ การกีฬาก็ควรทำ ถ้ามีงบประมาณ และไม่ทำให้เดือดร้อนอะไร และทำให้เด็กพัฒนาการได้ดีขึ้น ล้ำหน้าขึ้นก็ควรทำ

No comments:

Post a Comment

like