ผมลองมองย้อนกลับไปเมื่อสมัยที่เรียนเกี่ยวกับ Philosophy of Education คือเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้วโดยหลักสูตร ป บัณฑิต และเมื่อซัมเมอร์ที่แล้วกับหลักสูตรบริหารการศึกษามหาบัณฑิต และกับปัจจุบันที่นั่งบ่นเรื่องของของ Social Media และ Social Network นั่งรวมข้อมูลไปๆมาๆเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องของปรัชญา พึ่งได้รู้ว่าการใช้ Social Media และ Social Network นั้นตอบโจทย์ในเรื่องของปรัชญาการศึกษาด้วยเช่นกัน สำหรับผม จัดให้ Social Media และ Social Network อยู่ในปรัชญาการศึกษา สาขาอัตถิภาวนิยม หรืออัตนิยม หรือสวภาพนิยม (Existentialism) หลังจากที่ได้ศึกษามาสักระยะก็เริ่มกระจ่างแจ้งและกับไปมึนงงอีกรอบ แต่ก็คงต้องอ่านต่อแหละครับ ไม่มีทางเลือกอื่่นที่ง่ายกว่านี้
บทความด้านล่างนี้น่าสนใจมากครับ
ในการบริหารจัดการการเรียนรู้ในองค์กร เราสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การเรียนรู้ (Learning Strategy) ที่เราเลือกใช้ ซึ่งจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเป้าหมายในการเรียนรู้ขององค์กร
โดยรูปแบบการเรียนรู้ที่บอกว่ามีอยู่หลากหลายรูปแบบนั้น จะมีแบบใดบ้าง ไปดูได้จากแผนภาพสรุปข้างล่างนี้เลยครับ
โดยการแบ่งรูปแบบการเรียนรู้นั้นเราสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ ได้แก่
1. แบบ Live (หรือที่เรียกว่า Synchronous Learning) โดยในรูปแบบแบบนี้ ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือว่า กิจกรรมเรียนรู้ที่เกิดจากทั้ง 2 ฝั่ง (ฝั่งคนสอนกับฝั่งคนเรียน) จะต้องถูกดำเนินการ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ไปพร้อม ๆ กัน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนก็คือการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม (Face to Face Classroom) ที่เราจะเห็นว่ากิจกกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นในห้องเรียน ซึ่งต้องมีการกำหนดเรื่องของตารางเรียน หรือเวลาเรียน ที่ให้ทั้งคนสอนกับคนเรียนได้มีโอกาสมาเจอกัน ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน
โดยในรูปแบบแบบนี้ผู้สอนมักจะทำหน้าที่ของ “คนสอน” อย่างเต็มรูปแบบ
2. แบบ On Demand (หรือที่เรียกว่า Asynchronous Learning) ซึ่งเป็นแบบที่ตรงข้ามกับแบบแรกอย่างสิ้นเชิง โดยที่เราไม่ต้องมีการกำหนดเวลาที่แน่นอน ที่ให้ผู้เรียนหรือผู้สอนมาเจอกัน คนเรียนสามารถเลือกเวลาที่สะดวก หรือสามารถเลือกได้ว่าต้องการจะเข้าไปเรียนรู้ในเนื้อหานั้นเมื่อไหร่ อาจจะเข้าไปค้นหาข้อมูล หรือเลือกเรียนเฉพาะหัวข้อที่ตัวเองสนใจ หรือเข้าไปหาเฉพาะข้อมูลเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาในการทำงานก็ได้
โดยในรูปแบบนี้ผู้สอนมักจะทำหน้าที่ของ “คนอำนวนความสะดวกการเรียนรู้” ให้กับผู้เรียน เช่นช่วยในการตอบคำถาม ช่วยในการ Guide ข้อมูล ช่วยในการประสานงาน เป็นต้น
ในแผนภาพข้างบนดังกล่าว ได้จัดเรียงรูปแบบการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่ทางซ้ายสุด ที่เป็นแบบ Synchronous Learning อย่างสุดขั้ว และก็ลดระดับลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งไปถึงทางฝั่งขวาสุด ที่เป็นแบบ Asynchronous Learning อย่างเต็มที่
โดยรูปแบบการเรียนรู้ในแต่ละแบบมีรายละเอียดดังนี้ครับ
- แบบ Face to Face Classroom: แบบนี้เป็นแบบการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมเลยครับ ที่เรามีห้องเรียน หรือห้องฝึกอบรม และก็มีคนสอน (อาจารย์ หรือ วิทยากร) และก็มีคนเรียน หรือ ผู้เข้าร่วมการอบรม โดยในแบบนี้ อาจจะจัดเป็น Field Trips คล้าย ๆ กับไปเข้าค่ายอบรมด้วยกัน หรือการทำ Lab ด้วยกันก็ได้ครับ
- แบบ Live Online: โดยทำการเปลี่ยนจากรูปแบบการเรียนการสอนแบบเจอหน้ากันจริง ๆ มาเป็นแบบเจอกันแบบออนไลน์ (เจอกันบน Internet) รูปแบบแบบนี้ สามารถจัดได้โดยการทำ Virtual Classroom หรือ Webinar (การจัดสัมมนา หรือทำ Presentation ให้คนฟังเยอะ ๆ ผ่านหน้า Web Site)
- แบบ Coaching: ในแบบนี้จะเน้นการสอนควบคู่ไปกับการทำงานจริง ๆ เช่นการสอนพนักงานใหม่ที่หน้างาน อาจจะเป็นหัวหน้าสอนลูกน้องใหม่โดยตรง (Coaching) หรือเป็นแบบที่พนักงานรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์สอนพนักงานรุ่นน้อง (Mentoring) ก็ได้
- แบบ Collaboration & Community: เป็นแบบที่เน้นการเรียนรู้จากการมีส่วนร่วมของคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์คนอื่น เรียนรู้จากคนที่เก่งกว่า การแบ่งปัน การแชร์ข้อมูลให้กัน ฯลฯ โดยในรูปแบบแบบนี้เราสามารถทำได้ในหลากหลายรูปแบบเช่น
- Portal Site (เช่นการสร้าง Learning Community)
- Blog
- Wiki
- Chat
- Instant Messaging เช่นผ่านทางโปรแกรม MSN
- Threaded Discussion (ผ่านทาง Web Board)
- VoIP (ผ่านทางโทรศัพท์ในรูปแบบ VoIP)
- แบบ Multimedia: เช่นการทำ Video Streaming (เราอาจจะทำผ่านทาง YouTube ก็ได้) การทำ Podcasts การทำ Distance Learning เช่นการจัดรายการ TV ผ่านทางดาวเทียม หรือผ่านทาง DVD
- แบบ Web-Based Learning: ไม่ว่าจะเป็นบน Internet หรือ Intranet ภายในองค์กร การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-paced Tutorials) ผ่านทางระบบ e-Learning หรือระบบ LMS การเรียรู้ผ่านสื่อแบบ Simulation หรือ Games
- แบบ Performance Support: ที่เป็นแบบเน้นในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน คนเรียนสามารถเลือกเรียนเฉพาะหัวข้อที่ตัวเองสนใจ หรือช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องเรียนไล่ไปทีละหัวข้อ ๆ จนหมดทั้งวิชา รูปแบบแบบนี้เราสามารถทำได้โดยการทำ Knowledge Management (การบริหารจัดการองค์ความรู้) หรือในรูปแบบ Workflow Automation (คือการที่กำหนดกระบวนการทำงาน (Work Process) ให้ชัดเจน และอาศัยระบบ IT ช่วยในการจัดการ Workflow ของการทำงาน)
โดยในทางปฏิบัติ เราไม่จำเป็นต้องเลือกหรือใช้แค่รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในการจัดการการเรียนรู้ในองค์กร เราสามารถนำเอารูปแบบการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่หลากหลายมาผสมผสาน และประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับองค์กรของเรา (หรือที่เรียกว่าการทำ Blended Learning) เช่นจัดให้มีทั้ง Face to Face Classroom + DVD + LMS ก็สามารถทำได้ครับ แต่จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมว่าจะต้องผสมผสาน หรือเลือกรูปแบบการเรียนรู้แบบใดจึงจะเหมาะสมกับองค์กรของเราครับ
สำหรับแผนภาพดังกล่าวมาจากบริษัท Cognitive Design Solutions ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://www.cognitivedesignsolutions.com/ ครับ
No comments:
Post a Comment