โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Monday, August 13, 2012

Robo-box การสร้างหุ่นยนต์อัตโนมัติอย่างง่ายควบคุมโปรแกรมด้วยภาษาโลโก้


วันนี้หลังจากทานข้าวเย็นเสร็จมีปัญหาบางอย่างยังคาใจแบบว่าเป็นอะไรไม่รู้ถ้าไม่เคลียร์ผมนอนไม่หลับแน่ จึงต้องกลับมาเอาให้เสร็จกันอีกรอบ วันนี้ตั้งใจว่าจะทำความคุ้นเคยกับ i-box และคู่มือ Robo-box การสร้างหุ่นยนต์อัตโนมัติอย่างง่ายควบคุมโปรแกรมด้วยภาษาโลโก้ ให้ได้ขอบเขตทั้งหมดที่มันทำงานได้ซะก่อน และต้องเตรียมคลิปเพื่อสอนเด็กๆในสัปดาห์นี้ซึ่งผมจะจัดประกวดการโปรแกรมด้วยภาษาโลโก้และปรับแต่ฮาร์ดแวร์โดยใช้ความรู้ด้านฟิสิกส์ ซึ่งเด็กๆน่าจะสนุกกับงานนี้มากเพราะจองคิวกันยาวตั้งแต่เปิดเรียนแล้วครับ ต้องจัดไม่ให้ขัดศรัทธา วันนี้ต้องเตรียมให้พร้อม  จะของเขียนอธิบายRobo-box การสร้างหุ่นยนต์อัตโนมัติอย่างง่ายควบคุมโปรแกรมด้วยภาษาโลโก้ที่ผมใช้นะครับ ตัวนี้ไม่ได้ซื้อเองเป็นของที่มีอยู่แล้วที่โรงเรียนผมเอามาเล่นอีกรอบ



Intelligent Basic Object Experiment board แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ควบคุมด้วยภาษาโลโก้ (logo)
i-BOX ( Intelligent Basic Object Experiment board ) คือแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายมาก เพียงเขียนโปรแกรมแล้วส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ลงสู่ตัว i-BOX ผ่านแสงอินฟราเรด ก็จะสามารถทำงานได้ทันที บนตัว i-BOX มีอุปกรณ์ขับเสียงและขับมอเตอร์ไฟตรงไว้พร้อม จึงสามารถนำไปใช้งานได้มากมาย
ด้านโปรแกรมควบคุมนั้น ใช้โปรแกรมภาษาโลโก้ (logo) ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์มที่ง่ายที่สุด ตรงไปตรงมา มีทั้งแบบตัวอักษร (ใช้โปรแกรม Cricket Logo) และแบบรูปภาพ (ใช้โปรแกรม Logo Blocks) ผู้เรียนสามารถฝึกหัดได้ด้วยตนเองอย่างไม่ยุ่งยาก และยังใช้เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับสอน ผู้ที่เริ่มต้นเขียนโปรแกรมทั้งในระดับประถมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษา หรือกระทั่งคนทั่วไปที่ไม่เคยมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาก่อน
ส่วนประกอบของ i-BOX
1. ส่วนควบคุมหลัก ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่บรรจุตัวแปลภาษาโลโก้ สัญญาณนาฬิกาความถี่ 4MHz
2. ส่วนของหน่วยความจำ ใช้หน่วยความจำอีอีพรอม ( Electrically Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM ) เป็นหน่วยความจำที่ลบและเขียนด้วยสัญญาณไฟฟ้า
3. ส่วนเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ แบบไร้สายด้วยอินฟราเรด ใช้ในการรับข้อมูลของโปรแกรมควบคุม จากคอมพิวเตอร์ ผ่านบอร์ดเชื่อมต่อ UCON-700 เพื่อใช้ส่งข้อมูลการทำงานของ i-BOX กลับไปยังคอมพิวเตอร์
4. ส่วนขับเสียงและมอเตอร์ ใช้ขับสัญญาณเสียงออกทางลำโพงที่อยู่บนตัว i-BOX และใช้ขับมอเตอร์ไฟตรง โดยต่อลำโพงได้ 1 ตัวและมอเตอร์ไฟตรง 6-12 V ได้ 2 ตัว พร้อมไฟแสดงทิศทางการหมุนของมอเตอร์ด้วย
5. ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก มีด้วยกัน 3 กลุ่มย่อยคือ 5.1 กลุ่มรับสัญญาณเข้าหรืออินพุต (input) มี 9 ช่อง แบ่งเป็นช่องอินพุตสัญญาณอะนาลอก 5 ช่อง และช่องอินพุตสัญญาณดิจิตอล 4 ช่อง 5.2 กลุ่มส่งสัญญาณออกหรือเอาต์พุต(output) มี 2 ช่อง เป็นเอาต์พุตแบบดิจิตอล 5.3 ขาสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม 1 ช่อง ใช้สำหรับสื่อสารข้อมูลแบบดิจิตอลกับ i-BOX ตัวอื่นหรืออุปกรณ์ภายนอกเพื่อสร้างเป็นเครือข่าย

คลิปวีดีโอการเขียนโปรแกรมภาษาโลโก้ควบคุมการทำงานของมอเตอร์





นอกจากหุ่นยนต์อัตโนมัติตัวนี้แล้ว ผมยังมีชุดคิดอีก 4-5 รูปแบบ ต้องนำมาแสดงในงานวันวิทย์ของโรงเรียน และต้องหานักเรียนมาสาธิตการใช้งานโดยส่วนมากจะเป็น ม.ปลาย ซึ่งเด็กเราน้อยแต่ละคนก็งานแน่นมือกันทุกคน

No comments:

Post a Comment

like