โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Thursday, August 16, 2012

วันนี้ลองเข้า http://www.facebook.com/PILThailand


วันนี้เข้าเว็บ

http://www.facebook.com/PILThailand


เจอสื่อการสอนดีๆเยอะเลยครับแนะนำให้ดูครับ

ผลงานวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โดย นายอุเทน พุ่มจันทร์ โรงเรียนเยาวเรศศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี ชื่อผลงาน : การสร้างเกมด้วย Program Microsoft word 2010 คำอธิบาย : จุดเด่นของผลงาน เป็นนวัตกรรมที่ใช้งานง่าย ขั้นตอนการสร้างไม่ยุ่งยาก ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้ ปัจจุบันการสร้างเกมเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนนั้น มีโปรแกรมที่ใช้สร้างมากมาย แต่ส่วนมากโปรแกรมที่ใช้สร้างเกมนั้นยังทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจและมีขั้นตอนการสร้าง­ที่ยุ่งยาก ซับซ้อนและใช้เวลาในการสร้างนานมาก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงคิดหาโปรแกรมที่มีขั้นตอนการสร้างเกมไม่ยุ่งยาก ผู้เรียนทุกคนสามารถปฏิบัติและนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้จริงในทุกกลุ่มสาระก­ารเรียนรู้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวนี้คือ Program Microsoft word 2010 ความสามารถของโปรแกรมนี้นอกจากใช้พิมพ์เอกสารได้แล้ว ยังสามารถสร้างเอกสารให้เป็น Web page ได้ มีการเชื่อมโยงข้อมูลติดต่อสื่อการกัน ซึ่งถือเป็นสิ่งใหม่ที่มีในตัวโปรแกรม ข้าพเจ้าจึงใช้โปรแกรมนี้สอนให้นักเรียนสร้างเป็นสื่อการเรียนการสอน สร้างเกมด้วยการแปลงเอกสาร word เป็น web page ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมีความสนุกสนานในการเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน



ผลงานวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โดยนางเสาวณิต ทัพโยธา โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม ชื่อผลงาน : การใช้กิจกรรมโครงงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คำอธิบาย : นกิจกรรมโครงงาน ครูผู้สอนได้สอดแทรก เทคโนโลยีสารสนเทศในทุกขั้นตอน ดังนี้ (ขั้น 1) การสร้างความตระหนักและให้ความรู้เรื่องโครงงาน แก่นักเรียน ครูได้ใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft Power Point, Weblog, Sky Drive และ e-mail มาประกอบการสอน (ขั้น 2) เมื่อนักเรียนได้ปัญหาหรือหัวข้อที่สนใจแล้ว ครู และนักเรียนก็ร่วมกันเลือกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมมาใช้ในการแก้ปัญหา ดังนี้ กลุ่ม1 ใช้โปรแกรม Microsoft Excel ทำโครงงานเชิงสำรวจ กลุ่ม 2 ใช้โปรแกรม GSP ศึกษาเรื่อง แทนแกรม กลุ่มที่ 3 ใช้โปรแกรม GSP ศึกษาลวดลายจากสมการ กลุ่ม 4 ใช้โปรแกรม Google Sketch up และ Poly Pro ศึกษารูปทรงเรขาคณิตสามมิติ กลุ่ม 5 ใช้โปรแกรม GSP และ Google Sketch up หาผลเฉลยข้อสอบ O-net โดยครูให้นักเรียนศึกษาวิธีการใช้โปรแกรมดังกล่าว จากสื่อการเรียนที่ครูสร้างขึ้น (ขั้น 3) เมื่อใช้โปรแกรมต่าง ๆ หาคำตอบของปัญหาได้แล้ว นักเรียนจะต้องจัดทำรูปเล่มรายงานโครงงาน และนำเสนอโครงงาน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างเหมาะสม จึงจะครบตามกระบวนการ ผลจากการทำโครงงานคณิตศาสตร์ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระคณิตศาสตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึก ได้ปฏิบัติจริง ได้พัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ พัฒนาความเชื่อมั่นต่อการนำคณิตศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตจริง เมื่อนำมา บูรณาการกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบสืบเสาะค้นหา นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น



ผลงานวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โดย นางสาวอัจฉรารัตน์ ชัยมณี โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา จังหวัด ลำพูน ชื่อผลงาน : สื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง เรียนรู้ภาษา HTML ง่ายนิดเดียว คำอธิบาย : เนื้อหาเกี่ยวกับภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาที่ในการสร้างเว็บเพจ โดยใช้แท็กในการกำหนดโครงสร้างและลักษณะของข้อความหรือรูปภาพ หัวข้อเรื่องหลักได้แก่ ภาษา HTML คืออะไร?, โครงสร้างภาษา HTML, แต่งสรรค์ให้เว็บสวย, เชื่อมโยงว่องไวโยงใยทั่วโลก และทำความรู้จักกับ XHTML ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้คำสั่งต่าง ๆ สำหรับการตกแต่งเว็บเพจให้ดูสวยงามและมีความน่าสนใจ จัดทำโดยใช้โปรแกรม : Microsoft Power Point 97 เป็นโปรแกรมหลัก ใช้ โปรแกรม SwishMax สร้างเสียงและ Animation ในส่วนของแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนได้พัฒนาจาก ภาษา Java Script และHTML สื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์นี้สร้างเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้­ด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์ในรูปแบบของ E-Learning เรียนรู้จากข้อความบรรยาย มีตัวอย่างประกอบทำให้เข้าใจง่าย และเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอน : กลุ่มนักเรียนและผู้เรียนที่ได้เข้าใช้งานผ่านทางเว็บไซต์ของโรงเรียนเวียงเจดีย์วิท­ยา อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน บริหารด้วย LMS:LeansqurePink ซึ่งมีระบบสมาชิก มีกระดานถามตอบ นักเรียนสามารถ Login เพื่อศึกษาบทเรียนได้ทุกเวลา

No comments:

Post a Comment

like