โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Thursday, August 16, 2012

การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (ระยะ3) การจัดการความรู้ ร่วมกับ edmono


ก่อนอื่นนะครับ ถ้าคุ้นเคยกับบทความด้านล่างแล้วก็สมัครใช้งานได้เลยครับ

Edmodo | Secure Social Learning Network for Teachers and Students

Edmodo provides a safe and easy way for your class to connect and collaborate, share content, and access homework, grades and school notices. Our goal is to ..


เว็บไซต์โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (ระยะ3) การจัดการความรู้
(http://km.opdc.go.th/web_opdc/home/default.php)

          การพัฒนาส่วนราชการให้เป็น“องค์การแห่งการเรียนรู้” โดยอาศัยกระบวนการ “การจัดการความรู้” ในยุคที่มีการแข่งขันและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนราชการต้องสร้างให้ข้าราชการในส่วนราชการมีความรู้ เข้มแข็งและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยผลักดันส่วน ราชการให้บรรลุผล ตามยุทธศาสตร์30โดยในขั้นตอนของการแปลงแผนการ ปฏิบัติราชการสู่การปฏิบัติจริงนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลายประการที่จะ ช่วยผลักดันสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ดังนี้
  1. การปรับโครงสร้างองค์การพื้นฐานเพื่อรองรับบุคลากรให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้สะดวก เช่น สถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
  2. การปรัับขั้นตอนการทำงานให้รวดเร็ว และกระชับมากขึ้น เพื่อเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น
  3. การพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถ มีระบบการยกย่องชมเชย และการให้รางวัลที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ และมีวัฒนธรรมการทำงานเชิงรุก  และวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์การ
  4. ปรับกฎระเบียบ และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
          การจัดการความรู้ในองค์การ31 ต้องดำเนินการ 3 ระดับ คือ (1) การจัดการความรู้ในองค์การ (2) การจัดการความรู้ในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน (3) การจัดการความรู้ในตัวบุคคล ซึ่งเป็นการนำข้อมูลมาประมวลเข้าสู่ระบบสารสนเทศ และเป็นการจัดการความรู้สมัยใหม่ในยุคของสังคมแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้ในองค์การ ประกอบด้วย(ภาพที่ 1-26)
  1. การบ่งชี้ความรู้เนื่องจากความรู้ในองค์การมีอยู่มากมายจึงต้องสำรวจ ว่าความรู้ที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์การสามารถบรรลุยุทธศาสตร์คืออะไร ภายในองค์การมีความรู้หรือไม่  และยังต้องการความรู้อะไรที่จำเป็น
  2. การสร้าง และแสวงหาความรู้ คือ การรู้ว่าความรู้ต่างๆกระจัดกระจายอยู่ที่ใคร ในรูปแบบอะไร
  3. การจัดเก็บสังเคราะห์เก็บรวบรวม และสังเคราะหฺ์ให้เป็นระบบจะทำได้
  4. การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และแบ่งปันองค์ความรู้

ภาพที่ 1-26 การจัดการความรู้ในองค์กร               

การจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นในส่วนราชการ แต่ละส่วนราชการมีการดำเนินการ ดังนี้
          1. ส่วนราชการมีวัฒนธรรมที่ยืดหยุ่นในการจัดการความรู้ ทำให้ทราบปัญหาในการปฎิบัติเพื่อนำไปสู่
การแก้ไขวัฒนธรรมของส่วนราชการ โดยต้องเกื้อกูลข้าราชการให้มีทัศนคติเชิงบวกต่อการสร้างความรู้
          2. ผู้นำด้านความรู้ ต้องเป็นคนผลักดันให้เป็นจริง โดยการสร้างระบบ และมีความผูกพัน มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนา มีกระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นระบบมีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ ดูแลให้ความสนับสนุนอย่างใกล้ชิดที่จะพัฒนาส่วนราชการให้ไปสู่ความสำเร็จ
          3. ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในส่วนราชการ โดยมีกลุ่มคนมารวมตัวกัน ร่วมกันพัฒนา และเสริมสร้างความรู้เพื่อนำไปใช้ในส่วนราชการของตน โดยผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขีดความสามารถให้สมาชิกในกลุ่ม ผลประโยชน์ที่สมาชิกในกลุ่มจะได้รับคือ การสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพ 
          4. มีผู้รับผิดชอบดูแลเว็บทำความรู้ (Knowledge Portal) บนเว็บไซต์ของหน่วยงานเพื่อดูแลอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการในสังกัด และผู้ที่สนใจทั่วไปได้รับความกระจ่างในความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ/ผู้มี ประสบการณ์ด้านเนื้อหาที่ต้องการทราบผ่านการตั้งกระทู้ซักถาม และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์ความรู้ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง ต่อเนื่อง นับเป็นการพัฒนาช่องทางเพื่อการแลกเปลี่ยนถ่ายเทความรู้ผ่านระบบเทคโนโลยี สารสนเทศสถานที่และเวลาที่เป็นปัจจุบัน                   
          5. จัดทำสารคดีสั้นเสียงตามสาย ในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของข้าราชการในสังกัดในช่วงเช้าและเที่ยงของ ทุก ๆ วันเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างสารคดีสั้นเสียงตามสาย เช่น 1) การมองภาพองค์รวม 2) การสร้างวัฒนธรรมส่วนราชการไปสู่การเป็นองค์การเอื้อการเรียนรู้ 3) แนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 4) วินัยและการรักษาวินัย
          6. จัดทำสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Computer Assisted Instruction: CAI) เพื่อให้ผู้บริหาร ข้าราชการ ทุกกลุ่ม และทุกระดับ สามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลาตามอัธยาศัย โดยจัดทำในรูปของซีดีรอมที่สามารถโต้ตอบกับผู้เรียน (Interactive CD-ROM) องค์ความรู้ดังกล่าวได้แก่
          6.1 ความรู้ด้านพัฒนาสมรรถนะศักยภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
          6.2 ความรู้เพื่อการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์
          6.3 ความรู้เพื่อการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองดี                       
CAI ชุดนี้ได้ทำการผลิตและแจกจ่ายให้กับผู้บริหารทุกคน ทุกระดับของกรม กลุ่มงานทุกกลุ่ม เพื่อให้บุคลากร ทุกคนทุกระดับสามารถศึกษา เรียนรู้ ด้วยตนเอง ตามความสะดวก นอกจากนี้ยังสามารถเข้าทดสอบความรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน ภายหลังศึกษาความรู้จาก CAI ได้ด้วย
          7. กลวิธีและสื่อในการสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์ ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มบุคคลทุกกลุ่มอย่างรอบด้าน ยังมีความจำเป็นที่จะต้องขยายช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้แลกเปลี่ยน ข้อมูลเสนอ ผลงาน ฯลฯ เพิ่มมากขึ้น และมีกิจกรรมรองรับอย่างต่อเนื่อง เช่น มีการทำจดหมายข่าว จุลสาร มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีมุมกาแฟสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้โดยอิสระ ลดรูปแบบใด ๆ ที่เป็นทางการ เพื่อให้มีบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นกันเองมากที่สุด
ผลการดำเนินการ
  1. ดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาโครงการการพัฒนาส่วนราชการให้เป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้และการจัดการองค์ความรู้ในส่วนราชการในวันที่ 20 มิถุนายน 2548
  2. จัดบรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้องค์การแห่งการเรียนรู้ใน ลักษณะ Overview ให้ผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารในส่วนราชการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 6 ครั้งมีผู้เข้าอบรมรวมทั้งสิ้น 2,638 คน
  3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ให้ผู้บริหาร คณะทำงานการจัดการความรู้ ของส่วนราชการและมหาวิทยาลัย จำนวน 13 ครั้งมีผู้เข้าอบรมรวมทั้งสิ้น 804 คน
  4. คัดเลือกองค์กรต้นแบบในการจัดการความรู้จากกลุ่มกระทรวง และกลุ่มจังหวัด กลุ่มละ 1 หน่วยงาน
    โดย ทั้ง 2 หน่วยงานจะได้รับการดูแล และได้รับคำปรึกษาแนะนำจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติที่ปรึกษาโครงการ ทางด้านความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการจัดการความรู้ เรื่อง Behavior Change และ Community of Practice เพื่อองค์กรต้นแบบสามารถนำรูปแบบที่กำหนดไว้มาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้ ผลการคัดเลือกองค์กรต้นแบบพบว่า กลุ่มกระทรวงระดับกรม ได้แก่ กรมศุลกากร และกลุ่มจังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี
  5. ให้คำปรึกษาแนะนำผ่านระบบ  Call Center ทาง E-mailตั้งแต่เดือน สิงหาคม2548 – มีนาคม 2549
  6. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เรื่องการจัดทำแผนการจัดการความรู้และการพัฒนา นวัตกรรมการเรียนของส่วนราชการและจังหวัด ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อ จำนวน 6 ครั้งมีผู้เข้าอบรมรวมทั้งสิ้น 641 คน
5. การดำเนินการในระยะต่อไป
การจัดการความรู้จะดำเนินการต่อไปในปีงบประมาณ 2550 โดย
  1. จัดทำแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธ์ศาสตร์ของส่วนราชการ
  2. ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในองค์การ เป็นการกระตุ้นให้บุคคลในองค์การแสวงหา ถ่ายทอดองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน
6. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินการ
  1. ผู้เป็นทีมงานการจัดการความรู้บางท่านไม่ได้เข้ารับการอบรมความรู้เรื่องการจัดการความรู้องค์การแห่ง
    การ เรียนรู้ในลักษณะ Overview และการจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติซึ่งเป็นหลักสูตรเบื้องต้น เนื่องจากไม่ได้ถูกวางตัวให้รับผิดชอบโครงการการจัดการความรู้ตั้งแต่ต้นทำ ให้เกิดการสับสน และไม่เข้าใจพื้นฐานและแนวทางการดำเนินงานต่อ
  2. หน่วยงานระดับจังหวัดมีส่วนราชการเข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมาก หลายส่วนราชการขาดความรู้ความเข้าใจ มีงานประจำมาก และขาดความพร้อมในการเข้าร่วมประชุมทำให้การกำหนดและการเลือกขอบเขตในการทำ โครงการการจัดการความรู้จึงค่อนข้างยาก มีผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมของทั้งองค์กร ซึ่งเป็นผลทำให้ได้ผลงานไม่ดีเท่าที่ควร

30 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 กำหนดว่าส่วนราชการต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาความรู้เพื่อให้มีลักษณะเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ  โดยมีแนวทางปฏิบัติ ได้แก่  การสร้างระบบให้สามารถรับรู้ข่าวสารให้กว้างขวาง  ประมวลผลความรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้ถูกต้องรวดเร็ว  ส่งเสริมและพัฒนาความรู้  ความสามารถให้ข้าราชการเป็นผู้มีความรู้ในวิชาการสมัยใหม่  สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีคุณธรรม  ตลอดจนสร้างวัฒธรรมการมีส่วนร่วมในหมู่ข้าราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียน รู้ซึ่งกันและกัน  เพื่อนำมาพัฒนาการปฏิบัติราชการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบมาก ยิ่งขึ้นและปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารเป็นแบบมุ่งเน้นผลงานที่มีการวางเป้า หมายการทำงานรวมทั้งการกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผล และในท้ายที่สุดจะสามารถนำมาสู่การตอบคำถามว่าประชาชนจะได้รับอะไรจากการทำ งานของข้าราชการ
31 การจัดการความรู้ในองค์กร หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในทุกส่วนในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัว บุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้ง ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด  โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1. ความรู้เฉพาะตัว หรือความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางคนจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม   2. ความรู้ทั่วไป หรือความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม


การพัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากรภาครัฐได้เน้นกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง หรือกรณีศึกษา ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประชุมชี้แจง ประชุมสัมมนาทางวิชาการการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

        1) การสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีการสัมมนาปีละ 3 - 4 ครั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปี พ.ศ. 2553 เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์โดย เชิญผู้บริหารทั้งจากภาคเอกชนภาคประชาชน และภาคราชการมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบราชการให้เกิดเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมและมีมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกันอย่าง มีประสิทธิภาพ อาทิเช่น

        การเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนคุณภาพการให้บริการประชาชนใน ส่วนของการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมในระบบราชการ การปรับปรุงกระบวนการทำงานการให้บริการประชาชน การบริหารงานภาครัฐในระบบเครือข่าย การพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน การจัดการความรู้ในจังหวัด การปรับเปลี่ยนและสร้างวัฒนธรรมองค์กรของหน่วยงานภาครัฐ การประเมินเพื่อจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลัก  ธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ทำอย่างไรไปให้ถึงฝันและภาครัฐไทยเลื่องชื่อไกลสู่สากล : รางวัล United Nations Public Service Awards การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดและการบริหาร ราชการแบบมีส่วนร่วม สู่ความเป็นเลิศในขณะเดียวกันมีการจัดประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน นักปฏิบัติเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดในการสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้งในเรื่อง การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐานตามระบบ GAP และการพัฒนาองค์กรเพื่อขอรับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนในการสัมมนาผู้ สนใจจากส่วนราชการและจังหวัดที่ไม่ได้เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาดังกล่าว สามารถรับชมผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.ร.ได้ที่ www.opdc.go.th พร้อมกันนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการผลิตสื่อเครื่องมือในการบริหารประกอบ การจัดการความรู้เพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ให้กับส่วนราชการและจังหวัดได้นำไปศึกษาเพิ่มเติมด้วย

        2) การปรับกระบวนทัศน์ผู้บริหารระดับกลาง (การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์)
สืบ เนื่องจากสำนักงาน ก.พ.ร. และกระทรวงมหาดไทย โดยความร่วมมือทางวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการบริหารงานภาครัฐสมัยใหม่สำหรับผู้บริหารระดับ กลางในส่วนภูมิภาค ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์  โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งการเรียนในภาคทฤษฎีนั้นได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 โดยสำนักงาน ก.พร. ได้จัดทำเครือข่ายชุมชนออนไลน์ Facebook Fan Page: “เห็นร่วมกัน เรียนรู้ด้วยกัน เพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริ สู่ประโยชน์เป็นรูปธรรม” ขยายผลการบริหารงานภาครัฐสมัยใหม่สำหรับผู้บริหารระดับกลางในส่วนภูมิภาค

        จากผู้เข้าเรียนในหลักสูตรฯ จำนวน 1,533 คน  มีผู้สำเร็จการศึกษาในภาคทฤษฎี จำนวน 569 ราย และจากกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษานี้ มีข้าราชการผู้ที่มีความพร้อม และสนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมผ่าน ระบบการลงทะเบียนออนไลน์ ทั้งสิ้น จำนวน 293 ราย รวม 9 รุ่น ๆ ละ 25 - 45 คน (ระยะเวลาร่วมกิจกรรม รุ่นละ 3 วัน 2 คืน) แบบเข้มข้น โดยศูนย์การเรียนรู้และเผยแพร่การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน โครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

        โดยเริ่มศึกษาดูงาน และประชุมเชิงปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน - 24 กรกฎาคม 2553 เป็นการจัดกิจกรรม จากผลสำเร็จของการพัฒนาโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีหลักการ หลักคิด วิธีการ และรูปแบบการพัฒนาที่บังเกิดผลเป็นรูปธรรม เป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล เพื่อเป็นการขยายผลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกพื้นที่ของประเทศ ผู้บริหารระดับกลางในส่วนภูมิภาคจึงเป็นกลไกสำคัญในการขยายผลการพัฒนา ดังกล่าวผ่านกิจกรรมการเรียนรู้จริง จากหลักการที่นำไปปฏิบัติได้จริง



        พร้อมกันนี้ เครือข่ายชุมชนออนไลน์ Facebook Fan Page: “เห็นร่วมกัน เรียนรู้ด้วยกัน เพื่อน้อมนำ แนวพระราชดำริ สู่ประโยชน์เป็นรูปธรรม” จะเป็นช่องทางเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่าย ในการติดตามผลการนำประสบการณ์ไปปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ต่อไป และจะสนับสนุนและสร้างประสบการณ์ตรงด้านการพัฒนาระบบราชการให้แก่ข้าราชการ กลุ่มเป้าหมายและเป็นการขยายผลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม เพื่อเป้าหมายสูงสุด นั่นคือ “ประโยชน์สุขของประชาชน”

        การเรียนรู้ผู่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ความร่วมเป็นเครือข่ายเพิ่มขีดสมรรถนะระบบราชการ
        1) ระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร. กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)และสถาบันอุดมศึกษา ตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ    e-Learning เพื่อสร้างโอกาสทางด้านการศึกษาและการพัฒนาตนเองของข้าราชการและ
บุคคล ทั่วไป และสร้างสังคมของการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกภาคส่วน ที่ไม่จำกัดเวลา สถานที่ และไม่เสียค่าใช้จ่ายในปี พ.ศ. 2552 มีหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จำนวน 3 หลักสูตร หลักสูตร mini MPM(Modern Public Management) และ mini MBA (Modern Business Administration) หลักสูตรการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม) และการสอนตามรายลักษณะวิชาอีก 5 วิชา (High Performance organization,Knowledge Management, Balanced Scoredcard,Change Management และ Individual Scorcard) เมื่อสำเร็จการศึกษารายวิชาหรือหลักสูตรสามารถโอนถ่ายไปเป็นส่วนหนึ่งของการ ศึกษาระดับปริญญาโทในสถาบันการศึกษาที่ได้มีข้อตกลงไว้กับสำนักงานก.พ.ร. ซึ่งผู้ที่สนใจสมัครและเข้าเรียนผ่านทางเว็บไซต์ www.opdcacademy.com

        2) จากการดำเนินการที่ผ่านมาโครงการนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั้งข้า ราชการและประชาชนทั่วไป สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้มีการดูแลรักษาระบบการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีความต่อ เนื่อง และมีการผลิตสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยทันต่อสถานการณ์มีรูปแบบที่น่าสนใจ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง เพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2553 ได้เพิ่มบริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบ ราชการชุดใหม่ รวม 3 วิชาประกอบด้วย วิชาการตลาดสำหรับภาครัฐ (Marketing in Public Sector) วิชาการบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่าย (Governing by Network) และวิชาความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR -Corporate Social Responsibility) นอกจากนี้ได้เพิ่มการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง website http://www.opdcacademy.com จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการบริหารจัดการภาครัฐ  สมัยใหม่ (mini Modern Public Management: miniMPM) จำนวน 10 ชุดวิชา หลักสูตรการบริหารจัดการ  ธุรกิจแนวใหม่: mini MBA (mini Modern Business  Administration: mini MBA) จำนวน 10 หมวด และหลักสูตรการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance) นอกจากนี้ยังมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบ ราชการ อีกรวม  5 ชุดวิชา ประกอบด้วยชุดวิชาเครื่องมือในการบริหารงานสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง(High Performance  Organization) ชุดวิชาการจัดการความรู้ (Knowledge  Management) ชุดวิชาการวัดผลแบบสมดุลและ ตัวชี้วัดที่สำคัญ (Balanced Scorecard & Key Performance Indicators) ชุดวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) และชุดวิชาการ  กำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล (Individual Scorecard) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนเพื่อเป็นประโยชน์ แก่ผู้เรียนได้มีแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนได้มีแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม ได้จัดทำ Web link จากสถาบันการศึกษาและเว็บไซต์ที่ให้ความรู้ครอบคลุมสาขาวิชารัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และการบริหาร อีกด้วย

        3) บุคลากรภาครัฐได้รับการพัฒนาขีดสมรรถนะจากการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อ เนื่องโดยรับบริการการเรียนการสอนผ่านทาง เว็บไซต์ : http://www.opdcacademy.com (ตารางที่ 2.2-8)  ปัจจุบันมีข้าราชการและประชาชนทั่วไปสมัครใช้บริการทั้งสิ้น16 28,906 ราย โดยผู้สมัครร้อยละ 96 มาจากส่วนราชการ ส่วนที่เหลือร้อยละ 7 หรือ 2,041 รายมาจากภาคเอกชน17 โดยมีผู้สนใจเข้าเรียนสมัครเข้าใช้บริการโดยเฉลี่ย 187 รายต่อเดือน



        ผู้สมัครเข้าเรียนในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถเข้าเรียนวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในโครงการฯ ได้ทั้งหมด ตามความสนใจของผู้เรียน ปัจจุบันโครงการฯ ให้บริการเนื้อหาวิชาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มีรวมทั้งสิ้น 22 หลักสูตร มากกว่า 100 บทเรียนย่อย มีผู้สมัครเข้าเรียนหลักสูตรต่าง ๆ ตามความสนใจ (ภาพที่ 2.2-14)



        4) จากการเรียนในโครงการดังกล่าว ที่ผ่านมาตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2552 มีการเรียนการสอนในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถแสดงจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ในแต่ละหลักสูตร มีผู้จบรายวิชาย่อยในหลักสูตรการบริหารจัดการธุรกิจแนวใหม่
มากที่สุด จำนวน 64,373 ราย คิดเป็นร้อยละ 80 ของทั้งหมด (หลักสูตรนี้มี 50 บทเรียนย่อย) ลำดับถัดมา&n

        การพัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากรภาครัฐได้เน้นกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง หรือกรณีศึกษา ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประชุมชี้แจง ประชุมสัมมนาทางวิชาการการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

        1) การสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีการสัมมนาปีละ 3 - 4 ครั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปี พ.ศ. 2553 เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์โดย เชิญผู้บริหารทั้งจากภาคเอกชนภาคประชาชน และภาคราชการมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบราชการให้เกิดเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมและมีมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกันอย่าง มีประสิทธิภาพ อาทิเช่น

        การเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนคุณภาพการให้บริการประชาชนใน ส่วนของการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมในระบบราชการ การปรับปรุงกระบวนการทำงานการให้บริการประชาชน การบริหารงานภาครัฐในระบบเครือข่าย การพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน การจัดการความรู้ในจังหวัด การปรับเปลี่ยนและสร้างวัฒนธรรมองค์กรของหน่วยงานภาครัฐ การประเมินเพื่อจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลัก  ธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ทำอย่างไรไปให้ถึงฝันและภาครัฐไทยเลื่องชื่อไกลสู่สากล : รางวัล United Nations Public Service Awards การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดและการบริหาร ราชการแบบมีส่วนร่วม สู่ความเป็นเลิศในขณะเดียวกันมีการจัดประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน นักปฏิบัติเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดในการสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้งในเรื่อง การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐานตามระบบ GAP และการพัฒนาองค์กรเพื่อขอรับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนในการสัมมนาผู้ สนใจจากส่วนราชการและจังหวัดที่ไม่ได้เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาดังกล่าว สามารถรับชมผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.ร.ได้ที่ www.opdc.go.th พร้อมกันนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการผลิตสื่อเครื่องมือในการบริหารประกอบ การจัดการความรู้เพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ให้กับส่วนราชการและจังหวัดได้นำไปศึกษาเพิ่มเติมด้วย

        2) การปรับกระบวนทัศน์ผู้บริหารระดับกลาง (การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์)
สืบ เนื่องจากสำนักงาน ก.พ.ร. และกระทรวงมหาดไทย โดยความร่วมมือทางวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการบริหารงานภาครัฐสมัยใหม่สำหรับผู้บริหารระดับ กลางในส่วนภูมิภาค ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์  โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งการเรียนในภาคทฤษฎีนั้นได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 โดยสำนักงาน ก.พร. ได้จัดทำเครือข่ายชุมชนออนไลน์ Facebook Fan Page: “เห็นร่วมกัน เรียนรู้ด้วยกัน เพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริ สู่ประโยชน์เป็นรูปธรรม” ขยายผลการบริหารงานภาครัฐสมัยใหม่สำหรับผู้บริหารระดับกลางในส่วนภูมิภาค

        จากผู้เข้าเรียนในหลักสูตรฯ จำนวน 1,533 คน  มีผู้สำเร็จการศึกษาในภาคทฤษฎี จำนวน 569 ราย และจากกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษานี้ มีข้าราชการผู้ที่มีความพร้อม และสนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมผ่าน ระบบการลงทะเบียนออนไลน์ ทั้งสิ้น จำนวน 293 ราย รวม 9 รุ่น ๆ ละ 25 - 45 คน (ระยะเวลาร่วมกิจกรรม รุ่นละ 3 วัน 2 คืน) แบบเข้มข้น โดยศูนย์การเรียนรู้และเผยแพร่การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน โครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

        โดยเริ่มศึกษาดูงาน และประชุมเชิงปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน - 24 กรกฎาคม 2553 เป็นการจัดกิจกรรม จากผลสำเร็จของการพัฒนาโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีหลักการ หลักคิด วิธีการ และรูปแบบการพัฒนาที่บังเกิดผลเป็นรูปธรรม เป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล เพื่อเป็นการขยายผลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกพื้นที่ของประเทศ ผู้บริหารระดับกลางในส่วนภูมิภาคจึงเป็นกลไกสำคัญในการขยายผลการพัฒนา ดังกล่าวผ่านกิจกรรมการเรียนรู้จริง จากหลักการที่นำไปปฏิบัติได้จริง




        พร้อมกันนี้ เครือข่ายชุมชนออนไลน์ Facebook Fan Page: “เห็นร่วมกัน เรียนรู้ด้วยกัน เพื่อน้อมนำ แนวพระราชดำริ สู่ประโยชน์เป็นรูปธรรม” จะเป็นช่องทางเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่าย ในการติดตามผลการนำประสบการณ์ไปปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ต่อไป และจะสนับสนุนและสร้างประสบการณ์ตรงด้านการพัฒนาระบบราชการให้แก่ข้าราชการ กลุ่มเป้าหมายและเป็นการขยายผลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม เพื่อเป้าหมายสูงสุด นั่นคือ “ประโยชน์สุขของประชาชน”

        การเรียนรู้ผู่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ความร่วมเป็นเครือข่ายเพิ่มขีดสมรรถนะระบบราชการ
        1) ระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร. กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)และสถาบันอุดมศึกษา ตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ    e-Learning เพื่อสร้างโอกาสทางด้านการศึกษาและการพัฒนาตนเองของข้าราชการและ
บุคคล ทั่วไป และสร้างสังคมของการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกภาคส่วน ที่ไม่จำกัดเวลา สถานที่ และไม่เสียค่าใช้จ่ายในปี พ.ศ. 2552 มีหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จำนวน 3 หลักสูตร หลักสูตร mini MPM(Modern Public Management) และ mini MBA (Modern Business Administration) หลักสูตรการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม) และการสอนตามรายลักษณะวิชาอีก 5 วิชา (High Performance organization,Knowledge Management, Balanced Scoredcard,Change Management และ Individual Scorcard) เมื่อสำเร็จการศึกษารายวิชาหรือหลักสูตรสามารถโอนถ่ายไปเป็นส่วนหนึ่งของการ ศึกษาระดับปริญญาโทในสถาบันการศึกษาที่ได้มีข้อตกลงไว้กับสำนักงานก.พ.ร. ซึ่งผู้ที่สนใจสมัครและเข้าเรียนผ่านทางเว็บไซต์ www.opdcacademy.com

        2) จากการดำเนินการที่ผ่านมาโครงการนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั้งข้า ราชการและประชาชนทั่วไป สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้มีการดูแลรักษาระบบการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีความต่อ เนื่อง และมีการผลิตสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยทันต่อสถานการณ์มีรูปแบบที่น่าสนใจ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง เพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2553 ได้เพิ่มบริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบ ราชการชุดใหม่ รวม 3 วิชาประกอบด้วย วิชาการตลาดสำหรับภาครัฐ (Marketing in Public Sector) วิชาการบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่าย (Governing by Network) และวิชาความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR -Corporate Social Responsibility) นอกจากนี้ได้เพิ่มการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง website http://www.opdcacademy.com จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการบริหารจัดการภาครัฐ  สมัยใหม่ (mini Modern Public Management: miniMPM) จำนวน 10 ชุดวิชา หลักสูตรการบริหารจัดการ  ธุรกิจแนวใหม่: mini MBA (mini Modern Business  Administration: mini MBA) จำนวน 10 หมวด และหลักสูตรการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance) นอกจากนี้ยังมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบ ราชการ อีกรวม  5 ชุดวิชา ประกอบด้วยชุดวิชาเครื่องมือในการบริหารงานสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง(High Performance  Organization) ชุดวิชาการจัดการความรู้ (Knowledge  Management) ชุดวิชาการวัดผลแบบสมดุลและ ตัวชี้วัดที่สำคัญ (Balanced Scorecard & Key Performance Indicators) ชุดวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) และชุดวิชาการ  กำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล (Individual Scorecard) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนเพื่อเป็นประโยชน์ แก่ผู้เรียนได้มีแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนได้มีแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม ได้จัดทำ Web link จากสถาบันการศึกษาและเว็บไซต์ที่ให้ความรู้ครอบคลุมสาขาวิชารัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และการบริหาร อีกด้วย

        3) บุคลากรภาครัฐได้รับการพัฒนาขีดสมรรถนะจากการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อ เนื่องโดยรับบริการการเรียนการสอนผ่านทาง เว็บไซต์ : http://www.opdcacademy.com (ตารางที่ 2.2-8)  ปัจจุบันมีข้าราชการและประชาชนทั่วไปสมัครใช้บริการทั้งสิ้น16 28,906 ราย โดยผู้สมัครร้อยละ 96 มาจากส่วนราชการ ส่วนที่เหลือร้อยละ 7 หรือ 2,041 รายมาจากภาคเอกชน17 โดยมีผู้สนใจเข้าเรียนสมัครเข้าใช้บริการโดยเฉลี่ย 187 รายต่อเดือน




        ผู้สมัครเข้าเรียนในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถเข้าเรียนวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในโครงการฯ ได้ทั้งหมด ตามความสนใจของผู้เรียน ปัจจุบันโครงการฯ ให้บริการเนื้อหาวิชาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มีรวมทั้งสิ้น 22 หลักสูตร มากกว่า 100 บทเรียนย่อย มีผู้สมัครเข้าเรียนหลักสูตรต่าง ๆ ตามความสนใจ (ภาพที่ 2.2-14)



        4) จากการเรียนในโครงการดังกล่าว ที่ผ่านมาตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2552 มีการเรียนการสอนในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถแสดงจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ในแต่ละหลักสูตร มีผู้จบรายวิชาย่อยในหลักสูตรการบริหารจัดการธุรกิจแนวใหม่
มาก ที่สุด จำนวน 64,373 ราย คิดเป็นร้อยละ 80 ของทั้งหมด (หลักสูตรนี้มี 50 บทเรียนย่อย) ลำดับถัดมา  คือหลักสูตรการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่มีผู้จบจำนวน 9,186 ราย (หลักสูตรนี้มี 10 บทเรียนย่อย) คิดเป็นร้อยละ 12 ของทั้งหมด หลักสูตรการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมมีผู้จบจำนวน 4,351 ราย (หลักสูตรนี้มี  31 บทเรียนย่อย) คิดเป็นร้อยละ 6 และผู้จบในวิชาอื่น ๆที่เหลือจำนวน 2,330 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ของทั้งหมด

        ผู้เรียนที่เรียนครบทุกบทเรียนย่อยใน หลักสูตรการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ (mini MPM) หลักสูตรการบริหารจัดการธุรกิจแนวใหม่ (mini MBA) และหลักสูตรการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (PG) โดยผ่านการประเมินผลตามหลักสูตร และได้รับใบประกาศนียบัตรจากโครงการ

        5) ผู้สำเร็จการศึกษาตามโครงการดังกล่าวมีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นถึง ปริญญาโทสาขาต่าง ๆ ตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (เมื่อวันพุธที่22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552) ซึ่งเป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยชั้นนำ โดยมีหลักสูตรที่สามารถต่อยอดได้ตามข้อตกลงของแต่ละมหาวิมทยาลัย (ตารางที่ 2.2-9)







         การพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ เพื่อสร้างให้เป็นผู้บุกเบิกหรือสร้างนวัตกรรมในการขับเคลื่อนการพัฒนา ประเทศ โดยการคัดเลือกจากบุคคลทั่วไปและข้าราชการเข้ารับการพัฒนาให้เป็นนักคิดที่ มีวิสัยทัศน์ เป็นนักพัฒนา และนักปฏิบัติที่มีดุลยภาพและคุณภาพ พร้อมที่จะนำการเปลี่ยนแปลงในภาคราชการ และขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์ และ
แผน งานโครงการให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2547และวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ให้ดำเนินโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่จำนวน 2 รุ่น 21  และเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ดำเนินโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ ต่อไป โดยดำเนินการปีละ 1 รุ่น ซึ่งรุ่นที่ 3 เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 มีผู้เข้าร่วมโครงการ รวม 49 คน และอยู่ระหว่างการโอนไปปฏิบัติราชการตามส่วนราชการต่าง ๆ สำหรับรุ่นที่ 4 ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 35 คน ซึ่งจะได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรที่ ก.พ.ร. กำหนด 22 เดือน (ภาพที่ 2.2-15)



16 ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553 (ปัจจุบันมีผู้สมัครจำนวน 30,125 คน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554)
17 ภาคเอกชนคือผู้สมัครที่นอกเหนือจากส่วนราชการที่ได้ระบุไว้ ทั้งนี้หากไม่นับผู้สมัครจากกระทรวงการคลังแล้ว จะมีผู้สมัครร้อยละ 12 จากผู้สมัครทั้งหมด 
18 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Master of Business Administrative: M.B.A.)
19 หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการจัดการความรู้ (Master of Science in Knowledge Management: M.S.(KM))
20 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Public Administration: M.P.A.)
21 รุ่นที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550 มีผู้ผ่านโครงการจำนวน 39 คน และปัจจุบันได้รับการบรรจุแต่งตั้งในหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์เรียบร้อยแล้ว รุ่นที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2551 มีผู้ผ่านโครงการจำนวน 39 คน และขณะนี้ส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งในหน่วยงานต่าง ๆ แล้วเช่นเดียวกัน

No comments:

Post a Comment

like