กด Like กด Share ใน facebook กับการจัดการเรียนการสอนเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) สร้างพฤติกรรมการเรียนรู้
เช้าวันใหม่ วันดี อีกหนึ่งวัน ที่ผ่านผัน รวดเร็ว เหมือนความฝันที่ท้าทาย ที่สดใส กว่าเมื่อวาน และเป็นฝัน อีกวัน ที่ก้าวเดิน
เมื่อวานหลังจากกลับมาจากอบรมปฐมนิเทศครูใหม่ แบตยังเต็มไฟยังแรงนั่งเขียนแผนการสอนต่อ แต่ยังไม่เสร็จ (เป็นอย่างนี้ตลอด พอท้ายๆ สมองจะวิ่งเข้า Youtube) ถ้าเขียนเอาให้เสร็จคงเสร็จไปแล้วนะครับ ก๊อบวางไม่ไช่เรื่องยากแต่ที่อยากปั้นแต่งกับแผนนี้นานๆหน่อยเพราะว่าแผนแรกสำคัญมากขั้นตอนบางอย่างเริ่มต้นจากตรงนี้ ผมอยากออกแบบแผนการสอนที่นำทฤษฎีต่างๆมาประยุกต์ใช้ และตอบโจทย์บริบททางการศึกษาหลายๆด้านเช่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมวัฒนธรรม คุณธรรม และสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการเรียนรู้ซึ่งตัวสุดท้ายนี้สำคัญมาก และยังต้องการใช้ Social Media และ Social Network อย่างเช่น Facebook และ Youtube เข้ามาร่วมกับการสอนในชั้นเรียน ให้ส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เป็นแบบการศึกษาตามอัฒยาศัย( Informal Education) สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา Any one - Any where - Any Where ที่เขียนเอาไว้แบบสวยหรู แต่ผมอยากให้เป็นความจริงที่สุด ไม่ไช่เป็นแค่ฝัน แต่พอมองเห็นแนวโน้มที่กำลังมาพร้อม 3G และ Tablet ที่ราคาต้นทุนถูกลงจนขยับเข้ามาใกล้ความเป็นจริงทุกวัน แต่วันนี้แผนการสอนที่ผมใช้ยังไม่สมบูรณ์พร้อมที่จะรองรับบริบททางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้ อุปกรณ์ สื่อการสอน และอินเตอร์เน็ตก็ยังใช้งานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ มีงานที่ต้องเครียร์อีกหลายอย่าง ถ้ารอให้ครบร้อยแล้วค่อยทำ เกิดอีกสามรอบก็คงไม่ได้ทำ สรุปว่า ทำที่มีให้เต็มที่ ดีกว่านะครับ
เมื่อวานหลังจากรวบรวมข้อมูลและเขียนบล๊อกกันลืมไว้ที่ การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551
เช้าวันนี้มาต่ออีกสักนิดครับกับหัวข้อในวันนี้ กด Like กด Share ใน facebook กับการจัดการเรียนการสอนเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) สร้างพฤติกรรมการเรียนรู้ วันนี้เสร็จไปแล้วหลายหัวข้อแต่ยังเหลือตอนท้ายที่สำคัญคือการวัดและประเมินผล ซึ่งปกติ วัด ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า แต่มีความท้ายทายนิดหน่อยตรงที่ จะทำให้มันเป็น กึ่งๆ การศึกษาตามอัฒยาศัย( Informal Education) ผสมกับ Social Media และ Social Network ตอบโจทย์ การศึกษาในทศวรรษที่ 21 พร้อมกัยการจัดการความรู้ (KM) เพื่อนำไปใช้ในการทำ IS ถ้าทำได้สมบูรณ์แบบตามที่เขียนไว้ผมจะมีความสุขเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
แผนที่ออกแบบไว้คร่าวๆครับ
ใครว่างช่วยเขียนด้วยนะครับ
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับการเรียนการสอน
การเสริมแรง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเสริมแรง (อังกฤษ: Reinforcement) คือการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากผลกรรมที่ตามหลังพฤติกรรมนั้นเนื้อหา |
ประเภทของการเสริมแรง
ประเภทของการเสริมแรง
- การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งของ คำพูด หรือสภาพการณ์ที่จะช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นอีก หรือสิ่งทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นไปได้ของการเกิดพฤติกรรม
- การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง
การเปลี่ยนสภาพการณ์หรือเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็อาจจะทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรม
ได้ การเสริมแรงทางลบเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมใน 2 ลักษณะคือ
- พฤติกรรมหลีกหนี (Escape Behavior)
- พฤติกรรมหลีกเลี่ยง (Avoidance Beh.)
หลักการและแนวคิดที่สำคัญของการเสริมแรง
- การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการเสริมแรง การเสริมแรงทางบวกจะดีกว่าทางลบ
- การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
- การเสริมแรงมีหลายวิธี อาจใช้วัตถุสิ่งของ หรือถ้อยคำที่แสดงความรู้สึกก็ได้ ที่สามารถสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ความพึงพอใจให้เกิดความสำเร็จหรือเครื่อง บอกผลการกระทำว่าถูกผิด และอาจเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเสริมแรงต่อๆ ไป
- การเสริมแรงควรจะต้องให้สม่ำเสมอ นอกจากนั้นหลักการเสริมแรงยังทำให้สามารถปรับพฤติกรรมได้
- ควรจะให้การเสริมแรงทันที ที่มีการตอบสนองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งควรจะเกิดขึ้นภายใน ประมาณ 10 วินาที ถ้าหากมีการตอบสนองที่ต้องการซ้ำหลายครั้งๆ ก็ควรเลือกให้มีการเสริมแรงเป็นบางคราว แทนที่จะเสริมแรงทุกครั้งไป
- ควรจะจัดกิจกรรมการเรียนให้เป็นไปตามลำดับจากง่ายไปยาก และเป็นตอนสั้นๆ ที่สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน
- การเสริมแรงทุกครั้ง คือการให้แรงเสริมแก่บุคคลเป้าหมายที่แสดงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ทุกครั้ง
- การเสริมแรงเป็นครั้งคราว คือไม่ต้องให้แรงเสริมทุกครั้งที่บุคคลเป้าหมายแสดงพฤติกรรม
สรุปแนวคิดที่สำคัญ
สรุปแนวคิดที่สำคัญของนักจิตวิทยาการศึกษา ดังนี้- ธอร์นไดค์ (Thorndike) ให้ข้อสรุปว่า การเสริมแรง จะช่วยให้เกิดความกระหายใคร่รู้เกิดความพอใจ และนำไปสู่ความสำเร็จ
- สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า "การเสริมแรง จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมซ้ำ และพฤติกรรมของบุคคลส่วนใหญ่ จะเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติ (Operant Learning) และพยายามเน้นว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ ของบุคคล สิ่งเร้านั้นจะต้องมีสิ่งเสริมแรงอยู่ในตัว หากลดสิ่งเสริมแรงลงเมื่อใด การตอบสนองจะลดลงเมื่อนั้น"
- กัทธรี (Grthrie) เชื่อว่าการเรียนรู้ จะเป็นผลมาจากสิ่งเร้าและการตอบสนองซึ่งเมื่อเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน สิ่งเร้าทุกอย่างย่อมจะมีลักษณะที่เร้า และก่อให้เกิดพฤติกรรมได้ทั้งหมด ดังนั้นการเสริมแรงไม่จำเป็นต้องนำมาใช้สำหรับการตอบสนอง
- ฮัล (Hull) เชื่อว่า การเสริมแรงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ม่มีการเรียนใดๆ ที่มีความสมบูรณ์ การเรียนรู้เป็นลักษณะของการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จะค่อยๆ สะสมขึ้นเรื่อยๆ การเสริมแรงทุกครั้งจะทำให้การเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ตารางการเสริมแรง
- การเสริมแรงตามอัตราส่วนที่แน่นอน (Fixed-Ratio (FR))
- การเสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน (Variable-Ratio (VR))
- การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน (Fixed-Interval (FI))
- การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน (Variable-Interval (VI))
วิธีการเสริมแรง
- การเสริมแรงแบบทุกครั้ง เช่น การเสริมแรงเกิดขึ้นทุกครั้งที่เด็ก ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
- การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น การเสริมแรงทุกๆ 1 ชั่วโมงหลังจากทำพฤติกรรมไปแล้ว
- การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน เช่น บางทีก็ให้เสริมแรง 1 ชั่วโมง บางทีก็ให้เสริมแรง 2 ชั่วโมง
- ครั้งที่แน่นอน เช่น แสดงพฤติกรรมออกกำลังกาย 3 ครั้ง ให้การเสริมแรง 1 ครั้ง
- การเสริมแรงตามจำนวนครั้งที่ไม่แน่นอนหรือแบบสุ่ม (Random) คือ บางครั้งก็ให้การเสริมแรง บางครั้งก็ไม่ให้การเสริมแรง
No comments:
Post a Comment