โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Saturday, July 28, 2012

การจัดการความรู้ในสถานศึกษาโดยใช้ Social Media

สวัสดีครับวันนี้เช้าๆก่อนที่จะเดินทางไปพิษณุโลก  นั่ง Search การจัดการความรู้ในโรงเรียน เพื่อนำมารวบรวมไว้สำหรับทำสารนิพนธ์  เรื่อง "การจัดการความรู้ในสถานศึกษาโดยใช้ Social Media"  ซึ่งการค้นคว้าในเช้าวันนี้ก็ทำให้ผมได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย วันนี้ขอนำมาแชร์นะครับ  เผื่อมีประโยชน์กับงานวิชาการของเพื่อนๆที่เข้ามาอ่านบล็อกของผม 


นฤมล พฤกษศิลป์ และพัชรา หาญเจริญกิจ (2543: 66) อธิบายว่ากระบวนการหรือขั้นตอนการพัฒนา Knowledge Management ประกอบด้วย
1. การจัดหาหรือการสร้างความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
2. การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Organization Storage)
3. การเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution)
4. การใช้โปรแกรมการจัดการความรู้ (Knowledge Application)

จากที่ได้ศึกษาก็นำมาออกแบบ ให้เหมาะกับการเรียนการสอนของสถานศึกษา Social Media ที่ต้องการนำมาประยุกต์ใช้ครับ

1. การจัดหาหรือการสร้างความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) >> Google ,Youtube,Search Engin
2. การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Organization Storage)  >>  จัดเก็บความรู้ทั้ง online และ offline  เช่น  จัดเก็บแบบ Online ใน Blogger ,Wordpress,Google Docs,Slideshare ,Youtube แบบ Offline เช่น  Word,Powerpoint,Pdf ,คลิปวีดีโอ
3. การเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution)  การเผยแพร่ความรู้ โดย การเผยแพร่ความรู้ ผ่าน Search Engine เช่น Google,Yahoo,Bing   ผ่าน Youtube โดยใช้คลิปวีดีโอ  ผ่านทาง Slideshare  ผ่านทาง Social Network เช่น Facebook ,Twitter ,Hi5  ผ่านทางเว็บบล็อก เช่น Blogger ,wordpress
4. การใช้โปรแกรมการจัดการความรู้ (Knowledge Application)  >>>>>  จริงๆแล้วตัวนี้ผมจะเสนอแบบใหม่ให้เหมาะกับ การจัดการความรู้ในสถานศึกษาโดยใช้ Social Media โดยให้มีการค้นคืนและสืบค้นได้  ตัวนี้ผมอ้างอิงมาจากงานวิจัยของนักวิจัยท่านอื่นอีกที   งานวิจัยชิ้นนี้ สามารถอ้างอิงเรื่องการจัดการความรู้ในสถานศึกษาโดยใช้ Social Media ของผมได้เป็นอย่างดีครับ





ขอขยายต่อสักนิดครับ สำหรับส่วนของการจัดการความรู้ในโรงเรียน

            ความหมาย  การจัดการความรู้ในโรงเรียน
                       “การจัดการความรู้”  ซึ่งประกอบด้วย คำ  คือ ความรู้   และการจัดการ ซึ่งแต่ละคำ
มีความหมายในตัวเอง  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2542 ได้ให้คำนิยามไว้ ดังนี้
        “ความรู้  คือ  สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาล่าเรียน   การค้นคว้าหรือประสบการณ์  รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์   สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน  ได้ฟัง  การคิด หรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา

        “การจัดการ คือ  จัดการ  กสั่งงาน  ควบคุมงาน  ดำเนินงาน

                                นพ.วิจารณ์ พานิช  (อ้างใน http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html#km1)
กล่าวว่า ความรู้  มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์  
พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน        งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2.ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม
ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

                                สำหรับ การจัดการความรู้  (Knowledge Management)  ที่กล่าวถึงในที่นี้
ผู้ทรงคุณวุฒิ   และองค์การต่างๆ ที่ใช้  ได้ให้นิยามของ  การจัดการความรู้ (Knowledge Management)  โดยทั่วไป  ไว้  ดังนี้

Ryoko  Toyama 1 การจัดการเพื่อเอื้อให้เกิดความรู้ใหม่ โดยใช้
ความรู้ที่มีอยู่ ประสบการณ์ของคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่จะทำให้มีความได้เปรียบคู่แข่งขันทางธุรกิจ World  Bank     เป็นการรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์กร และกระบวนการที่เกี่ยวกับการสร้าง การนำมาใช้ และเผยแพร่ความรู้ และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
EFQM 3   เป็นวิธีการจัดการความรู้ เป็นกลยุทธ์ และกระบวนการในการจำแนก
จัดหา และนำความรู้มาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
 ศาสตราจารย์ น..วิจารณ์  พานิช 4                เครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆกัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และบรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่งาน
สำนักงาน ก..กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมวิชาการเกษตร  ศูนย์ปฏิบัติการ
ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี 5 ได้ให้ความหมายของ  KM ไว้ว่า เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร
 
1  2  3  4  อ้างในเอกสาร  การประชุมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำนักจัดการความรู้สำนักงาน       คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 22-26 พฤษภาคม 3550 ณ โรงแรม แกนด์ เดอร์วิลล์  กรุงทพมาหานคร
             5  อ้างในwww.doa.go.th/korporror

No comments:

Post a Comment

like