โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Tuesday, July 24, 2012

WBI (Web-based Instruction) ก่อนจะทิ้งคอมพิวเตอร์เพื่อไปทำภาระกิจ อื่น

วันนี้คาบว่างๆที่ไม่มีสอนนั่งท่องเน็ตเข้าเว็บ เจอเฟสบุค ผอ.เอนก http://anekrati.wordpress.com/    
หลังจากที่คลิกเข้าไปอ่านก็ไม่ผิดหวังได้อะไรดีๆมาเยอะแยะ ลิ้งค์ดีๆก็มีเพียบ พึ่งรู้ว่า วงการการศึกษาได้นำเอา Social Media เข้ามาใช้ร่วมกับการเรียนการสอนแล้ว บริบทการทำงานที่เปลี่ยนจากงานเอกชนที่ใช้ Social Media และ Social Network เพื่อธุระกิจ สร้างแบรนด์หรือเพื่อขายสินค้า เปลี่ยนมาเป็นเพื่อการศึกษา ผมคงต้องหาความรู้เพิ่มอีกมากมาย เพื่อให้เหมาะสมและให้นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  
            วันนี้ผมอ่านเว็บบล็อกของ  ผอ.เอนก http://anekrati.wordpress.com/    
ไปหลายสิบบทความ แต่สดุดศัพท์อยู่ หนึ่งคำ นั่นคือ WBI ซึ่งก่อนหน้านี้ผมไม่เคยรู้จัก  เคยทำแต่ SEM,SEO,Social Network Marketing เจอคำนี้เข้ากลายเป็นของใหม่ไปเลย แต่เพื่อนที่จบด้าน เทคโน และทางคอม  บอกว่า เขามีมานานแล้ว  ผมก็เลยเซ่ออยุ่คนเดียว (เนื่องจากบริบทงานของเราต่างกันผมพึ่งมาเป็นครูไม่ได้ไม่กี่เดือน) แต่น้อมรับแลพร้อมที่จะศึกษาเพิ่มครับ   ใครยังไม่รู้จัก  WBI  มาเริ่มศึกษาพร้อมๆกับผมได้เลยนะครับ ดังด้านล่างนี้ (ก็อปปี้มาอีกทีครับ เครดิต http://student.nu.ac.th/fon/wbi.htm)
 


WBI
                ในปัจจุบันเทคโนโลยีนับว่ามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่าย NETWORK ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน มนุษย์พยายามที่จะใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด จึงได้ทำการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยน และใช้งานข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยผ่านทางสายส่งสัญญาณในระบบ จึงเกิดเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ จุด จนในปัจจุบันกลายเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมองค์กรทั่วโลกที่รู้จักันในนาม อินเทอร์เน็ต (Internet)
                เว็บ(Web) หรือ เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW : World Wide Web) เป็นบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นหลังบริการอื่น ๆ  บนอินเทอร์เน็ต นอกจากจะส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสนทนาผ่านเครือข่ายการอภิปรายผ่านกระดานข่าว การอ่านข่าว การค้นข้อมูล     และการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล
                เว็บ(Web) หมายถึง ข่าวสารข้อมูลในรูปเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ หมายถึง การเชื่อมโยงเอกสารไปยังเอกสารอื่น ๆ ที่อยู่ต่างกัน และไฮเปอร์มีเดีย หมายถึง การรวมไฮเปอร์เท็กซ์และสื่อหลากหลายที่ได้จากการเชื่อมโยงนั้น ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการติดต่อส่งข้อมูลเอกสาร (สรรัชต์  ห่อไพศาล. 2544: 94)


·        ความหมายของ WBI (Web-based Instruction)
                ปัจจุบันมีผู้ให้ความสำคัญและมีการนำเอาเว็บมาใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษา การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ(Web-Based Instruction) นอกจากจะเรียกว่าการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ(Web-Based Learning) เว็บฝึกอบรม (Web-Based Training) อินเทอร์เน็ตฝึกอบรม (Inter-Based Training) และเวิล์ดไวด์เว็บช่วยสอน (WWW-Based Instruction) เป็นต้น  ทั้งนี้ได้มีผู้นิยามและให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) เอาไว้หลายนิยามได้แก่
                กิดานันท์  มลิทอง(2543) ให้ความหมายว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการใช้เว็บในการเรียนการสอนโดยอาจใช้เว็บเพื่อนำเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมดตามหลักสูตร หรือใช้เพียงการเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการสอนก็ได้  รวมทั้งใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะต่าง ๆ ของการสื่อสารที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การเขียนโต้ตอบกันทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และการพูดคุยสดด้วยข้อความและเสียงมาใช้ประกอบด้วย  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
                คาน (Khan,1997)  ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) ว่าเป็นการเรียนการสอนที่อาศัยโปรแกรมไฮเปอร์มีเดียที่ช่วยในการสอนโดยการใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะและทรัพยากรอินเทอร์เน็ต (WWW) มาสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีมากมายตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ในทุกทาง
                คลาร์ก (Clark,1996) ได้ ให้คำจำกัดความของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่าเป็นการเรียนการสอนรายบุคคลที่ นำเสนอโดยการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะหรือส่วนบุคคลและแสดงผลในรูปของ การใช้เว็บบราวเซอร์ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ติดตั้งไว้ได้โดยผ่านเครือข่าย
                สุภาณี  เส็งศรี (2543) ได้ให้ความหมาย WBI  (Web-based Instruction)  คือ บทเรียนที่สร้างขึ้นสำหรับการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยนำจุดเด่นของวิธีการให้บริการข้อมูลแบบ www มาประยุกต์ใช้ Web Base Instruction จึงเป็นบทเรียนประเภท CAI แบบ On-line คำว่า On-line ในที่นี้หมายความว่า ผู้เรียนเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อผ่านเครือข่ายกับเครี่องแม่ข่ายที่บรรจุบทเรียน
จากนิยามและความคิดเห็นของนักวิชาการและนักการศึกษา ทั้งในต่างประเทศและภายใน ประเทศไทยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นสามารถสรุปได้ว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการจัดสภาพการเรียนการสอนที่ได้รับการออกแบบอย่างมีระบบ โดยอาศัยคุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ไวด์เว็บ มาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยอาจจัด เป็น การเรียนการสอนทั้งกระบวนการหรือนำมาใช้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการทั้ง หมดและช่วยขจัดปัญหาอุปสรรคของการเรียนการสอนทางด้านสถานที่และเวลาอีกด้วย
·        ประเภทของ WBI
                การเรียนการสอนผ่านเว็บสามารถทำได้ในหลายลักษณะ โดยแต่ละเนื้อหาของหลักสูตรก็จะมีวิธีการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในประเด็นนี้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ ดังต่อไปนี้
พาร์สัน (Parson อ้างอิงจาก http://www.thaicai.com//articles/wbi5.html) ได้แบ่งประเภทของ WBI ไว้ 3 ลักษณะ คือ
1.                   WBI แบบรายวิชาอย่างเดียว (Stand - Alone Courses) เป็นเว็บรายวิชาที่มีเครื่องมือและแหล่งเข้าไปถึงและเข้าหาได้โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ตอย่างมากที่สุด ถ้าไม่มีการสื่อสารก็สามารถที่จะผ่านระบบคอมพิวเตอร์สื่อสารได้ ลักษณะของเว็บช่วยสอนแบบนี้มีลักษณะเป็นแบบวิทยาเขตมีนักศึกษาจำนวนมากที่เข้ามาใช้จริง เป็นเว็บที่มีการบรรจุ เนื้อหา(Content) หรือเอกสารในรายวิชาเพื่อการสอนเพียงอย่างเดียว มีลักษณะการสื่อสารส่งข้อมูลระยะไกลและมักจะเป็นการสื่อสารทางเดียว
2.       WBI แบบสนับสนุนรายวิชา (Web Supported Courses) เป็นเว็บรายวิชาที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมที่มีการพบปะระหว่างครูกับนักเรียน การสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือ การมีเว็บที่สามารถชี้ตำแหน่งของแหล่งบนพื้นที่ของเว็บไซต์ที่ร่วมกิจกรรมเอาไว้ เป็นการสื่อสารสองทางที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน และมีแหล่งทรัพยากร ทางการศึกษาให้มาก มีการกำหนดงานให้ทำบนเว็บ การกำหนดให้อ่านมีการร่วมกันอภิปราย การตอบคำถามมีการสื่อสารอื่น ๆ ผ่านคอมพิวเตอร์มีกิจกรรมต่าง  ๆ ที่ให้ทำในรายวิชา มีการเชื่อมโยงไปยังแหล่งทรัพยากรอื่น ๆ เป็นต้น
3. WBI แบบศูนย์การศึกษา หรือ เว็บทรัพยากรการศึกษา (Web Pedagogical Resources) เป็นเว็บที่มีรายละเอียดทางการศึกษา การเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่น ๆ เครื่องมือ วัตถุดิบ และรวมรายวิชาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสถาบันการศึกษาไว้ด้วยกัน  และยังรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาไว้บริการทั้งหมดและเป็นแหล่งสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ทางการศึกษา ทั้งทางด้านวิชาการและไม่ใช่วิชาการโดยการใช้สื่อที่หลากหลายรวมถึงการสื่อสารระหว่างบุคคลด้วย

·        ลักษณะของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (WBI)

                การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะการจัดการเรียน ที่ผู้เรียนจะเรียนผ่านจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายเพื่อการศึกษาเนื้อหาบทเรียนจากที่ใดก็ได้ และผู้เรียนแต่ละคนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอนหรือผู้เรียนคนอื่นๆได้ทันทีทันใด เหมือนการเผชิญหน้ากันจริงๆหรือเป็นการส่งข้อความฝากไว้กับบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ในการติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนด้วยกันเองหรือกับผู้สอน
                การเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือการเรียนรู้บนเว็บ กระทำได้หลายลักษณะ เช่นการทำโครงการร่วมกัน การแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันในกระดานข่าว การแสดงความคิดเห็นในกระทู้ทางวิชาการการทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นกลุ่ม การทำโครงงานร่วมกัน เป็นการร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานในเรื่องที่สนใจร่วมกัน นอกจากนี้ วิธีการเรียนรู้บนเว็บมีประสิทธิผล คือ การเรียนรู้ร่วมกันบนเว็บ ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้เรียนทำงานด้วยกันเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มเล็ก เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของงานร่วมกัน ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้อื่นเท่ากับของตนเอง
                การเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยี อะซิงโครนัส (Asynchronous Technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ประกอบด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ ในอินเทอร์เน็ตและเว็บ เช่น กระดานข่าว ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางไกล เครื่องมือเหล่านี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่พร้อมกัน (Asynchronous Learning)  การเรียนไม่พร้อมกันนี้ มีความหมายมากกว่าคำว่า ใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้เพราะเกี่ยวข้องกับการเรียนอย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Learning) และการเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้แหล่งความรู้ที่อยู่ห่างไกล และการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการทั้งนี้เพราะการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีหากผู้เรียนได้มีโอกาสถาม อธิบาย สังเกต รับฟัง สะท้อนความคิดตนเอง และตรวจสอบความคิดของผู้อื่น
                บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย โดยบทเรียนที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานได้หลายรูปแบบ เนื่องจากใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เช่น เน็ทสเคป (Netscape Navigator) หรือไมโครซอฟต์อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พรอเรอร์ (Microsoft Internet Explorer) รวมทั้งโปรแกรมเสริมอื่นๆในการจัดทำ โดยมีพื้นฐานของบทเรียนเป็นภาษา HTML โดยสามารถใช้ร่วมกับสื่ออื่นๆได้ทั้งอินทราเน็ต เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถบันทึกลงแผ่นซีดีรอม (CD-Rom) เพื่อนำไปศึกษาได้เมื่อไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตบทเรียนที่ผลิตได้จะมีลักษณะของเว็บเพจที่มีไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) และไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) เป็นตัวหลักในการนำเสนอ ผู้อ่านสามารถเลือกอ่าน ดูวีดีทัศน์ หรือทำแบบทดสอบ ได้ตามความต้องการ

·        ลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (WBI)

                การเรียนการสอนผ่านเว็บจะต้องอาศัยบทบาทของระบบอินเทอร์เน็ตเป็นสำคัญ การใช้อินเทอร์เน็ตในลักษณะของโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บจะมีวิธีการใช้ใน 3 ลักษณะ (Doherty,1988)
1.       การนำเสนอ (Presentation) เป็นไปในแบบเว็บไซด์ที่ประกอบไปด้วยข้อความภาพกราฟฟิก ซึ่งสามารถนำเสนอได้อย่างเหมาะสมในลักษณะของสื่อ คือ
1.1    การนำเสนอแบบสื่อทางเดียว เช่น เป็นข้อความ
1.2    การนำเสนอแบบสื่อคู่ เช่น ข้อความภาพกราฟฟิก บางครั้งจะอยู่ในรูปแบบ PDF ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ (Jeanne,1996)
1.3    การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย คือ ประกอบด้วยข้อความ ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียงและภาพยนตร์ หรือวีดีโอ (แต่ความเร็วจะไม่เร็วเท่ากับวีดีโอเทป)
2.       การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ทุกวันในชีวิตฅึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอินเทอร์เน็ต โดยมีการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตหลายแบบ เช่น
2.1    การสื่อสารทางเดียว โดยดูจากเว็บเพจ
2.2    การสื่อสารสองทาง เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โต้ตอบกัน
3.       การก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ (Dynamic Interaction) เป็นคุณลักษณะสำคัญของอินเทอร์เน็ตประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ
3.1    การสืบค้น
3.2    การหาวิธีการเข้าสู่เว็บ
3.3    การตอบสนองของมนุษย์ในการใช้เว็บ
·        องค์ประกอบของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                1.  องค์ประกอบด้านการเรียนการสอน
                                - การพัฒนาเนื้อหา
                                - ทฤษฎีการเรียนรู้
                                - การออกแบบระบบการสอน
                                - การพัฒนาหลักสูตร
                                - มัลติมีเดีย
                                - ข้อความและกราฟิก
                                - ภาพเคลื่อนไหว
                                - การออกแบบการปฏิสัมพันธ์
                                - เครื่องมือในอินเทอร์เน็ต
                                - เครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
                                                Fแบบเวลาไม่พร้อมกัน ( Asynchronous )  เช่น จดหมายอิเล็กโทรนิกส์  กลุ่มข่าวลิสเซิฟ ( Listsevs ) เป็นต้น
                                                Fแบบมีปฏิสัมพันธ์พร้อมกัน ( Synchronous ) เช่น แบบตัวอักษร ได้แก่ Chat , IRC , MUDs แบบเสียงและภาพ ได้แก่ Internet Phone , Net Meeting , Conference  Tools
                2.  องค์ประกอบด้านเครื่องมือในการเชื่อมต่อระยะไกล
                                - Telnet , File  Transfer  Protocol ( FTP ) เป็นต้น
                                -เครื่องมือช่วยนำทางในอินเทอร์เน็ต(ฐานข้อมูลและเว็บเพจ)Gopher, Lynx
                                - เครื่องมือช่วยค้นและเครื่องมืออื่นๆ Search  Engine  Counter  Tool
                                - เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบและซอฟต์แวร์
                                - ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น Unix , Window NT , Window  98 , Dos , Macintosh
                                - ซอฟต์แวร์ให้บริการเครือข่าย ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม เป็นต้น
                                - อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
                                - โมเด็ม
                                - รูปแบบการเชื่อมต่อ ความเร็ว 33.6 Kbps, 56 Kbps , สายโทรศัพท์ , ISDN , T1 , Satellite เป็นต้น
                                - ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต , เกตเวย์
               
3. องค์ประกอบด้านเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรม
                                - โปรแกรมภาษา ( HTML : Hypertext  Markup  Language ,JAVA , JAVA  Script  ,CGI  Script , Pearl , Active X )
                                - เครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรม เช่น FrontPage , FrontPage Express , Hotdog , Home site เป็นต้น
                                - ระบบให้บริการอินเทอร์เน็ต
                                - HTTP Servers , Web Site , URL
                                - CGI ( Common Gateway Interface )
-          โปรแกรมบราวเซอร์
·        การออกแบบบทเรียน WBI
1.  การออกแบบโครงสร้างของบทเรียน WBI
                ปทีป  เมธาคุณวุฒิ(2540) กล่าวว่าการออกแบบโครงสร้างของบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรประกอบด้วย
                                1.  ข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชาภาพรวมรายวิชา (Course  Overview)
                                2.  การเตรียมตัวของผู้เรียนหรือการปรับพื้นฐานผู้เรียน
                                3.  เนื้อหาบทเรียน
                                4.  กิจกรรมที่มอบหมายให้ทำพร้อมทั้งการประเมินผล การกำหนดเวลาเรียน  การส่งงาน
                                5.  แบบฝึกหัดที่ผู้เรียนต้องการฝึกฝนตนเอง
                                6.  การเชื่อมโยงไปแหล่งทรัพยากรที่สนับสนุนการศึกษาค้นคว้า
                                7.  ตัวอย่างแบบทดสอบหรือรายงาน
                                8.  ข้อมูลทั่วไป (Vital  Information)
                                9.  ส่วนแสดงประวัติของผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
                                10.  ส่วนของการประกาศข่าว (Bulletin  Board)
                                11.  ห้องสนทนา (Chat  Room)
2.  การออกแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียน WBI
                การจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียน WBI   ผู้ สอนและผู้เรียนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ที่ให้ บริการเครือข่าย (File  Server)  และเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเว็บ (Web  Server) เป็นการเชื่อมโดยระยะใกล้หรือระยะไกลผ่านทางระบบสื่อสารและอินเทอร์เน็ต  การจัดการเรียนการสอนที่เป็นเว็บผู้สอนจะต้องมีหลักการและขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน  ดังนี้
                2.1 หลักการออกแบบบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                ฮอฟแมน(Hoffman.1997)  อาศัยหลักกระบวนการเรียนการสอน 7 ขั้น ดังนี้ 
                                1.  การสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน (Motivating  the  Learner)
                                2.  บอกวัตถุประสงค์ของการเรียน (Identifying  what  is  to  be  Learned)
                                3.  ทบทวนความรู้เดิม ( Reminding  Learners  of  Pask  Knowledge)
                                4.  ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ (Requiring  Active  Involvement)
                                5.  ให้คำแนะนำและให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing  Guidance  and  Feedback)
                                6.  ทดสอบความรู้ (Testing)
                                7.  การนำความรู้ไปใช้ (Providing  Enrichment and  Remediation)
                2.2  กระบวนการและขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 
 ปทีป  เมธาคุณวุฒิ( 2540)  กล่าวว่าขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอนมี 7 ขั้น ดังนี้
1.  กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
                                2.  การวิเคราะห์ผู้เรียน
                                                2.1  การออกแบบเนื้อหารายวิชา
                                                2.2  เนื้อหาตามหลักสูตรและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
2.3    จัดลำดับเนื้อหาจำแนกหัวข้อตามหลักการเรียนรู้และลักษณะเฉพาะในแต่ละ
        หัวข้อ
                                                2.4  กำหนดระยะเวลาและตารางการศึกษาในแต่ละหัวข้อ
                                                2.5  กำหนดวิธีการศึกษา
                                                2.6  กำหนดสื่อที่ใช้ประกอบการศึกษาในแต่ละหัวข้อ
                                                2.7  กำหนดวิธีการประเมินผล
                                                2.8  กำหนดความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียน
                                                2.9  สร้างประมวลรายวิชา
                                3.  การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต  โดยใช้คุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น
                                4.  การเตรียมความพร้อมสิ่งแวดล้อม
                                5.  การปฐมนิเทศผู้เรียน  ได้แก่ แจ้งวัตถุประสงค์  เนื้อหา  และวิธีการเรียนการสอน สำรวจความพร้อมของผู้เรียนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
                                6.  จัดการเรียนการสอนตามแบบที่กำหนดไว้  โดยในเว็บเพจ
                                7.  การประเมินผล    ผู้ สอนสามารถใช้การประเมินผลระหว่างเรียนและการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการเรียน รวมทั้งการที่ผู้เรียนประเมินผลผู้สอนและการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ทั้งรายวิชา เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข ระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต
·        ข้อดีของการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                ถนอมพร  เลาหจรัสแสง ( 2544 )  ได้กล่าวถึงการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีข้อดีอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1.          เปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่มีเวลาในการมาเข้าชั้นเรียนได้เรียนในเวลาและสถานที่ที่ต้องการ
2.          ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา
3.          ส่ง เสริมแนวคิดในเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความ ใฝ่รู้รวมทั้งมีทักษะในการตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
4.          เปิด โอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆได้อย่างสะดวกและมี ประสิทธิภาพสนับสนุนสิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับ ปัญหาที่พบในความเป็นจริง
5.          ช่วยแก้ปัญหาของข้อจำกัดของแหล่งค้นคว้าแบบเดิมจากห้องสมุด เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการรูปแบบใหม่ครอบคลุมสารสนเทศทั่วโลกโดยไม่จำกัดภาษา
6.          สนับสนุนการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น ผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นได้อยู่ตลอดเวลา  โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง
7.          เอื้อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์  ทั้งปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วยกันและ/หรือผู้สอน  และปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนในเนื้อหาหรือสื่อการสอน
8.          เปิดโอกาสสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆทั้งในสถาบันในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก
9.          เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานของตนสู่สายตาผู้อื่นอย่างง่ายดาย และเห็นผลงานของผู้อื่นเพื่อนำมาพัฒนางานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
10.      ผู้สอนสามารถเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัยได้อย่างสะดวกสบาย ผู้เรียนได้สื่อสารและแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ทำให้เนื้อหาการเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าการเรียนการสอนแบบเดิม และเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ

                สรุป  ข้อดีของบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกคน ทุกที่และทุกเวลา( all anywhere and anytime ) ผู้เรียนได้เพิ่มทักษะทางเทคโนโลยี สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้อื่นๆ ได้ สามารถอภิปรายโต้ตอบกับผู้เรียนอื่นหรือผู้อื่นได้อย่างอิสระโดยไม่ถูกควบคุม และสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ เกิดแรงจูงใจในการเรียนทำให้เกิดความรู้ความจำได้ดีขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่สนใจใฝ่รู้และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

·        การประเมินผลการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                มีผู้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนการสอนทั้งประเมินผู้เรียนและประเมินเว็บไซต์ ดังนี้                           
การประเมินผู้เรียน
การประเมินผลการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นการประเมินระหว่างเรียน (Formative  Evaluation ) กับการประเมินรวมหลังเรียน (Summative  Evaluation )โดยการประเมินระหว่างเรียนสามารถทำได้ตลอดเวลาระหว่างมีการเรียนการสอน เพื่อดูผลสะท้อนของผู้เรียนและดูผลที่คาดหวังไว้  อันจะนำไปปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การประเมินหลังเรียนมักจะใช้การตัดสินในตอนท้ายของการเรียน โดยการใช้แบบทดสอบเพื่อวัดผลตามจุดประสงค์ของรายวิชา         ( ปรัชญนันท์  นิลสุข.2546 )
พอตเตอร์ ( Potter , 1998 ) ได้เสนอวิธีการประเมินการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ประเมินสำหรับการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของมหาวิทยาลัยจอร์จ  เมสัน โดยแบ่งการประเมินออกเป็น  4   แบบ คือ
1.  การประเมินด้วยเกรดในรายวิชา (Course  Grades )  เป็นการประเมินที่ผู้สอนให้คะแนนกับผู้เรียน วิธีการนี้กำหนดองค์ประกอบของวิชาชัดเจน เช่น คะแนนเต็ม  100% แบ่งเป็นการสอบ     30%  จากการมีส่วนร่วม 10%  จากโครงงานกลุ่ม 30% และงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละสัปดาห์อีก  30% เป็นต้น
                2.  การประเมินรายคู่  (Peer  Evaluation ) เป็นการประเมินกันเองระหว่างคู่ของผู้เรียนที่เลือกจับคู่กันในการเรียนทางไกลด้วยกันไม่เคยพบกันหรือทำงานด้วยกัน  โดยให้ทำโครงงานร่วมกันให้ติดต่อกันผ่านเว็บและสร้างโครงงานเป็นเว็บที่เป็นแฟ้มสะสมงาน  แสดงเว็บให้ผู้เรียนคนอื่นเห็น และจะประเมินผลรายคู่จากโครงงาน
                3.  การประเมินต่อเนื่อง (Continuous  Evaluation )  เป็นการประเมินที่ผู้เรียนต้องส่งงานทุกๆสัปดาห์ให้กับผู้สอน โดยผู้สอนจะให้ข้อเสนอแนะและตอบกลับในทันที  ถ้ามีสิ่งที่ผิดพลาดกับผู้เรียนก็จะแก้ไขและประเมินตลอดเวลาในช่วงเวลาของวิชา
                4.  การประเมินรายภาคเรียน ( Final  Course  Evaluation )  เป็นการประเมินผลปกติของการสอนที่ผู้เรียนนำส่งสอน โดยการทำแบบสอบถามผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมืออื่นใด บนเครือข่ายตามแต่จะกำหนด เป็นการประเมินตามแบบการสอนปกติที่จะต้องตรวจสอบความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์การเรียนของผู้เรียน
                                การประเมินเว็บไซต์
                โซวอร์ด ( Soward, 1997 )  ได้กล่าวถึงการประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายว่า จะต้องอยู่บนฐานที่ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง  โดยให้นึกถึงเสมอว่าเว็บไซต์ควรเน้นให้ผู้ใช้ได้สะดวกไม่ประสบปัญหาติดขัดใดๆการประเมินเว็บไซต์มีหลักการที่ต้องประเมิน คือ
                1.  การประเมินวัตถุประสงค์  ( Purpose )จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ว่า เพื่ออะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร
                2.      การประเมินลักษณะ ( Identification  ) ควรจะทราบได้ทันทีเมื่อเปิดเว็บไซต์เข้าไปว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องใด ซึ่งในหน้าแรก ( Homepage ) จะทำหน้าที่เป็นปกในของหนังสือ( Title ) ที่บอกลักษณะและรายละเอียดของเว็บนั้น
                3.  การประเมินภารกิจ ( Authority ) ในหน้าแรกของเว็บจะต้องบอกขนาดของเว็บและรายละเอียดของโครงสร้างของเว็บ  เช่น  แสดงที่อยู่และเส้นทางภายในเว็บ และชื่อผู้ออกแบบเว็บ
                4.  การประเมินการจัดรูปแบบและการออกแบบ ( Layout  and  Design )  ผู้ออกแบบควรจะประยุกต์แนวคิดตามมุมมองของผู้ใช้  ความซับซ้อน  เวลา  รูปแบบที่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้
                5.  การประเมินการเชื่อม ( Links )  การเชื่อมโยงถือว่าเป็นหัวใจของเว็บ เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีผลต่อการใช้    หรือการเพิ่มจำนวนเชื่อมโยงโดยไม่จำเป็นจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้  ควรใช้เครื่องมือสืบค้นแทนการเชื่อมโยงที่ไม่จำเป็น
                6.  การประเมินเนื้อหา  (  Content  )  เนื้อหาที่เป็นข้อความภาพ หรือเสียง  จะต้องเหมาะสมกับเว็บและให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทุกส่วนเท่าเทียมกัน

No comments:

Post a Comment

like