เล่าเรื่องการสอนด้วยกระบวนการแบบ E-STEM ต่อนะครับ หลังจากที่ผมเริ่มทดลองสอนในสองสามรูปแบบ ซึ่งเน้นการบูรณาการครับ จัดกิจกรรมการสอนในรูปแบบโครงงานที่นักเรียนต้องสังเคราะห์องค์ความรู้ออกมาเป็นชิ้นงาน เช่น โครงงานการออกแบบเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ โครงงานสิ่งประดิษฐ์เครื่องบินพลังงานยาง และเครื่องบิน f117 การสอนควบคู่กับการใช้ภาษาอังกฤษเข้ามาเสริมประสบการณ์ และใช้ Social Media ต่างๆเข้ามาร่วมสอน เช่น youtube การเปลี่ยนรายงานกระดาษเป็นรูปแบบดิจิตอล แปลศัพท์จาก google.com วันนี้ลองใช้กระบวนการหลายๆอย่างร่วมกันในการสอน และปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับกระบวนการเรียนการสอน ณ ห้องเรียนของผมที่ซับบอนวิทยาคม ซึ่งมีสภาพตัวป้อน (Input) ที่แตกต่าง เป็นโรงเรียนระดับตำบลนักเรียนสามร้อยกว่าคน กระบวนการ (Process) นั้นก็จะแแตกต่างออกไป ส่วนผลลัพธ์ (Output) เรารับกันจริงๆตามสภาพครับ แต่สิ่งที่ผมเปรียบเทียบได้คือ นักเรียนของผมมีพัฒนาการขึ้นหลายด้านครับ ผมใช้การประเมินตามสภาพจริงในการวัดผลชิ้นงานของนักเรียน ไม่ได้วัดเพื่อจัดอันดับ สภาพการเรียนการสอนที่ผมจัดจึงแตกต่างออกไป ซึ่งผมคิดว่า ถ้าผมไปบรรจุ หรือสอนที่โรงเรียนอื่นก็คงแตกต่างจากนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพบริบทและสภาพของผู้เรียน จากวันแรกที่นักเรียน บวก ลบ คูณ หาร เป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ ปีที่แล้วนำเสนอด้วยคลิปวีดีโอ เป็นภาษาไทย เป็นครั้งแรกที่ครูสั่งงานโดยให้ส่งเป็นคลิปวีดีโอ ปีนี้โตขึ้นอีกปี ส่งงานคลิปวีดีโอเป็นภาษาอังกฤษ (เป็นการประยุกต์จากการอบรม EIS) ซึ่งนักเรียนทยอยส่งกันแล้ว ผมนั่งมองย้อนหลัง ผมมองเห็นพัฒนาการ มองเห็นการพัฒนาองค์ความรู้ อย่างมากเนื่องจากผมสอนมาสองปีแล้ว ปีนี้ดีขึ้นมาก ตามคลิปวีดีโอนี้ครับ
คลิปวีดีโอเหล่านี้ใช้มือถือถ่ายทำครับ ซึ่งผมให้คะแนนโดยเน้นพัฒนาการนะครับ ทุกกลุ่ม ถือว่าซ้อมกันหลายรอบ (ตามสภาพนะครับ) หากเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ถือว่าพัฒนาขึ้นเยอะครับ
การบอกเล่าเรื่องราวในเว็บบล็อกผมนี้ไม่ได้มีเพื่อโชว์หรือโอ้อวดนะครับ แต่เป็นการเล่ากระบวนการที่ผมใช้พัฒนาการเรียนการสอนนะครับ งานแต่ละชิ้นแทบไม่ตัดต่อ เท่าไหร่เท่ากันเพราะเน้นที่การพัฒนานักเรียน ผมอยากให้คนที่มาประเมินต่างๆ มองที่กระบวนการมากกว่าการนำเสนอแบบสร้างภาพ การศึกษาของประเทศเราจึงจะพัฒนานะครับ
No comments:
Post a Comment