โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Wednesday, November 20, 2013

รากฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้

             วันนี้ว่างๆระหว่างคาบเรียนอ่านหนังสือ การจัดการความรู้ ซึ่งเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีองค์ประกอบที่ผมต้องใช้ เนื่องจากผมทำค้นคว้าอิสระเรื่อง การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ตามทัศนะครู สังกัด สพม.40 ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เนื้อหาทางวิชาการดีมากครับแต่บริบทใจความส่วนใหญ่เน้นการบริหารบริษัทเอกชน ซึ่งแตกต่างจากบริบทสถานศึกษาครับ ผมอ่านวรรคตอนหนึ่งแล้วรู้สึกว่า น่าจะดีสำหรับคนที่เริ่มต้นครับ เรื่อง รากฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้  ซึ่งถ้าโฟกัสจุดนี้เป็นจุดเริ่มต้น เราจะมีกรอบแนวทางที่ชัดเจนในการนำไปปฏิบัติครับ  รากฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้ นั้นมีองค์ประกอบ 5 ประการด้วยกัน คือ  1) การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  2) การทดลองทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีการใหม่ๆ 3) การเรียนรู้จากประสบการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต 4) การเรียนรู้จากบุคคลอื่น 5) ถ่ายทอดความรู้ทั่วทั้งองค์กรได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เด็มมิ่งโมเดล PDCA

            ซึ่งกรอบแนวคิดการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้นั้นมีอยู่หลายแนวคิดครับ นักวิชาการ หรือระดับปฏิบัติการที่นำแนวคิดไปใช้ก็ยังให้นิยามที่ต่างกัน วันนี้เอาในแบบบริบทสถานศึกษากันนะครับ เข้าสู่ รากฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้ อีกครั้งครับ ข้อที่  1) การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  ตามภาพที่ผมยกมาเป็นการบริหารจัดการด้วยระบบ เด็มมิ่งโมเดล (PDCA) ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบกระบวนการที่นิยมใช้ในระบบประกันคุณภาพการศึกษา จุดเชื่อมโยงที่สำคัญคือกระบวนการนี้เป็นการพัฒนาบนพื้นฐานของตัวเอง วิเคราะห์สภาพของตัวเองและนำมาออกแบบวิธีการทำงานรวมถึงนำปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตมาวางแผนจัดการ ซึ่งเด็มมิ่งโมเดล (PDCA) นั้น ตอนผมทำงานบริษัท ผมก็ได้มีโอกาสใช้เหมือนกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับ ระบบ ISO ซึ่งว่าด้วยเอกสารที่่เอามาโชว์กันตอนประเมิน ถ้าให้เทียบประสิทธิภาพนั้น สำหรับบริบททางการศึกษาผมคิดว่า เด็มมิ่งโมเดล (PDCA) ยังกินขาดแบบไม่เห็นฝุ่น ส่วน ISO ที่เข้ามาในระบบประกันคุณภาพการศึกษานั้น มีข้อคอมเม้นอยู่ว่าเรา บริหารจัดการการเรียนการสอน บริหารจัดการชั้นเรียน ซึ่งเป็นคน เป็นสิ่งมีชีวิต แตกต่างกันกับโรงงานที่ผลิต สิ่งไม่มีชีวิต


         ข้อที่ 2 ) การทดลองทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีการใหม่ๆ   เดี๋ยวมาเล่าต่อในโพสต่อไปครับ

No comments:

Post a Comment

like