โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Friday, February 21, 2014

องค์การแห่งการเรียนรู้ ปีเตอร์ เซงกี้


               ปีเตอร์ เซงกี้ (Senge, 1990, pp. 6-11)  ได้กล่าวถึง ได้สรุปคุณลักษณะสำคัญ 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้ไว้ ดังนี้ 1) บุคลากรยึดมั่นต่อวิสัยทัศน์ร่วมกัน 2) บุคลากรทุกคนต้องละทิ้งวิธีคิดแบบเก่าและมาตรฐานการทำงานต่าง ๆ  ที่เคยใช้ในการแก้ปัญหาประจำ หรือวิธีการทำงานในอดีต 3) บุคลากรทุกคนต้องคิดถึงกระบวนการบริหารองค์การในภาพรวม โดยที่กิจกรรม ภารกิจหน้าที่ และการดำเนินงานจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน 4) บุคลากรสื่อสารอย่างเปิดเผยทุกทิศทาง ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยไม่ต่อต้านต่อคำวิพากษ์วิจารณ์หรือการลงโทษ 5) บุคลากรไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตน ของแผนกหรือของกลุ่มแต่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์องค์การ การที่จะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้ต้องมีวิสัยทัศน์ ซึ่งจะเป็นเครื่องชี้นำอนาคตขององค์การโดยการปรับเปลี่ยนแนวคิดต่าง ๆ ดังนี้ 1) การทำงานแบบแยกส่วน ที่เคยยึดหลักความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเกิดการแบ่งเป็นแผนกหรือฝ่าย เป็นอิสระต่อกัน ทำให้งานขาดประสิทธิภาพและสิ้นเปลืองจากการใช้ทรัพยากรซ้ำซ้อนกัน 2) แนวคิดที่เน้นการแข่งขันมากเกินไปเกิดความเสียหายต่อการร่วมมือกันทำงาน เช่น สมาชิกในทีมบริหารแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นว่าใครเก่งกว่าใคร ความคิดตนถูกแต่ของคนอื่นผิด หรือการแข่งขันระหว่างแผนกเพื่อแย่งผลงานทรัพยากร ทั้งที่ควรร่วมมือกันและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ซึ่งกันและกัน หรือผู้นำทีมโครงการที่ต่างแสดงให้เห็นว่าตนเองเก่ง และเหนือกว่าผู้นำคนอื่นจึงทำให้ขาดการประสานงานและร่วมมือกัน  แนวความคิดในการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ จะครอบคลุมทุกๆคนไปจนถึงตัวองการจะต้องมีเป้าหมายและระบบในการพัฒนา ตัวผู้นำและสมาชิกทุกคนในองค์การมีการส่งเสริม และยกระดับการเรียนรู้ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้พื้นฐาน วินัย 5 ประการ ที่ทุกคนจะต้องมีความเชื่อและร่วมกันปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ 1) ความเป็นบุคคลรอบรู้ 2) รูปแบบวิธีคิด 3) วิสัยทัศน์ร่วมกัน 4) การเรียนรู้เป็นทีม 5) การคิดเชิงระบบ ซึ่งให้คำอธิบายวินัย 5 ประการไว้ดังนี้
                  
1) ความเป็นบุคคลรอบรู้ (Personal Mastery) คือ ลักษณะการเรียนรู้ของคนในองค์การซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงการเรียนรู้ขององค์การได้สมาชิกขององค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้นั้น จะมีลักษณะสนใจและใฝ่หาที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้เพื่อเพิ่ม ศักยภาพ ของตน มุ่งสู่จุดหมาย และความสำเร็จที่ได้กำหนดไว้
                  2) รูปแบบวิธีคิด (Mental Models) แบบแผนทางจิตสำนึกของคนในองค์การซึ่งจะต้องสะท้อนถึงพฤติกรรมของคนในองค์การองค์การแห่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อ สมาชิกในองค์การมีแบบแผนทางจิตสำนึกหรือความมีสติที่เอื้อต่อการสะท้อนภาพที่ถูกต้องชัดเจน และมีการจำแนกแยกแยะโดยมุ่งหวังที่จะปรับปรุงความถูกต้องในการมองโลกและปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรวมทั้งการทำความเข้าใจในวิธีการที่จะสร้างความกระจ่างชัด เพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องหรือมีวิธีการที่จะตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏอยู่ได้อย่างเหมาะสม
                  3) วิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนทั้งองค์การองค์การแห่งการเรียนรู้จะต้องเป็นองค์การที่สมาชิกทุกคนได้รับการ พัฒนาวิสัยทัศน์ของตนให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์รวมขององค์การซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการรวมพลังของสมาชิกที่มีความคาดหวังต่อความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าต่อไป ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันของคนทั้งองค์การ
                  4) การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)  การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในองค์การโดยอาศัยความรู้และความคิดของมวลสมาชิกในการแลกเปลี่ยน และพัฒนาความฉลาดรอบรู้และความสามารถของทีมให้บังเกิดผลยิ่งขึ้น เรียกว่า การอาศัยความสามารถของสมาชิกแต่ละบุคคล องค์การแห่งการเรียนรู้จะเกิดได้เมื่อมีการรวมพลังของกลุ่มต่าง ๆ ภายในองค์การเป็นการรวมตัวของทีมงานที่มีประสิทธิภาพ สูงซึ่งเกิดจากการที่สมาชิกในทีมมีการเรียนรู้ร่วมกันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กันอย่างต่อเนื่องและ สม่ำเสมอ
                  5) การคิดเชิงระบบ (System Thinking) มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี                                         

No comments:

Post a Comment

like