คนรวย ใช้เงินทำงาน ส่วนเราทำงานเพื่่อใช้เงิน (ก็ถือว่าประกอบสัมมาชีพเลี้ยงครอบครัวครับ) แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ คนรวยเหล่านั้นไม่ต้องทำงานส่วนเราต้องทำงาน เราและเขาได้เงินมาเหมือนกันแต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน งั้นต่อไปมาดูนะครับ วิธีการแตกต่างกันอย่างไร
คนรวยใช้เงินทำงาน เงิน 1,000 บาท ของคนรวย สามารถสร้างดอกเบี้ยหรือปันผลรายเดือน รายปี หรือ ทุกๆ 5 ปี ทุกๆ 10 ปี ได้โดยที่คนรวยไม่ต้องทำงานเองเพียงให้เงินต่อเงิน แต่คนจน ทำงานเพื่อเงิน 1,000 บาทแล้วใช้จนหมด แล้วก็ไปหาใหม่ วัฎจักรนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก คนจนหาเงินได้ 15,000 บาทต่อเดือน ให้หมดทุกเดือนแล้วไปหามาใหม่ คนรวยใช้เพียง ครึ่งหนึ่ง เหลือเก็บอีก 7,500 บาท/เดือน ครบ 1 ปี คนรวยมีทุนเพื่อให้มันทำงานแทนตัวเอง 90,000 บาท/ปี แต่คนจน ได้รถยนต์ 1 คัน โก้หรู ดูดี มีสไตร์
ทรัพย์สิน มูลค่า 90,000 บาทต่อปี ผ่อน 8 ปี หมดไป 720,000 บาท
ทรัพย์สิน มูลค่า 90,000 บาทต่อปี ระยะเวลา 8 ปี รวมทรัพย์สิน 720,000 บาท
ปีที่ 9 เป็นต้นไป เมื่อทำทรัพย์สินตามวิธีคิดของคนจนและคนรวยมาเปรียบเทียบกัน แนวคิดของคนจน รถที่ผ่อน หมดไป 720,000 บาท นำไปขายเข้าตลาด ได้กลับคือมา 300,000 บาท ขาดทุน 420,000 บาท ปีที่ 9 เป็นต้นไป เมื่อนำทรัพย์สินตามวิธีคิดของคนรวยมาคำนวณ ถ้าเขาเลือกลงทุนโดยซื้อหุ้นของ ปตท. ย้อนหลังเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ซื้อเพิ่มทุกปี คนรวยจะได้ปั่นผล 5-7% ต่อปี และราคาหุ้นของ ปตท. เพิ่มขึ้น ทุกๆปี ปัจจุบันอยู่ที่ 295 บาท/หุ้น คำนวนปีสุดท้ายดูนะครับ
กราฟราคาหุ้น ของ ปตท.
ลักษณะการเติบโตของเงิน แบบออมในหุ้น ให้เงินทำงาน
คำนวณการเติบโต 6 เท่าในรอบ 10 ปี ปีสุดท้ายที่ผมคำนวณ จะมีเงินในหุ้นอยู่ 2,004,837 บาท (15 ปี) ในปีที่ผมเกษียณ หรืออีก 30 ปีข้างหน้า ถ้วยอัตราเดียวกัน ถ้าคิดตามอัตราการเติบโต มันควรอยู่ที่ 12 ล้าน พอได้ไช่มั้ยครับ 30 ปี 12 ล้านบาท เฉลี่ยคืนกลับหลัง เท่ากับ ปีละ 6 แสน (12ล้าน หาร 30 ) ซึ่งจริงๆแล้วเราเก็บปีละ 9 หมื่น แต่ 30 ปีผ่านไป เราได้เงินเก็บเฉลี่ย กลายเป็น ปีละ 6 แสน
สิ่งที่ผมอธิบายนี้ เรียกว่า การได้เปรียบทางการเงิน เราสามารถทำให้เงินของเราเพิ่มขึ้นได้ปีละ 7 เท่า จากออมปีละ 90,000 บาท ให้เฉลี่ยกลับคืนมาเป็นปีละ 600,000 บาท การได้เปรียบทางการเงิน ประมาณ 7 เท่า
มันอาจจะซับซ้อนหน่อยนะครับ แต่ถ้าลอง คิดแบบง่ายๆ แบบนี้
1+1=2,
2+2 =4
4+4 =8
8+8 = 16
16+16=32
.......
.......
.......บวกไปเรื่อยๆ ครับ ครบ 30 ครั้ง จะเข้าใจในสิ่งที่ผมพยายามอธิบายนะครับ
แต่ในชีวิตจริง มันมีรายจ่ายหลายทางกว่านั้นครับ ดังภาพนี้
การออมแบบ ออมไว้ในหุ้น ลงทุนเน้นคุณค่า
การลงทุนออมไว้ในหุ้น หรือ แบบเน้นมูลค่า ช่วยให้เงินออมของเราเติบโตอย่างมั่นคง และไม่เดือดร้อนในชีวิตประจำวัน แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีวินัยทางการเงินอย่างสูงนะครับ ผมเลือกให้หักจากบัญชีเลย ออมในหุ้นก่อน (โดนหุ้นเข้าสิง)
**** การซื้อหุ้นสำหรับผม คือการเดินตามฝันที่ต้องการทำธุรกิจ เป็นเจ้าของกิจการ อาชีพปัจจุบันผมเป็นครู ไม่มีเวลาไปทำงานอิสระอย่างอื่นเพราะจะกระทบกับงานประจำ ผมจึงเลือกซื้อธุรกิจ ซึ่งมีให้ผมเลือกกว่า 500 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของเมืองไทย เช่น ปตท. ปูนซีเมนต์ไทย บางจาก โรงไฟฟ้า เหมืองถ่านหิน บริษัทนำเข้าอุปกรณ์ไอที ซึ่งสิ่งนี้เติมฝันผมให้เต็ม และผมไม่ต้องไปทำงานเอง เพียงนำเงินไปร่วมลงทุนในธุรกิจ การซื้อหุ้นสำหรับผม คือการร่วมทำธุรกิจ ไม่ได้เล่นเพื่อเก็งกำไร ในระยะยาว 30 ปี กำไรแน่นอนครับ แต่ต้องใช้เวลาและมีวินัยทางการเงินที่สูงมาก แถมต้องอดทนแบบสุดขีด
โพสนี้ผมโพสหัวข้อไว้ เหลือเดือนละ 1,000 บาท หัวข้อนี้ผมคิดว่าเพียงพอสำหรับการออมเพื่อเป็นเงินเกษียณระยะยาวนะครับ แต่ต้องมีการจัดเก็บที่ดีในแหล่งที่สามารถเติบโตได้ เงินต้นไม่หาย เช่น ซื้อฉลากออมสินไว้ทุกเดือน ครบปี มีเงิน 12,000 แล้วค่อยเอาไปออมในหุ้นต่อ(สำหรับคนชอบเสี่ยงโชค บางเดือนก็มีโชค ถูกหวยออมสิน โดยที่เงินต้นยังอยู่ ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเสี่ยง) ถ้าทำแบบนี้ทุกๆเดือน ค่อยๆสะสม ในระยะยาว ความเสี่ยงมันก็น้อยลง ผลตอบแทนมันก็มากขึ้น ในแต่ละวันก็จะมีความสุขในการทำงานประจำและเงินของเราก็จะทำงานแทนเราอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ นี่คือความสุขของนักลงทุนนะครับ >>>> ลงทุนกับเวลา
No comments:
Post a Comment