นำเสนอการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้วยภาษาอังกฤษ
เช้าวันนี้หลังจากที่อบรมมาสี่วันภาระกิจสุดท้ายคือการนำเสนอการสอนซึ่งต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสอน สำหรับโรงเรียนในระดับ World Class อาจไม่ไช่เรื่องแปลกใหม่แต่สำหรับผมแล้วการสอนด้วยภาษาอังกฤษนั้นเรียกได้ว่าครั้งแรกในชีวิตครับ ตื่นเต้นพอสมควร ของคุณ สพฐ. ที่จัดโครงการนี้ครับและเป็นโอกาสหนึ่งที่ได้มาพัฒนาตนเอง เนื้อหาการนำเสนอ และเอกสารตามนี้นะครับ
Digital Education การศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นการบริหารจัดการแบบเสริมพลังโดยชุมมีส่วนร่วม เพื่อเป็นบันทึกและแชร์ความรู้ประสบการด้านการบริหารจัดการโรงเรียน
โฆษณา
STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat
Monday, September 30, 2013
Sunday, September 29, 2013
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษ
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษ หลังจากที่อบรมมา 4 วัน วันที่ 5 เตรียมออกแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษ
Saturday, September 28, 2013
อบรมเชิงปฏิบัติการ การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษ
อบรมเชิงปฏิบัติการ การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษ 26-2 กันยายน 2556 ณ เม้าเทนพาร์ควิว รีสอร์ท
Saturday, September 7, 2013
Thailand Innovative Teachers 2013
Thailand Innovative Teachers 2013
นายวีรชาติ มาตรหลุบเลา
โรงเรียนซับบอนวิทยาคม เพชรบูรณ์
ชื่อผลงาน : โครงงานสำรวจและปฎิบัติการ การประะหยัดพลังงาน
http://www.youtube.com/ watch?v=QJJSN_8BuUE
นายวีรชาติ มาตรหลุบเลา
โรงเรียนซับบอนวิทยาคม เพชรบูรณ์
ชื่อผลงาน : โครงงานสำรวจและปฎิบัติการ การประะหยัดพลังงาน
http://www.youtube.com/
เครื่องบินกับเด็กนักเรียน ม.2
เครื่องบินกับเด็กนักเรียน ม.2
ปีนี้ผมสอนโครงงานนักเรียนชั้น ม.2 จริงๆแล้วอยากสอน ม.3 ด้วยและอยากเพิ่มชั่วโมงให้ได้มากกว่านี้ แต่หลักสูตรมันโดนเขียนมาแล้วคงต้องว่าไปตามนั้น เล่าเรื่องเลยนะครับ ผมเริ่มสอนโครงซึ่งทั้งหมดมี 4 ประเภท คือโครงงานสำรวจ โครงงานประดิษฐ์ โครงงานทดลอง และโครงงานทฤษฎี ใน 4 ประเภทนี้ผมสอนเพียง 3 ประเภท เนื่องจากต้องควบคุมชั้นเรียนจำนวนนักเรียนกว่า 30 คน สองห้องก็ 60 คนเข้าไปแล้ว กิจกรรมโครงงานสำรวจผมใช้เวลาเยอะหน่อย กินเวลาไปเกือบครึ่งเทอมเนื่องจากนักเรียนต้องทำความเข้าใจกับเรื่องทฤษฎีและหลักการ รูปแบบการทำโครงงาน แยกชนิดตัวแปร ภาคทฤษฎีบางทีนักเรียนทำหน้าเซ็งให้ดูเลยครับ แต่เริ่มต้นด้วยโครงงานสำรวจเนื่องจากต้องการปลูกจิตสำนึกการใช้พลังงานให้คุ้มค่า ซึ่งการปลูกลงไปในจิตสำนึกถ้าทำได้มันจะอยู่คงทนมาก ส่วนโครงงานประดิษฐ์และโครงงานทดลอง ก่อนหน้านี้วางแผนใช้โจทย์เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งนำโมเดลที่รุ่นพี่ปีที่แล้ว(ปีนี้ ม.4) นำมาให้ทดลองวัดอุณหภูมิซึ่งเป็นการฝึกทักษะการวัด การสังเกต การใช้อุปกรณ์การวัดด้วย ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนซ้ำแบบเต็มๆอีกรอบตอนเรียนเรื่องพลังงาน ตอนขึ้น ม.3 ตอนแรกตั้งใจว่าจะให้นักเรียนออกแบบและประดิษฐ์เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบโมเดลจำลองออกมา แต่ดูเวลาและเงื่อนไขการสอบแล้วคงไม่ทัน จึงให้ทำเครื่องบินพลังยางแทน ออกแบบ และทดลองยิง โดยเปลี่ยนมุมการยิง จาก 30 45 60 75 และทำการบันทึกผล และทำการปรับมุมของปีก ซึ่งการทดลองง่ายๆนี้ สามารถทดลองชิ้นงานที่ตนเองออกแบบได้ ง่ายและสนุกแบบเด็กๆ
ปีนี้ผมสอนโครงงานนักเรียนชั้น ม.2 จริงๆแล้วอยากสอน ม.3 ด้วยและอยากเพิ่มชั่วโมงให้ได้มากกว่านี้ แต่หลักสูตรมันโดนเขียนมาแล้วคงต้องว่าไปตามนั้น เล่าเรื่องเลยนะครับ ผมเริ่มสอนโครงซึ่งทั้งหมดมี 4 ประเภท คือโครงงานสำรวจ โครงงานประดิษฐ์ โครงงานทดลอง และโครงงานทฤษฎี ใน 4 ประเภทนี้ผมสอนเพียง 3 ประเภท เนื่องจากต้องควบคุมชั้นเรียนจำนวนนักเรียนกว่า 30 คน สองห้องก็ 60 คนเข้าไปแล้ว กิจกรรมโครงงานสำรวจผมใช้เวลาเยอะหน่อย กินเวลาไปเกือบครึ่งเทอมเนื่องจากนักเรียนต้องทำความเข้าใจกับเรื่องทฤษฎีและหลักการ รูปแบบการทำโครงงาน แยกชนิดตัวแปร ภาคทฤษฎีบางทีนักเรียนทำหน้าเซ็งให้ดูเลยครับ แต่เริ่มต้นด้วยโครงงานสำรวจเนื่องจากต้องการปลูกจิตสำนึกการใช้พลังงานให้คุ้มค่า ซึ่งการปลูกลงไปในจิตสำนึกถ้าทำได้มันจะอยู่คงทนมาก ส่วนโครงงานประดิษฐ์และโครงงานทดลอง ก่อนหน้านี้วางแผนใช้โจทย์เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งนำโมเดลที่รุ่นพี่ปีที่แล้ว(ปีนี้ ม.4) นำมาให้ทดลองวัดอุณหภูมิซึ่งเป็นการฝึกทักษะการวัด การสังเกต การใช้อุปกรณ์การวัดด้วย ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนซ้ำแบบเต็มๆอีกรอบตอนเรียนเรื่องพลังงาน ตอนขึ้น ม.3 ตอนแรกตั้งใจว่าจะให้นักเรียนออกแบบและประดิษฐ์เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบโมเดลจำลองออกมา แต่ดูเวลาและเงื่อนไขการสอบแล้วคงไม่ทัน จึงให้ทำเครื่องบินพลังยางแทน ออกแบบ และทดลองยิง โดยเปลี่ยนมุมการยิง จาก 30 45 60 75 และทำการบันทึกผล และทำการปรับมุมของปีก ซึ่งการทดลองง่ายๆนี้ สามารถทดลองชิ้นงานที่ตนเองออกแบบได้ ง่ายและสนุกแบบเด็กๆ
Tuesday, September 3, 2013
การพัฒนาการศึกษาไทย
นายภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของกลุ่มประเทศอาเซียน จากการประชุมของ World Economic Forum (WEF) - The Global Information Technology Report 2013 (จะทบทวนตัวเองหรือผลการจัดอันดับดี)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ขอวิจารณ์หน่อยครับ ที่เขาประเมินออกมา ไม่น่าแปลกครับ ปัจจุบันงานที่ โรงเรียน ภาระงานส่วนมากไม่ไช่การสอนแต่เป็นการประเมินแบบหนีตายมากกว่า งานที่เข้ามาผมถือว่าเป็นงานขยะด้วยซ้ำ การประเมินหลายๆโครงการยังซ้ำซ้อน แล้วก็มาเรียกร้องให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดีขึ้น จะดีขึ้นได้ยังไงครับในเมื่อครูไม่มีเวลามาสอนนักเรียน ครูไม่ได้อยู่ในห้องเรียน แต่ต้องมานั่งทำงาน การประเมินต่างๆ เช่น o-net เน้นการประเมิน ด้าน ความรู้อย่างเดียว แต่การประเมิน ในห้องเรียน ประเมิน ด้านความรู้ กระบวนการ และจิตพิสัย ซึ่งทำให้คะแนนออกมาต่างกันมากมาย เพราะ ด้านความรู้ เราประเมินกันแค่ 50% แต่ o-net ประเมินด้านความรู้อย่างเดียว 100% ดังนั้น นักเรียนที่ได้เกรด 3.0 พอเข้าไปสอบ o-net จะเหลือแค่ 1.5 เพราะอีกสองด้านไม่ได้โดนประเมิน (ผมวิเคราะห์เองนะครับจากทฤษฏีของ คุณบลูมและสัดส่วนแนวโน้ม) แต่สิ่งที่ผมสัมผัสได้ พิสูจน์ได้ และคิดว่าส่วนมากยอมรับคือ ถ้าครูเก่ง นักเรียนก็เก่ง เพราะครูคือแม่พิมพ์ โจทย์เร่งด่วนสุดๆของการศึกษา น่าจะเป็นระบบการพัฒนาครูมากกว่าครับ ให้ครูได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองให้เต็มที่ ถึงแม้ปัจจัยในการพัฒนาการศึกษามันมีหลายด้าน แต่ครูใกล้ชิดกับนักเรียนมากที่สุด แตะมือกับนักเรียนได้เลย หวังว่าโพสเสร็จผมคงไม่โดนประเมินด้วยกระดาษอีกรอบนะครับ
Subscribe to:
Posts (Atom)