การเรียนรู้ด้วยตนเองจากทฤษฎีการเชื่อมต่อ
(Connectivism)
จากนโยบายรัฐบาล สู่โรงเรียน ครู
ห้องเรียน และนักเรียนจากนโยบายรัฐบาล สู่โรงเรียน ครู
ห้องเรียน และนักเรียน
วีรชาติ
มาตรหลุบเลา
ห้องเรียน ณ เวลาปัจจุบัน
ปลายปี 2558 ย่างเข้าสู่ปี 2559 สภาพแวดล้อมบางอย่างเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น
รัฐบาลและท้องถิ่นได้สนับสนุนการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องทุกปี
เช่นในปีการศึกษา 2558 นี้ได้มีการสนับสนุนโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Dlit) จากโครงการนี้ได้มีการสนับสนุนการเรียนการสอนทั้งด้าน
Solfware Hardware Peopleware และ Data ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนในโครงการนี้
เช่น บริษัท กูเกิ้ล ประเทศไทย (Google App for education)
บริษัทไมโครซอฟต์ประเทศไทย (Office 365 for education)
บริษัทแอบเปิ้ล ประเทศไทย (iTunes
U) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ Digital Economy ของรัฐบาลปัจจุบัน
กิจกรรมการเรียนการสอนได้รับการสนับสนุนให้ใช้สื่อที่ทันสมัยนั้นเกิดกิจกรรมการเรียนการสอนขึ้นทั้งในรูปแบบออนไลน์และในรูปแบบออฟไลน์
จึงทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนในปีนี้เริ่มมีเค้าโครงการเข้าสู่การเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น บทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในชั้นเรียนจึงควรมีความหลากหลายสามารถเชื่อมต่อการเรียนรู้กับส่วนอื่น
มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม มีความถูกต้อง
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การเรียนรู้ในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในชั้นเรียนอีกต่อไป
นักเรียนเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งที่โรงเรียน
ที่บ้านและทุกที่ที่ต้องการเรียนรู้ ด้วยการสังเกต การคิด การอ่าน การฟัง การพูด
การตั้งถาม การค้นคว้า การแลกเปลี่ยนความรู้
ซึ่งการเรียนรู้นี้อาจเกิดขึ้นในระดับกลุ่ม ระดับบุคคล หรือระดับองค์กร
แต่การเรียนรู้นั้นต้องเกิดในระดับบุคคลก่อนจึงจะเกิดการเรียนรู้ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร
แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้ขึ้นในระดับบุคคลแล้วอาจไม่เกิดการเรียนรู้ระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร
(Sange, 1990) โดยในแนวคิดด้านการเรียนรู้อย่างเป็นระบบนี้มีนักทฤษฏีที่มีเชื่อเสียงหลายท่านได้เสนอแนวคิดการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ขึ้นหลากหลายแนวคิด
เช่น มาร์คอร์ต และ โรโนล์ กล่าวถึงปัจจัยการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) การเรียนรู้ 2) องค์กร 3) บุคคล 4) ความรู้
และ 5) เทคโนโลยี (Marquardt,
& Raynolds, 2002, pp. 23-33) ดังนั้น จึงควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเริ่มจากระดับบุคคล เช่น
เริ่มที่ครู เริ่มที่ห้องเรียน เมื่อเกิดการเรียนรู้จึงจะเกิดการเชื่อมต่อองค์ความรู้
และเกิดความรู้ใหม่ ซึ่งเป็นความรู้ที่เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ตามสถานการณ์
ตามปัจจัยหรือตามตามองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
บทความการเรียนรู้ด้วยตนเองจากทฤษฎีการเชื่อมต่อ (Connectivism) จากนโยบายรัฐบาลสู่โรงเรียน ครู ห้องเรียน และนักเรียน นี้สนใจศึกษาการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากทฤษฎีการเชื่อมต่อ
(Connegtivism) เช่น Youtube.com Facebook.com blog และสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ เขียนจากการศึกษาแนวคิดทฤษฏี เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนและการสัมภาษณ์ครู
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การเรียนรู้ด้วยตนเองจากทฤษฎีการเชื่อมต่อ
(Connegtivism)
ทฤษฎีการเชื่อมต่อ
Connectivism (Siemens.
2004 อ้างถึงใน อนุสรณ์ หงษ์ขุนทศ .2558 ) ได้กล่าวถึงความหมายของทฤษฏีการเชื่อมต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิตอล
(แนวคิด Learning Theory for digital age. ) โดยมีใจความสำคัญว่า
เมื่อมนุษย์มีการเชื่อมโยงถึงกันและสามารถค้นหาความรู้จากแหล่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทำให้ความรู้ที่มีอยู่นั้นอายุสั้นลง
ความรู้ที่ทันสมัยในปัจจุบันกลายเป็นความรู้ที่ล้าสมัยในเวลารวดเร็วอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีได้มีการเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วตลอดเวลา
ส่งผลให้มนุษย์จำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
แนวคิดทฤษฏีการเชื่อมต่อจึงได้มีการให้คำจำกัดความและวางกรอบแนวคิดขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเรียนรู้ในโลกดิจิตอลและอินเตอร์เน็ตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ส่งผลให้สิ่งต่างๆเหล่านี้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของมนุษย์ในปัจจุบันซึ่งสื่อดิจิตอลและอินเตอร์เน็ตมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง
อิทธิพลจากการใช้สื่อดิจิตอลและอินเตอร์เน็ตดังกล่าวจะส่งผลต่อการนำความรู้ที่ได้จากการเชื่อมต่อเพื่อพัฒนาแหล่เรียนรู้และสังคมต่อไป
อ่านต่อ ตามลิงค์นี้ครับ https://web.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fdrive.google.com%2Ffile%2Fd%2F0BzslMJIrSc1kT0pPbzZETXlwLUU%2Fview%3Fusp%3Dsharing&h=HAQGXgnpX&s=1
อ่านต่อ ตามลิงค์นี้ครับ https://web.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fdrive.google.com%2Ffile%2Fd%2F0BzslMJIrSc1kT0pPbzZETXlwLUU%2Fview%3Fusp%3Dsharing&h=HAQGXgnpX&s=1
No comments:
Post a Comment