ระเบียบวิธีวิจัย แบบเชิงปริมาณและการประเมินเพื่อตอบสนองแบบมีส่วนร่วม(Stekeholder)
ต่อเป้าหมายและบทบาทของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน STEM
รวบรวมโดย นายวีรชาติ มาตรหลุบเลา
การวิจัย (อังกฤษ: research)
หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง
ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์
โดยทั่วไป
เป็นที่เข้าใจกันว่าการวิจัยคือการกระทำตามกระบวนการที่มีโครงสร้างเฉพาะอันใดอันหนึ่ง
แม้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ดังกล่าวจะมีความผันแปรแตกต่างกันไปตามลักษณะของเนื้อหางานและตามนักวิจัยอยู่บ้างก็ตาม
แต่ส่วนใหญ่ทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้:
1.การวางเนื้อเรื่องและกำหนดชื่อเรื่อง2.การตั้ง 2.การตั้งสมมุติฐาน 3.การนิยามแนวคิด (Conceptual definition)
4.การนิยามวิธีการทำวิจัย (Operational definition)
5.การรวบรวมข้อมูล
6.การวิเคราะห์ข้อมูล
7.การทดสอบและการปรับสมมุติฐาน
5.การรวบรวมข้อมูล
6.การวิเคราะห์ข้อมูล
7.การทดสอบและการปรับสมมุติฐาน
8.การสรุปและการทำซ้ำ (iteration) ถ้าจำเป็น
วิธีการวิจัย ที่ใช้กันในปัจจุบัน
1.การวิจัยเชิงปฏิบัติ
2.ชาติพันธุ์วรรณา
3.วิธีเดลฟาย
4.การวิเคราะห์เชิงสถิติ
5.การจำลอง หรือ ซีมิวเลชัน
6.แบบจำลอง
7.แบบจำลองคณิตศาสตร์
8.การสัมภาษณ์
9.แบบสอบถาม
10.การทำแผนที่ (Cartography)
11.กรณีศึกษา (Case study)
12.การจำแนกประเภท (Classification)
13.การวิเคราะห์ข้ออ้างอิง (Citation Analysis)
14.การถือชาติพันธุ์ของผู้บริโภค (Consumer ethnocentrism) และ CETSCALE
15.ตัวบทหรือ
15.ตัวบทหรือการวิเคราะห์ตัวบท (Content or Textual Analysis)
16.ประสบการณ์ (Experience)
17.การรู้เอง (intuition)
18.การทดลอง (Experiment)
19.การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation)
20. ปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology)
21.วิธีวิทยาคิว (Q methodology)
22.การสำรวจเชิงสถิติ (Statistical survey)
1.มีการรับรู้ของทั้งสองกลุ่มผู้นำ ผู้มีส่วนได้เสีย ต่อเป้าหมายทั้ง 9 ข้อ ของการจัดการเรียนการสอนสะเต็มในแคลิฟอร์เนีย หรือไม่
2.มีการรับรู้ของทั้งสองกลุ่มผู้นำ ผู้มีส่วนได้เสีย ต่อการประเมินและบทบาท การจัดการเรียนการสอนสะเต็มในแคลิฟอร์เนีย หรือไม่
3.สภาพปัจจุบันของความร่วมมือในรัฐแคลิฟอร์เนียในการรับรู้ของทั้งสองกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียคืออะไร
2.มีการรับรู้ของทั้งสองกลุ่มผู้นำ ผู้มีส่วนได้เสีย ต่อการประเมินและบทบาท การจัดการเรียนการสอนสะเต็มในแคลิฟอร์เนีย หรือไม่
3.สภาพปัจจุบันของความร่วมมือในรัฐแคลิฟอร์เนียในการรับรู้ของทั้งสองกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียคืออะไร
การวิจัยโดยปกติทั่วไปจะประกอบไปด้วย
5 ขั้นตอน
1.กำหนดปัญหา
2.ตั้งสมมติฐาน
3.เก็บข้อมูล
4.วิเคราะห์
5.สรุปผล
ขั้นตอนการวิจัยทั้ง
5 ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนพื้นฐานในการทำการวิจัย
ซึ่งมีคล้ายกับขั้นตอนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หรือในการทำวิทยานิพนธ์
เป็นกระบวนการหนึ่งในการค้นหาความรู้ความจริง ซึ่งขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยได้เกือบทุกงานวิจัย
แต่ละงานวิจัยอาจมีส่วนย่อย
หรือส่วนเพิ่มเติมตามวัตถุประสงค์และวิธีการวิจัยที่ผู้วิจัยออกแบบขึ้น
แต่ในภาพรวมแล้วขั้นตอนการวิจัยหลักๆจะประกอบด้วย 5 ขั้นตอนนี้
ระเบียบวิธีวิจัยที่มีการใช้
ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้โดยนักวิชาการทั่วไปแบ่งออกได้หลายประเภทดังนี้
อ้างอิงที่มา :: https://th.wikipedia.org/wiki/วิธีการวิจัย
การวิจัยทั่วโลกได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเหล่านี้ในหลากหลายรูปแบบ
ทั้งในการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยแบบผสม
ซึ่งอาจนำวิธีการวิจัยหลายๆวิธี
นำมาใช้เพื่อหาคำตอบและเป็นการใช้จุดแข็งของแต่ละวิธีเพื่อทดแทนจุดด้อยของอีกวิธี
ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลทางการวิจัยครบ เพียงพอ ครองคลุม ตรงตามวัตถุประสงค์
นักวิจัยจากทั่วโลกได้ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบวิธีการ กระบวนการวิจัย
โดยหลายๆประเทศดั้งสมาคมการวิจัยขึ้นมาเพื่อสนับสนุนและสร้างมาตรฐานวิชาชีพทางการวิจัยเช่น
สภาวิจัยแห่งชาติ ประเทศไทย
จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2499 จากรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติฉบับแรก แต่งตั้งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ เป็นเลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติโดยตำแหน่ง
และตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติขึ้นที่กรมวิทยาศาสตร์เป็น การชั่วคราว
การวิจัยได้รับการพัฒนาและยุกต์ใช้ในหลายศาสตร์วิชา
เช่น การวัดและประเมินผล ในสาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา ที่ผู้เขียนกำลังศึกษาอยู่
ณ ขณะนี้
เป็นศาสตร์หนึ่งที่มีการนำการวิจัยมาประยุกต์เข้ากับศาสตร์ของการประเมินผล
เพื่อใช้ในการสร้างความรู้และพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์การประเมินผล
ซึ่งได้มีนักวิจัยหลายๆคนจากทั่วโลกได้ทำการวิจัยเชิงประเมิน
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาหาข้อเท็จจริง ประเมินและตัดสินคุณค่า ของสภาพปัญหา
หรือปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
การศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความเพียงพอต่อการเป็นตัวอย่างที่ดีของประชากรทั้งหมด
โดยการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินกลุ่มตัวอย่างนั้นตามวัตถุประสงค์
จากการออกแบบด้วยระเบียบวิธีการวิจัยต่างๆที่กล่าวมาในข้างต้น
ผู้วิจัยทำการออกแบบวิธีการเข้าถึงการค้นหาความรู้ความจริง
ด้วยวิธีการวิจัยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือใช้หลายวิธี เช่น วิธีการสัมภาษณ์
วิธีการสำรวจ วิธีการเดลฟาย วิธีการชาติพันธุ์วรรณา
ซึ่งการวิจัยเพื่อหาความรู้ความจริงนี้
นักวิจัยจะเป็นเลือกใช้ระเบียนวิธีการวิจัยที่เหมาะสมกับการค้นหาความรู้ความจริงนั้น
การวิจัยเชิงประเมินเป็นการวิจัยที่มุ่งประเมินและตัดสินคุณค่า
ซึ่งผู้วิจัย อาจจะใช้ระเบียบวิธีการวิจัยหลายรูปแบบเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้มากที่สุด
และสร้างเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรง สามารถวัด จำแนก หรือประเมินได้อย่างถูกต้อง
มีความเชื่อมุ่น ผู้เขียนได้ศึกษาหัวข้อวิจัยเชิงประเมิน
ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เรื่อง”A QUANTITATIVE STUDY
OF STEM GOAL AND ROLE ALIGNMENT ACROSS STAKEHOLDER LEADERS IN CALIFORNIA:
ADVOCACY FOR APPLICATION OF A SYSTEMS SOLUTION APPROACH” โดย Dawn Garrett
( Dawn
,2013) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงการประเมิน
ได้มีการนำแนวคิดการประเมินแบบเชิงธรรมชาติและมีส่วนร่วม มาร่วมทำการวิจัย ซึ่งผู้เขียนจะนำเสนอ
วิธีการวิจัยและผลของการวิจัยตามลำดับ
การศึกษาเรื่อง
การศึกษาเชิงปริมาณสะเต็มศึกษาและบทบาทการเป็นผู้นำแนวทางการประเมินแบบ Stekeholder
ในรัฐ แคลิฟอร์เนีย : สนับสนุนการประยุกต์วิธีการแก้ปัญหาเชิงระบบ
ซึ่งเป็นการทำการวิจัยเกี่ยวกับสภาพปัญหาปัจจุบันของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษา
และทำการจัดเรียงลำดับจากผู้มีส่วนได้เสียตามแนวคิด Stekeholder โดยเลือกผู้มีส่วนได้เสีย ผู้นำวิทยาลัย ผู้นำด้านอุตสาหกรรม เช่น Microsoft,
Baxter International, Cisco Systems, Raytheon, Chevron,
EXXON ทำการสำรวจมุมมองของเขาเหล่านั้นต่อความสำคัญของการเรียนการสอนสะเต็ม
การวิจัยครั้งนี้ยังศึกษามุมมองปัจจุบันของเหล่าผู้นำที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมสะเต็มในด้านการให้ความร่วมมือและการบูรณาการการเรียนการสอนด้วยกัน
ของผู้มีส่วนได้เสียในรัฐแคลิฟอร์เนีย
นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ทบทวนวรรณกรรม เพื่อสำรวจความคิดเชิงระบบ
จึงทำให้สามารถพัฒนากลยุทธที่มีประสิทธิภาพ ที่จะเข้าสู่โอกาสที่ท้าทายด้านแรงงานที่มีความซับซ้อนของรัฐแคลิฟอร์เนีย
เพื่อที่จะสืบหาระดับปัจจุบันของกับเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงของการจัดการศึกษาสะเต็มศึกษาของรัฐแคลิฟอร์เนีย
ตลอดจนบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด (Stekeholder) เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสีย
ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างและจัดทำแผนกลยุทธ์ บูรณาการวิธีการที่หลากหลาย
เพื่อให้ทันต่อความต้องการใช้งานแรงงานด้านสะเต็มกว่า 1,148,000 ตำแหน่งงานในรัฐแคลิฟอร์เนียและต้องผลิตแรงงานที่มีทักษะสะเต็มนี้ให้ทันในปี
2018 ซึ่งปริมาณงานนี้มาจากการสำรวจความต้องการของภาคแรงงานแล้ว
(Stemconnector, 2011)
สิ่งเหล่านี้จะสำเร็จได้ด้วยการเจาะจงสำรวจเชิงปริมาณ
และสรุปด้วยด้านสนทนาจากผู้มีส่วนร่วมได้เสียตามหลักวิธีการ Stekeholder ในการจัดการเรียนการสอนสะเต็ม จากการวิจัยนี้
จะนำไปเพื่อศึกษาแนวทางการวางอนาคตของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสะเต็มในรัฐแคลิฟอร์เนีย
และเป็นข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งแต่ไป
ในการวิจัยนี้ ได้มีการนำแนวคิดการประเมินแบบเชิงธรรมชาติและมีส่วนร่วม
มาร่วมทำการวิจัย และเป็นการวิจัยโดยการสำรวจความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย (Stekeholder) ผู้เขียน จึงนำเสนอแนวคิดการประเมินเชิงตอบสนองของสเตคเพื่อให้เข้าใจหลักและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพดังกล่าวนั้นให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อปัญหาและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียในโครงการซึ่งในหัวข้อการวิจัยที่นำมาศึกษานี้
สุธรรม
รัตนโชติ เขียนเรียบเรียงเกี่ยวกับ (สุธรรม,2548) กระบวนการบริหารผู้ได้ประโยชน์
การบริหารผู้ได้ประโยชน์ (Stakeholder Management, SM) หมายถึง
การบริหารจัดการองค์กรอย่างมีจริยธรรมทำให้ผู้ได้ประโยชน์ (Stakeholders) ทุกฝ่ายได้ประโยชน์อย่างเสมอกันตามสิทธิประโยชน์ที่พึงมีตามกฎหมาย
ประเพณีนิยม หรือตามที่ตกลงกันไว้ โดยยุทธศาสตร์ “ทุกฝ่ายชนะ” (Win-Win Strategy) ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจที่ทำให้ผู้ได้ประโยชน์ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ตามความเป็นธรรมและเสมอภาค3
ซึ่งโดยปกติการตัดสินใจทางธุรกิจมักจะมีผู้ได้ (Winners) และผู้เสีย
(Lossers) อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะแข่งขัน
กระบวนการบริหารผู้ได้ประโยชน์
(Stakeholder Management Processes, SMP) หมายถึง
การดำเนินการเป็นขั้นตอนในการบริหารผู้ได้ประโยชน์ โดยทั่วไปมีการดำเนินการเป็น 7 ขั้น คือ
1.
เขียนแผนภูมิความสัมพันธ์ระหว่างผู้ได้ประโยชน์
2.
เขียนแผนภูมความร่วมมือระหว่างผู้ได้ประโยชน์
3.
ประเมินระดับการสนับสนุนบริษัทของผู้ได้ประโยชน์
4.
ประเมินระดับอำนาจของผู้ประเมินต่อความรับผิดชอบของบริษัท
5.
สร้างตารางความรับผิดชอบของผู้ได้ประโยชน์
6.
กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะใช้กับผู้ได้ประโยชน์
7.
ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงระดับอำนาจของผู้ได้ประโยชน์
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นเทคนิคที่ใช้ในการระบุคนสำคัญที่จะต้องมีการวางแผนร่วมกัน
การมี ส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างการสนับสนุนที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ ดังภาพที่
1
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย
ภาพที่ 1
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย
จากการศึกษา เรื่อง”A
QUANTITATIVE STUDY OF STEM GOAL AND ROLE ALIGNMENT ACROSS STAKEHOLDER LEADERS
IN CALIFORNIA: ADVOCACY FOR APPLICATION OF A SYSTEMS SOLUTION APPROACH” โดย Dawn Garrett ( Dawn ,2013) พบว่า ผลลัพธ์ของการวิจัยเป็นไปในทิศทางที่เป็นบวกต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานการเรียนรู้มาใช้วิธีการสะเต็มสำหรับปัญหาการทำงานด้านสะเต็ม
โดยผู้มีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากการจัดการเรียนการสอนสะเต็มให้ความสำคัญกับปัญหาการทำงานจากทักษะการเรียนสะเต็ม
โดยผลที่ออกมาใกล้เคียงกับที่มีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งคล้ายกับปัญหาสังคมโดยทั่วไปที่ส่วนมากมีปัญหาในขั้นตอนแรกคือการระบุปัญหา
ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติโดยทั่วไปที่ทำได้โดยการใช้ผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและบทบาทเพื่อลงสู่การแก้ไขปัญหาในระดับชาติต่อไป
การเปิดระบบสภาพแวดล้อมของการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มจะทำให้เหล่าผู้มีส่วนร่วมช่วยสร้างพฤติกรรมใหม่ให้กับนักเรียน
คำแนะนำสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เตรียมข้อมูลไว้สองกลุ่ม
คือผู้จัดการศึกษาและผู้นำด้านอุตสาหกรรม คำแนะนำสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป
แนะนำให้เก็บข้อมูลจากกลุ่มอื่นประกอบด้วย 1.หน่วยงานราชการ องค์กรไม่แสวงหากำไร
และผู้นำชุมชนต่างๆ 2.ทำการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์
กับกลุ่มผู้นำด้านต่างๆเกี่ยวกับความต้องการเร่งด่วนในการได้รับความร่วมมือในรัฐฯ 3.ควรมีการศึกษาที่มีความเฉพาะเจาะจงลงในเขตพื้นที่ต่างทั้ง
8 เขต
เพื่อให้สามารถเข้าถึงองค์กรไม่หวังกำไร เช่น โรงเรียน ส่วนราชการ
จากการลงความเห็นฉันทามติ
ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจากการประเมินในรูปแบบ Stekeholder นั้นมีความเห็นต่อ
งานของแรงงานในกลุ่มการเรียนสะเต็มยังมีอีกมากและส่งผลโดยตรงกับคุณภาพและมาตรฐานชีวิต
ตลอดจนความปลอดภัยในการใช้ชีวิตรวมถึงความสามารถในการแข่งขันกับระดับนานาชาติ
การก่อนการร้าย และภาวะโลกร้อน
ทุกหน่วยงานคงจ้องมาที่อเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่มีนวัตกรรมต่างๆที่ทันสมัยมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดที่สำคัญนั้นคือ อุตสาหกรรม หน่วยงานออกกฏระเบียบนโยบาย
จะต้องศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งจากการสำรวจขององค์กรการค้าสหรัฐอเมริกา
ปี 2002 ได้เขียนโน้ตการศึกษาว่า อเมริกา
ไม่มีการเติบโตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาตั้งแต่ปี 1999 ซึ่งจะเสียอันดับในการแข่งขันให้กับประเทศอื่นที่กำลังเติบโตและพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ในการทำดุษฏีนิพนธ์นี้ Dawn
Garrett ( Dawn ,2013)
ได้ทำการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องหรือทำการทบทวนวรรณกรรมและทำการสำรวจเชิงปริมาณจากผู้มีส่วนได้เสียจากกิจกรรมการเรียนการสอนสะเต็ม
เพื่อนำไปสู่การประยุกต์การคิดเชิงระบบเพื่อแก้ปัญหาสังคม นอกจากนี้
การวิจัยเชิงปริมาณ แสดงให้เห็นถึงสภาพปัจจุบันในมุมมองของผู้มีส่วนได้เสียจากโครงการโดยรูปแบบการประเมินแบบตอบสนองและมีส่วนรวม
(Stekeholder) โดยประกอบด้วยภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา
ซึ่งการวิจัยสำรวจหาคำตอบมีขอบเขตดังนี้
ในการศึกษาของประเทศไทย
สะเต็มศึกษา
ได้นำเข้ามาจัดการเรียนการสอนโดยการสนับสนุนจากสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ สสวท.
การวิจัยและพัฒนาการศึกษาสะเต็มศึกษายังคงพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง วิธีการสอน
รูปแบบการประเมิน
การมีส่วนร่วมตามแนวคิดรูปแบบการประเมินเพื่อตอบสนองแบบมีส่วนร่วม (Stekeholder)
อาจเป็นอีกทางหนึ่งในการพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาในประเทศไทย
อ้างอิง
Dawn Garrett.(2013). A quantitative study of stem goal and role alignment across
stakeholder leaders in california: advocacy for application of a systems
solution approach.
Graduate
School of Education and Psychology Pepperdine University.
Joseph
W. Weiss. Business Ethics, Canada: Thomson, 2503,p.33
Stake, R.E. (1975). Evaluation the arts in
education : A responsive approach. Charles E Merill,Columbus,Ohio.
R. Edward Freeman. Strategic
management : A Stakeholder approach, Boston :
Pitman, 242 Reproduced
with permission of the Publisher.
ดร.สุธรรม รัตนโชติ.2548. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์.2553 .วิธีวิทยาการการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
No comments:
Post a Comment