Desimone (2009)
เสนอ 5 แกน ลักษณะการพัฒนาวิชาชีพที่สามารถเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติของครู
ประกอบด้วย 1.ให้ความสำคัญเนื้อหา (focus content) 2.การเรียนแบบเชิงรุก(Active learning) 3.การเชื่อมโยง (Coherence) 4.ระยะเวลา(duration) 5.
การมีส่วนร่วม (Collective)
ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มความรู้และของครู ที่จะเปลี่ยนความเชื่อและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการสอนสิ่งนั้นจะทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน
โมเดลการพัฒนาครูได้ทดลองใช้และสามารถพัฒนาคะแนนทดสอบของโรงเรียนให้มีระดับสูงขึ้น
โดยสรุปสภาวะแวดล้อมสู่ความสำเร็จ คือ 1.ภาวะความเป็นผู้นำ
ซึ่งประกอบด้วยการสนับสนุนระบบ ความร่วมมือ
และการแชร์วิสัยทัศน์ของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2.โรงเรียนและมหาวิทยาลัยช่วยในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
มีการเตรียมผู้เชี่ยวชาญสำหรับสนับสนุนความรู้เนื้อหาสาระทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นและวิธีการนำความรู้นั้นมาสอน 3.การบูรณาการเทคโนโลยี
เพื่อเตรียมสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปการสอนวิทยาศาสตร์
การประสบความสำเร็จของโรงเรียนที่เข้าร่วมนั้น เน้นความสำคัญกับองค์ประกอบหลายส่วน
เช่น ความยั่งยืนของการพัฒนาวิชาชีพครู ให้สามารถขยายขอบเขตการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
โดยการเตรียมให้ครูมีโอกาสร่วมมือกันทางการปฏิบัติการสอน
และสะท้อนคุณค่าลงสู่ผู้เรียน
การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในการพัฒนาวิชาชีพสามารถอธิบายโดยการปรับปรุงพัฒนาการออกแบบโปรแกรม
สนับสนุนความเป็นผู้นำ การสนับสนุนเพื่อเพิ่มเนื้อหาสาระและวิธีการสอนของครู
ตลอดจน โรงเรียนและมหาวิทยาลัย และความพยายามในการใช้เทคโนโลยีในการบูรณาการการเรียนรู้ตามสภาพจริง
ในการปฏิรูปการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับพัฒนานักเรียนนั้น
ความเป็นผู้นำจะทำให้เกิดความแตกต่าง
เมื่อผู้นำเตรียมวิสัยทัศน์และสนับสนุนตามโครงสร้างองค์กร สร้างศักยภาพของครู
และการเรียนรู้ของนักเรียนให้เพิ่มขึ้น ชุมชนการเรียนรู้ (Professional
community) เป็นปัจจัยที่เป็นสื่อกลางในการพัฒนานี้
ซึ่งต้องเกิดการสนับสนุนอย่างเป็นระบบขึ้นในการพัฒนาความรู้ของครูและเปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติ
(Desimone 2009;Inveson,Meiers ,Beavis 2005) เมื่อมีการใช้กลยุทธ์ใหม่นี้
ผู้บริหารและครูจะต้องมีกระบวนการการสนับสนุนให้กำลังใจ (Printy and Marks
2006) ความเป็นผู้นำทางการสอนที่มีประสิทธิภาพ เป็นกุญแจในการพัฒนาโรงเรียนและช่วยครูในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาชีพ
ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในระยะที่ 1 โปรแกรมการสร้างผู้นำ
การบูรณาการเทคโนโลยีสามารถเป็นตัวเร่งการเรียนรู้ของครู
(Williams
et al.2008) บทบาทหนึ่งของเทคโนโลยีที่เป็นกุญแจสำหรับการพัฒนาวิชาชีพ
ประกอบด้วย 1.การค้นหาเทคโนโลยีที่เป็นทีต้องการของผู้มีส่วนร่วม
2.มีทักษะในการเป็นผู้อำนวยความสะดวก 3.เชื่อมต่อเนื้อหาสาระกับการปฏิบัติการสอนของครู 4.พัฒนาและนำนวยความสะดวกในชุมชนการเรียนรู้
5.สร้างกลไกลในการสะท้อนการเรียนรู้ (Loucks-I
Iorsley et al. 2003) การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถสร้างผลกระทบต่อความสำเร็จของนักเรียน(student
achievement) การสร้างแนวคิดด้วยต้นเอง(self-concept) และคุณภาพของการโต้ตอบระหว่างนักเรียนและครู
(Bialo and Sivin-Kachala 1996) เมื่อกลยุทธการปฏิรูปการสอนถูกฝังเข้าไปในวัฒนธรรมการสอน
การปฏิรูปการสอนวิทยาศาสตร์จะเกิดขึ้นเร็วมาก
โดยการใช้การสอนแบบสืบเสาะในการเรียนและการสอน กระบวนการพัฒนาวิชาชีพที่ยั่งยืนจะมีผลกระทบต่อบริบทของโรงเรียน
มีการเชื่อมโยงสู่ภาพรวมของการเรียนรู้
การสนับสนุนจากเครือข่ายโรงเรียนแลมหาวิทยาลัยและเครือข่ายด้านนอกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับการสอนซึ่งสิ่งที่สำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการสอนให้กับครูโดยการสะท้อนวิธีการและกระบวนการสอนและนำไปสู่การปฏิบัติ
สรุป
การพัฒนาวิชาชีพที่เกิดผลที่ยั่งยืนคือการแบ่งปันวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Share vision) และการเป็นผู้นำร่วมกัน (Share Leadership)
ซึ่งสองสิ่งนี้ทำให้เกิดความแตกต่าง หากผู้นำที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
นำนวัตกรรมสู่การปฏิบัติ ณ โรงเรียน และนำผู้เชี่ยวชาญจากด้านนอกโรงเรียนช่วยในการปฏิรูปการสอน
จะสามารถนำพาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการสอนและเกิดผลสำเร็จต่อนักเรียน
โดยมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจนทำให้ครูเกิดความไว้วางใจและเปิดใจที่จะปรับเปลี่ยนการปฏิบัติการสอนด้วยการใช้การวิจัยเป็นฐานในการปฏิบัติการสอน
นั้นจะเพิ่มการเรียนรู้และเพิ่มความสำเร็จในการเรียนของนักเรียน
No comments:
Post a Comment