วันนี้ อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักวัดได้ 45 องศา (เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2) การย่อยสบายแบบใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต เมื่อเกิดการย่อยสลายจะทำให้กองปุ๋ยมีอุณหภูมิสูงขึ้น อาจสูงถึง 100 องศา ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่อจุลินทรีย์ที่ใชออกซิเจนในการหายใจตาย ใบไม้จะไม่สามารถย่อยสลายได้ และจะเป็นการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เกิดก๊าซมีเทน ก๊าซมีเทนทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกได้สูงกว่าคาร์บอนไดออกไซต์ 21 เท่า การทำโครงงานปุ๋ยหมักแบบควบคุม เป็นการศึกษาและออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเติบโตของจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต ข้อดีคือ 1.ลดการเกิดก๊าซมีเทน 2.ลดเวลาในการทำปุ๋ยหมักให้สั้นลง ได้ผลเร็วขึ้น
การจัดการเรียนการสอนนี้ผมสอนในวิชาโครงงานนะครับ แต่บูรณาการเข้ากับวิชาวิทยาศาสตร์ ช่วงอาทิตย์ที่สองใบไม้ด้านล่างเริ่มเปลียนจากสีเหลืองแดงเป็นสีดำ และเริ่มสลายผุพัง ผมให้นักเรียนจดบันทึก และวิเคราะห์เชื่อมโยงการย่อยสลายกับตัวแปรอื่นเช่น อุณหภูมิ ความชื้น กรดเบส
No comments:
Post a Comment