โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Saturday, December 1, 2012

หลักทฤษฎีและปฎิบัติการบริหารการศึกษา (Pricnciples,Theories and practices of Educational Administrator)

วันนี้นอนไม่หลับดูนาฬิกาแล้วเที่ยงคืนกว่าๆ พรุ่งนี้ก็ไม่มีงานค้าง(ยกเว้นงานค้นคว้าอิสระ) เปิดโน๊ตบุ๊คนั่งอับเฟสบุ๊คแล้วก็ยังไม่ง่วงก็เลยมานั่งอับโหลดคลิปที่เรียนวันนี้ต่ออีกสักครึ่งชั่วโมง วันนี้เป็นอาทิตย์ที่สองของการเรียน วิชา หลักทฤษฎีและปฎิบัติการบริหารการศึกษา (Pricnciples,Theories and practices of Educational Administrator) ซึ่งสอนโดย ดร.เฉลิมชัย หาญกล้า

บรรยากาศการเรียนเยี่ยมมากๆครับได้ทั้งสาระและความบันเทิง ผมว่า คุ้มกว่าซื้อบัตรเดียวไมโครโฟนของโน๊ตอุดมมากเลยทีเดียวครับ  กิจกรรมการเรียนวิชานี้มีหลากหลายครับทั้งมอบหมายงานค้นคว้างอิสระ อภิปราย บรรยาย และนำเสนอผลงาน สุดท้ายด้วยการสอบภาคทฤษฎี ซึ่งขอบข่ายเนื้อหาวิชานี้ประกอบด้วย 1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา 2.แนวคิดและพัฒนาการของทฤษฎีการบริหารการศึกษา 3.โครงสร้างและการจัดการองค์การเพื่อการบริหารการศึกษาของไทย 4.การกระจายอำนาจทางการศึกษา 5.ภาวะผู้นำทางการศึกษา 6.มนุษย์สัมพันธ์และการจูงใจ 7.วัฒนธรรมและบรรยากาศองค์การทางการศึกษา 8.การเปลี่ยนแปลงขององค์การทางการศึกษา 9.การพัฒนาองค์การทางการศึกษา 10.การนำเสนอบทความทางวิชาการ
                   การเรียนการสอนในรูปแบบการถ่ายทอดประสบการณ์นี้มีประโยชน์สำหรับผมมากครับ ซึ่งการเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆก่อนที่เราจะต้องทำการ วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้เหล่านั้นเพื่อตอบสนององค์กรที่เราทำงาน(ในที่นี้องค์การคือโรงเรียนที่ผมสอนครับ) กลุ่มผมได้หัวข้อการนำเสนอผลงานวิชาการเรื่องการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การสำหรับสถานศึกษา ซึ่งผมคิดว่าเป็นโจทย์คลาสสิกอีกหัวข้อหนึ่งครับ ซึ่งต้องใช้ทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ ซึ่งต้องนำเสนอในแนวการบริหารการศึกษาและต้องโฟกัสลงเชิงบริหาร ทั้ง 4 ฝ่าย ซึ่งในโรงเรียนทุกที่ปกติแล้วจะแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ฝ่ายแต่บางที่อาจมีมากกว่านี้ครับ ซึ่งบางอย่างผมก็ได้แชร์ไปบ้างแล้วเช่น
21st Century Skills  ซึ่งว่าด้วย ทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Life Skills, ICT Skills, Learning Skills) เป็นแนวคิดหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การสำหรับสถานศึกษา 


                คลิปด้านล่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนนะครับเอามาเล่าสู่กันฟัง แชร์ไว้เผื่อมีประโยชน์กับผู้อ่านครับ




No comments:

Post a Comment

like