โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Sunday, November 18, 2012

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน Project Base Learning

          เช้าวันจันทร์อากาศเย็นสบายสัมผัสได้ถึงสายลมที่เริ่มหนาวเย็น อุณหภูมิลดต่ำลงจากวันก่อนๆ วันนี้ผมเล่าเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน Project Base Learning ต่ออีกวันนะครับ เนื่องจากช่วงนี้ต้องเร่งเรื่องการทำเครื่องตัดหญ็าพลังแสงอาทิตย์ เคลื่อนที่อัตโนมัติ การเรียนการสอนเริ่มต้นอย่างต่อเนื่องจากภาคเรียนที่ 1/2555 ซึ่งเริ่มจากกิจกรรมชุมนุมนักประดิษฐ์ ซึ่งเทอมที่แล้วผมเปิดสอนเป็นครั้งแรก แต่ ครูชำนาญและครูจำรัสเปิดสอนวิชานี้มานานแล้ว
            การสอนแบบ Project Base Learning ในบทความที่แล้ว ผลพลอยได้ของการเรียน Project base learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผมบอกนักเรียนว่าเราไปเที่ยวหาประสบการณ์ ปีนี้ไปแข่งที่เชียงใหม่ เราพัฒนารูปแบบของหุ่นยนต์ 3-4 รอบแล้ว แปลงร่างจนลืมร่างเดิม ลองผิดลองถูก ได้เชื่อมโยงความรู้ที่มีอย่างเต็มที่ ผมหวังว่าความรู้ที่นักเรียนได้จากการศึกษา ค้นคว้าและได้ทำจริงในครั้งนี้จะช่วยให้นักเรียนมีทัศนะคติในการเรียนในด้านบวก และสนุกกับการเรียนนะครับ



            การสอนในรูปแบบ Project Base Learning นั้นต้องใช้ความรู้เชื่อมโยงและบูรณาการณ์หลายอย่างครับ และของเขตข้อจำกัดด้านวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งสถานการณ์นี้สร้างให้เกิดการประยุกต์เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ให้เข้ากันได้กับชิ้นงานของตนเอง รวมถึง การออกแบบ ปรับปรุงแก้ไข อีกหลายรอบ ซึ่งต้องใช้ความรู้และทักษะที่เรียนในห้องเรียนและหลายๆเรื่องต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตและสอบถามผู้มีความรู้เพื่อนำมาออกแบบ ปรับปรุง แก้ไข ชิ้นงาน

            การเรียนการสอนครั้งนี้ใช้ความรู้ ศาสตร์ ศิลป์ หลายอย่างครับ  เช่น ศิลปะและการออกแบบ  ฟิสิกส์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์  การสืบค้นความรู้
          
            ในส่วนวิชาฟิสิกส์ ต้องใช้เรื่องของ การเคลื่อนที่ งานและพลังงาน ไฟฟ้า วัสดุและอุปกรณ์ไฟฟ้า  การทดกำลัง  การทดรอบของเฟือง  การเชื่อมต่อควบผมแบบตรรกศาสตร์  เซ็นเซอร์และอุปกรณ์การวัด   สรุปว่า วิชาฟิสิกส์เกือบครึ่งหลักสูตร อยู่ในนี้ครับ

ภาพด้านล่างเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในกิจกรรมการเรียนการสอน Project Base Learning




1.การออกแบบ รวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างชิ้นงาน


2.เลือกวัสดุ อุปกรณ์ที่มีอยู่เพื่อนำมาใช้สร้างชิ้นงาน


 3.ลงมือปฏิบัติสร้างชิ้นงาน


 3.บันทึกการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือบางโครงงานใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี แต่ทั้งหมด ขึ้นอยู่ที่วิธีการที่ครูเลือกนำมาจัดกิจกรรมครับ
 4.นำชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ไปปรึกษาผู้มีความรู้ความชำนาญเพื่อปรับปรุงแก้ไข


 5.ปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน ให้เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้รู้(หรือถ้าไม่เห็นด้วย ปรับตามแนวของตัวเองอีกรอบก็ได้นะครับ งานนี้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางครับ )


 ออกแบบ ตามวัสดุที่มี ตัวอย่างนี้ ส่งบิ๊กฟุต  เทห์ดีอีกแบบ


 6.หลังจากปรับปรุงแล้ว ก็ปรับปรุงอีกรอบ จนกว่าจะได้ชินงานตามวัตถุประสงค์ เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม


 ภาพนี้ เป็นภาพสภาพหลังการปรับปรุงรอบที่ 3 ครับ
 ภาพนี้ ถอดประกอบเข้าออกแล้วไม่ต่ำกว่า 30 รอบ
 7.ปรับปรุงโครงสร้างและระบบการควบคุม รวมถึงเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่แข็งแรง น้ำหนักเบา
 สำหรับ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน Project Base Learning ปีการศึกษานี้ผมใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นภาคเรียนการศึกษาที่ 2 ซึ่งเนื้อหาที่ผมเขียนนี้อาจไม่ได้หลักวิชาการมาก หากทำให้ผู้อ่านเสียเวลา หรือ ได้รับสารสนเทศที่ผิดพลาด กระผมขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ขอบคุณสำหรับทุกคำแนะนำนะครับ

No comments:

Post a Comment

like