งานคริสมาสต์ที่โรงเรียน กิจกรรมวันที่ 28 ธันวาคม 2555 ณ ห้องประชุมเพชร โรงเรียนซับบอนวิทยาคม วันนี้สนุกมากๆ
Digital Education การศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นการบริหารจัดการแบบเสริมพลังโดยชุมมีส่วนร่วม เพื่อเป็นบันทึกและแชร์ความรู้ประสบการด้านการบริหารจัดการโรงเรียน
โฆษณา
STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat
Monday, December 31, 2012
เก็บภาพแวะเที่ยวที่เขาค้อ เพชรบูรณ์
เก็บภาพแวะเที่ยวที่เขาค้อ เพชรบูรณ์ ทางผ่านก่อนกลับบ้านที่ร้อยเอ็ดครับ เดินทางจากพิษณุโลก ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงก็ถึงแค้มป์สน มีร้านกาแฟ สองสามร้าน อากาศดีมากครับ
โครงการส่งเสริมการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
โครงการส่งเสริมการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
หลังจากที่ได้ปรับแก้ ข้อมูลโครงการวิจัยที่ต้องส่ง โครงการส่งเสริมการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ แก้ไขรอบที่สอง เก็บมาฝากไว้เผื่อใครกำลังสนใจหาข้อมูลด้านนี้อยุ่ครับ
Friday, December 28, 2012
ปี 2556 ปรับการสอนใหม่ เน้นวิธีและกระบวนการแสวงหาความรู้
ปี 2556 ปรับการสอนใหม่ เน้นวิธีและกระบวนการแสวงหาความรู้
จากที่ผมได้ศึกษาแนวทางการสอนแบบสืบเสาะเพิ่มเติม ซึ่งการจัดการเรียนการสอนด้วย กระบวนการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process) นั้นมีรูปแบบที่ทำให้เกิดการเรียนการสอนที่กิจกรรมและบทบาทการเรียนการสอนไปอยู่ที่ผู้เรียนมากขึ้น ให้ผู้เรียนได้ฝึกสร้างวิธีและกระบวนการการเรียนรู้ การเรียนการสอนแบบสืบเสาะ รูปแบบการสอนสามารถทำควบคู่กันไปได้กับโครงงานครับ ซึ่งโครงงานวิทยาศาสตร์ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนแบบสืบเสาะ สามารถนำทฤษฎีมาออกแบบการสอนได้หลากหลายมาก ซึ่งผมพิจารณาจากนักเรียน และ ทรัพยากรที่เรามีครับ
ผมค้นข้อมูลเรื่องนี้ก็มหลายๆคนศึกษาเรื่องนี้ซึ่งมีข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเยอะมากๆครับ เช่น
อนันต์ จันทร์กวี (2523) กล่าวว่า การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการส่งเสริมให้นักเรียน รู้จักคิดด้วยตนเอง รู้จักค้นคว้าหาเหตุผล และสามารถแก้ปัญหาได้
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2555 ผมได้ส่งขอทุนการวิจัยไป หากต้องการตัวอย่างลองดูได้แต่ไม่รับประกันร้อยเปอร์เซ็นว่าจะผ่านนะครับ เพราะทำ 2 วัน เร่งด่วนมาก พอดีกับงานที่ โรงเรียนเข้ามาเป็นระยะๆ ดูได้ที่นี่ครับ
จากที่ผมได้ศึกษาแนวทางการสอนแบบสืบเสาะเพิ่มเติม ซึ่งการจัดการเรียนการสอนด้วย กระบวนการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process) นั้นมีรูปแบบที่ทำให้เกิดการเรียนการสอนที่กิจกรรมและบทบาทการเรียนการสอนไปอยู่ที่ผู้เรียนมากขึ้น ให้ผู้เรียนได้ฝึกสร้างวิธีและกระบวนการการเรียนรู้ การเรียนการสอนแบบสืบเสาะ รูปแบบการสอนสามารถทำควบคู่กันไปได้กับโครงงานครับ ซึ่งโครงงานวิทยาศาสตร์ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนแบบสืบเสาะ สามารถนำทฤษฎีมาออกแบบการสอนได้หลากหลายมาก ซึ่งผมพิจารณาจากนักเรียน และ ทรัพยากรที่เรามีครับ
ผมค้นข้อมูลเรื่องนี้ก็มหลายๆคนศึกษาเรื่องนี้ซึ่งมีข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเยอะมากๆครับ เช่น
อนันต์ จันทร์กวี (2523) กล่าวว่า การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการส่งเสริมให้นักเรียน
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2555 ผมได้ส่งขอทุนการวิจัยไป หากต้องการตัวอย่างลองดูได้แต่ไม่รับประกันร้อยเปอร์เซ็นว่าจะผ่านนะครับ เพราะทำ 2 วัน เร่งด่วนมาก พอดีกับงานที่ โรงเรียนเข้ามาเป็นระยะๆ ดูได้ที่นี่ครับ
ตัวอย่างการเขียนโครงการขอทุนวิจัย การเรียนการสอนโดยวิธีการสอบแบบโครงงานและการสอนแบบสืบสอบ
Thursday, December 27, 2012
Wednesday, December 26, 2012
กีฬา สพฐ.เกมส์ ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดนครสวรรค์
20-27 ธันวาคม 2555 นำนักกีฬาไปแข่งขัน กีฬาสพฐ.เกมส์ ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดนครสวรรค์ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หนึ่งกิจกรรมที่โรงเรียนซับบอนวิทยาคมจัดขึ้นเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศ ปีนี้ โรงเรียนของเราเข้ารอบแข่งระดับภาค 3 รายการครับ คือ 1.วอลเลย์บอล หญิง 14 ปี 2.วอลเลย์บอลชายหาด 18 ปี 3.เปตองทีมหญิง 16 ปี
ภาพบรรยากาศการแข่งขัน กีฬา สพฐ.เกมส์ ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดนครสวรรค์ ดังด้านล่างนี้นะครับ
ภาพบรรยากาศการแข่งขัน กีฬา สพฐ.เกมส์ ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดนครสวรรค์ ดังด้านล่างนี้นะครับ
Thursday, December 13, 2012
พระพิมพ์นางพญา จังหวัดพิษณุโลก
เช้าวันนี้เพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิตเช้าวันใหม่ คุยเรื่องพระ เรื่องธรรมมะก่อนนะครับ โพสภาพพระพิมพ์นางพญา จังหวัดพิษณุโลกมาให้ชมครับ
พระนางพญาพิษณุโลก
จัดว่าเป็นพระเนื้อที่มีชื่อเสียงโด่งดัง
เป็นพระชั้นนำที่สุดของเมืองพิษณุโลกและถูกจัดให้เป็นพระในชุด “เบญจภาคี”
ที่ถือว่าสุดยอดของประเทศไทยอีกด้วย พระนางพญากำเนิดที่ “วัดนางพญา”
พิษณุโลกความจริงวัดนางพญาก็เป็นวัดเดียวกับ “วัดราชบูรณะ
ต่อมาภายหลังได้สร้างถนนผ่ากลางเลยกลางเป็น 2 วัด การได้ชื่อว่า
“วัดนางพญา” ก็เพราะได้พบพระนางพญานั่นเอง
ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระนางพญา
พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
พระนางพญาพิษณุโลก
จัดว่าเป็นพระเนื้อที่มีชื่อเสียงโด่งดัง
เป็นพระชั้นนำที่สุดของเมืองพิษณุโลกและถูกจัดให้เป็นพระในชุด “เบญจภาคี”
ที่ถือว่าสุดยอดของประเทศไทยอีกด้วย พระนางพญากำเนิดที่ “วัดนางพญา”
พิษณุโลกความจริงวัดนางพญาก็เป็นวัดเดียวกับ “วัดราชบูรณะ
ต่อมาภายหลังได้สร้างถนนผ่ากลางเลยกลางเป็น 2 วัด การได้ชื่อว่า
“วัดนางพญา” ก็เพราะได้พบพระนางพญานั่นเอง
ตามการสันนิฐาน พระนางพญานั้นเป็นผู้ที่สร้างคือ
“พระวิษุสุทธิกษัตรี” มเหสีของ “สมเด็จพระมหาธรรมราชา”
ผู้ที่ได้สร้างหรือปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ
ซึ่งเป็นบริเวณที่พบพระนางพญานั่นเอง
เข้าใจว่าการสร้างพระนางพญานั้นประมาณปี พ.ศ. 2090 – 2100
หรือประมาณสี่ร้อยกว่าปี
พระนางพญา
เป็นพระรูปทรงสามเหลี่ยมทุกพิมพ์นั่งมารวิชัยไม่ประทับบนอาสนะหรือมีฐานรอง
รับ
รูปทรงงดงามแทบทุกพิมพ์โดยเฉพาะจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอด
อ่อนช้อยคล้ายกับ “ผู้หญิง” จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระพิมพ์ “นางพญา”
อีกประการหนึ่งก็คือผู้ที่สร้างก็คือ “พระวิสุทธิกษัตรี” นั่นเอง
พระนางพญาถูกค้นพบเมื่อประมาณ พ.ศ. 2444
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
จะเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทางจังหวัดจึงเตรียมการรับเสด็จที่วัดนางพญา
โดยจัดการสร้างปะรำพิธีรับเสด็จ เมื่อคนงานขุดหลุมก็เกิดพบพระจำนานมาก
ก็คือพระนางพญานั่นเอง ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสก็เก็บพระเหล่านั้นไว้
พอสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จ
ทางเจ้าอาวาสและทางจังหวัดก็ได้นำพระขึ้นทูลเกล้าฯ
สมเด็จพุทธเจ้าหลวงก็ได้ทรงแจกจ่ายให้แก่ราชบริพารที่ตามเสด็จถ้วนหน้า
ส่วนที่เหลือก็นำกลับกรุงเทพฯ
พระนางพญาถูกค้นพบต่อมาอีกหลายกรุ
แต่ก็เป็นพระพิมพ์เดียวกันกับพระที่พบที่วัดนางพญาทุกอย่าง
และเนื้อพระก็เนื้อเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงภูมิประเทศที่ค้นพบ เช่น
พบที่บ้าน “ตาปาน” บริเวณนี้น้ำท่วมประจำ พระเสียผิวมีเม็ดแร่ลอยมาก
จึงเรียกว่า “กรุน้ำ” ในปี พ.ศ. 2479 มีผู้พบพระนางพญา ที่วัด “อินทรวิหาร”
บรรจุอยู่ในบาตรที่เจดีย์องค์เล็ก
ต่อมามีผู้ค้นพบพระนางพญาที่วัดเลียบ (ราชบูรณะ)
ในกรุงเทพฯ พบที่ “พระราชวังบวรมงคล” (วังหน้า) พบที่ “วัดสังขจาย”
ฝั่งธนบุรี ครั้งสุดท้ายพบที่ “วัดราชบูรณะ” จังหวัดพิษณุโลกอีกครั้ง
เมื่อมีการทำท่อระบายน้ำในบริเวณวัดในประมาณปี พ.ศ. 2532 พระนางพญา
เป็นพระที่สร้างจากเนื้อดิน ผสมว่าน เกสรดอกไม้ 108 ตลอดจนแร่กรวดทรายต่าง ๆ
แล้วนำไปเผา
ลักษณะของพระนางพญา พระส่วนใหญ่จะมีเนื้อหยาบ ที่ละเอียดอ่อนจะมีน้อยกว่ามาก มีทั้งหมด 7 พิมพ์ด้วยกัน คือ
1. พิมพ์เข่าโค้ง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่พิมพ์หนึ่ง
2. พิมพ์เข่าตรง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่
โดยเฉพาะพิมพ์เข่าตรง แยกออกเป็น 2 พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์เข่าตรง “ธรรมดา”
กับพิมพ์เข่าตรง “มือตกเข่า”
แต่ทั้งสองพิมพ์ก็ถือว่าอยู่ในความนิยมเหมือนกันทั้งคู่
3. พิมพ์อกนูนใหญ่ ถือเป็นพิมพ์ใหญ่
4. พิมพ์สังฆาฏิ ถือเป็นพิมพ์กลาง
5. พิมพ์อกแฟบ (หรือพิมพ์เทวดา) ถือเป็นพิมพ์เล็ก
6. พิมพ์อกนูนเล็ก ถือเป็นพิมพ์เล็ก
7.พิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เข่าบ่วง หรือพิมพ์ใหญ่พิเศษ
พระนางพญาไม่ว่าพิมพ์ไหน ลักษณะของเนื้อจะเหมือนกันหมด
ผิดกันแต่พิมพ์ทรงเท่านั้น
ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดเป็นเลิศ
สมกับเป็นหนึ่งในห้าชุดของชุดเบญจภาคีนั้นเอง
พระนางพญาเป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุดใน
บรรดาพระเนื้อดินชุดเปญจภาคี อีกทั้งยังฝังจมดิน
ซึ่เป็นดินเหนียวริมน้ำเป็นเวลานานนับร้อยปี
เนื้อพระจึงรักษาสภาพความแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี จุดเด่นของเนื้อพระนางพญา
คือ
มวลดินประเภทเม็ดทรายที่แทรกปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมากเรียกกันว่าเม็ดแร่
ขนาดสัณฐานของเม็ดทรายจะต้องใกล้เคียงกันทั่วองค์พระ
เพราะเป็นเนื้อที่ผ่านการกรองมาแล้ว
การค้นพบพระนางพญาในยุคหลังในเวลาประมาณ พ.ศ.2470
องค์พระเจดีย์ด้านตะวันออก ของวัดนางพญาได้พังลง เจ้าอาวาสในยุคนั้นคือ
พระอธิการถนอม ได้ให้ชาวบ้าน และพระเณรช่วยกันขนเอาดิน และเศษอิฐ เศษปูน
จากซากเจดีย์ล่มนั้นมาถมคูน้ำ ต่อมาอีกหลายปี ก็กลายเป็นดงกล้วย
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2485 ชาวบ้านได้หนีภัยสงคราม
เข้าไปหลบอยู่ในดงกล้วย และได้ทำการขุดหลุมหลบภัย
จึงพบพระพญากระจายตัวจมอยู่ใต้พื้นดิน
นอกจากค้นพบ ที่วัดนางพญาแล้ว
พระนางพญาถูกค้นพบต่อมาอีกหลายกรุ แต่ก็เป็นพระพิมพ์เดียวกัน
กับพระที่พบที่วัดนางพญาทุกอย่าง และเนื้อพระก็เนื้อเดียวกัน
อาจจะแตกต่างกันก็เพียงภูมิประเทศ ที่ค้นพบ เช่น กรุบางสะแก
หรือที่เรียกว่ากรุน้ำ พบบริเวณพื้นที่ตำบลบางสะแก ริมฝั่งของแม่น้ำน่าน
ด้านทิศตะวันตกของพิษณุโลก มักเรียกกันว่ากรุเหนือ พบประมาณปี พ.ศ.2497
พบพระนางพญาบรรจุอยู่ในหม้อดิน ฝังในดินจำนวน 3 ใบ พบพระมากกว่า 1,000
องค์ ที่พบพระนั้นมักจะมีน้ำท่วมขัง
พระจึงเสียผิวและมีเม็ดแร่กรวดทรายปรากฏอยู่เรียกกันว่า "แร่ลอย"
กรุวังหน้าพบที่พระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้า
ข้างโรงละครแห่งชาติ (ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป์)
โดยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ได้จากเจ้าเมืองพิษณุโลก
จึงทรงบรรจุไว้ในพระอุโบสถ
ขณะที่กำลังบูรณะพระอุโบสถพบพระที่บริเวณใต้ฐานชุกชี
พระที่พบเนื้อแห้งสนิทและลงรักปิดทองทุกองค์ สภาพของรักแห้งและร่อนออกง่าย
พบจำนวนไม่มาก ต่อมามีผู้ค้นพบพระนางพญาที่วัดเลียบ (ราชบูรณะ) ในกรุงเทพฯ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะโดนระเบิดโจมตีโรงไฟฟ้าวัดเลียบจำนวนไม่มาก
เป็นพระลงรักปิดทอง อีกครั้งพบที่วัดสังข์กระจาย
ฝั่งธนบุรีที่กำลังรื้อพระเจดีย์ครั้งนี้ ได้พระที่แห้งสนิท
แต่ไม่ลงรักปิดทองจำนวนไม่มากนัก
ปี พ.ศ.2497 พบที่พระเจดีย์องค์เล็ก
ที่วัดอินทรวิหาร คนร้ายได้แอบเจาะ พบพระนางพญาใส่ไว้ในบาตรพระ ที่ผุแล้ว
พระชุดนี้จะมีคราบของสนิมเหล็กติดอยู่ พบพระนางพญาครบทุกพิมพ์
และยังพบลานทองจารึกไว้ว่า
"พระที่บรรจุอยู่ในกรุนี้เป็นพระพิมพ์ที่ได้นำมาจากวัดนางพญา
จังหวัดพิษณุโลกในปี พ.ศ.2444"
ซึ่งตรงกับปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ
ประพาสเมืองพิษณุโลก
ครั้งสุดท้ายพบที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก อีกครั้ง เมื่อมีการทำท่อระบายน้ำ ในบริเวณวัด เมื่อประมาณปี พ.ศ.2532
พุทธคุณ เป็นพระสร้างความเด่น ด้านเมตตากรุณา
ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระนางพญา
1. พระเกศเหมือนปลีกล้วย
2. ปรากฏกระจังหน้าชัดเจน
3. หน้าผากด้านขวาขององค์พระ จะยุบหรือบุบน้อยกว่า หน้าผากด้านซ้าย ขององค์พระ
4. ปลายหูด้านซ้ายมือขององค์พระ จะติดเชื่อมกับสังฆาฎิ
5. ปลายหูด้านขวามือขององค์พระ จะแตกเป็นหางแซงแซว
6. เส้นอังสะจะช้อนเข้าใต้รักแร้
7. จะมีเม็ดผุดขึ้นอยู่ระหว่าง เส้นอังสะกับเส้นสังฆาฎิ
8. ท้องขององค์พระจะมีกล้ามเนื้อเป็น ๓ ลอน
9. ปลายมือพระหัตถ์ข้างซ้ายขององค์พระ จะแหลมแตกเป็นหางแซงแซว
10. พระหัตถ์ที่วางบนเข่า จะไม่มีนิ้วมือยื่นเลยลงมาให้เห็น
Sunday, December 9, 2012
วันนี้ไปไหว้พระพุทธชินราช
วันนี้ไปไหว้พระพุทธชินราช ที่ พิษณุโลก ได้หยุดพัก 2 วัน พรุ่งนี้ เหลือเวลาอยู่กับครอบครัวอีก 1 วัน
อีกมุมหนึ่งของวัดพระใหญ่ครับ ผมไปถ่ายรูปที่อุโบสถด้านหลัง ซึ่งไม่ค่อยเห็นใครอับรูปก็เลยนำมาโพสไว้ในบล็อก ซึ่งมีภาพวาดเล่าเรื่องราวต่างๆ มากมาย สวยมากครับ และวันนี้ได้พระพิมพ์นางพญาเพิ่มอีก 1 องค์ ก็เลยไปไหว้พระเพื่อเสริมสิริมงคล
อีกมุมหนึ่งของวัดพระใหญ่ครับ ผมไปถ่ายรูปที่อุโบสถด้านหลัง ซึ่งไม่ค่อยเห็นใครอับรูปก็เลยนำมาโพสไว้ในบล็อก ซึ่งมีภาพวาดเล่าเรื่องราวต่างๆ มากมาย สวยมากครับ และวันนี้ได้พระพิมพ์นางพญาเพิ่มอีก 1 องค์ ก็เลยไปไหว้พระเพื่อเสริมสิริมงคล
Saturday, December 8, 2012
การไปทัศนศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ที่ โคราช ( Organizing feild trups for integrated learning)
การศึกษานอกสถานที่ หรือทัศนศึกษา ( Organizing feild trups for integrated learning)หมายถึง กิจกรรมที่พาผู้เรียนออกไปหาประสบการณ์นอกห้องเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหา และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การไปทัศนศึกษาต่างจากการทัศนาจร ตรงที่ การทัศนาจรมุ่งความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นสำคัญ ส่วนการศึกษานอกสถานที่ เน้นการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งต้องอาศัยการวางแผน และการดำเนินการอย่างมีขั้นตอนเป็นสำคัญ คุณค่าของการศึกษานอกสถานที่ 1. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง 2. ช่วยให้บทเรียนมีความหมายยิ่งขึ้น 3. ช่วยให้ฝึกฝนระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และมนุษยสัมพันธ์ 4. ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรมทัศนศึกษา 5. ช่วยให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างเพลิดเพลิน 6. ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปในลักษณะบูรณาการ
วิธีสอนโดยใช้การไปทัศนศึกษา (Field Trip) |
||
การบริหารจัดการโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ 8 ธันวาคม 2555 หลักสูตรบริหารการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
การบริหารจัดการโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ 8 ธันวาคม 2555 หลักสูตรบริหารการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
Friday, December 7, 2012
ปฏิรูป ''หลักสูตร-8 กลุ่มสาระฯ'' ถึงเวลา ''เขย่า'' อีกรอบ
คอลัมน์: การศึกษา: ปฏิรูป ''หลักสูตร-8 กลุ่มสาระฯ''
ถึงเวลา ''เขย่า'' อีกรอบ!!
ขอบคุณข้อมูลจาก
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 30 พ.ย. - 6 ธ.ค. 2555
ต้องยอมรับว่าความพยายามที่จะปฏิรูปการเรียนการสอนมีมาโดยตลอด
ไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพราะต่างเห็นตรงกันว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยต่ำจริงๆ
ไม่ว่าจะวัดโดยสำนักทดสอบของไทยหรือต่างประเทศ ได้ผลออกมาไม่ต่างกัน นั่นคือ
ต่ำกว่าครึ่งและสู้ต่างประเทศไม่ได้!
หลายต่อหลายรัฐมนตรีจึงพยายามปรับปรุงการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นการปรับเล็ก
ส่วนการปรับใหญ่อย่างการปฏิรูปหลักสูตร ต้องยอมรับว่าไม่ง่ายนัก เพราะกว่าจะสำเร็จ
ต้องใช้เวลา
ไหนจะต้องระดมนักวิชาการ ไหนจะต้องสอบถามความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง
ปรับปรุงตำราเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตร ก่อนจะเปลี่ยนหลักสูตรไปทีละชั้นจนครบทุกชั้น
อย่างการปฏิรูปหลักสูตรแกนกลางครั้งที่แล้วประมาณปี 2551
จะต้องปรับจากชั้น ป.1 ป.4 ม.1 และ ม.4 ก่อน ปีถัดไปจึงใช้หลักสูตรใหม่ในชั้น
ป.1 ป.2 ม.1 ม.2
ม.4 และ ม.5 และปีที่สามจึงจะครบทุกชั้น
ฉะนั้น กว่าจะไล่ครบทุกชั้น
เนื้อหานอกตำราอาจวิ่งไปไกลแล้ว ดังนั้น การเรียนการสอน จึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถของครูผู้สอนที่ต้องปรับปรุงเนื้อหาให้
สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา
มาถึงรัฐมนตรีว่าการ ศธ. คนล่าสุด นายพงศ์เทพ
เทพกาญจนา ก็ขายไอเดียเรื่องการปฏิรูปหลักสูตรอีกครั้ง
นายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ ศธ.
บอกว่า นายพงศ์เทพ มีนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งการดำเนินการเรื่องนี้ จะต้องปรับปรุงเนื้อหา 8 กลุ่มสาระฯ
ด้วย เพราะมีนักวิชาการจำนวนมากสะท้อนว่าเนื้อหาต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อเทียบกับ ประเทศ
เช่น วิชาเคมี ม.6 ของไทยกับสิงคโปร์
พบว่าหนังสือของสิงคโปร์ เด็กจะเรียนกว้างและลึกกว่าไทยมาก
ส่วนการปฏิรูปหลักสูตรฯ ที่ปรึกษาเสมา 1 มองว่าต้องทบทวน เพราะโครงสร้างปัจจุบันกำหนดให้เด็กชั้น ป.1-ม.6 เรียน 8 กลุ่มสาระฯ เหมือนกัน
ทั้งที่หลายประเทศไม่ได้เป็นแบบนั้น อย่างบางประเทศระดับชั้น ป.1- 3 ไม่ใส่เนื้อหาสาระมากโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ แต่จะเน้นว่าทำอย่างไรให้เด็กเป็นคนดี
เคารพสิทธิผู้อื่น เคารพพ่อแม่ และเน้นให้มีการศึกษานอกสถานที่ แต่หาก สพฐ. จะใช้ 8
กลุ่มสาระฯ เหมือนเดิม ก็ไม่จำเป็นว่าทุกช่วงชั้นจะเหมือนกันหมด อาจจะเน้นแตกต่างกันและเมื่อเด็กอายุมากขึ้น
ก็เน้นสาระความรู้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นปัญหามากคือเนื้อหาหลักสูตรในตำราเรียน
กระบวนการผลิตตำราเรียนมีการกำหนดเนื้อหาตายตัว เช่น ตำราวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
ทางสถาบันส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
จะกำหนด แต่กลุ่มสาระอื่นๆ เปิดเสรีให้สำนักพิมพ์ต่างๆ ผลิตตำราขึ้นเองโดยยึดวัตถุประสงค์ของแต่ละวิชา
แต่ปัญหาคือวัตถุประสงค์ไม่ได้กำหนดรายละเอียด ทำให้การผลิตตำราขึ้นอยู่กับวิจารณญาณ
และเมื่อผลิตเสร็จ ค่อยส่งให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ของ สพฐ.
พิจารณาอนุมัติ แต่สิ่งที่อนุมัติออกมากลับต่ำกว่ามาตรฐาน
"ผมได้แจ้งนายพงศ์เทพว่า ควรต้องสังคายนาองค์ความรู้ของแต่ละชั้นใหม่
รวมถึงทบทวนจำนวนชั่วโมงเรียนของแต่ละวันว่าควรต้องลดลงหรือไม่ เพราะปัจจุบันเด็กไทยเรียนเฉลี่ยวันละ
7-8 ชั่วโมง แต่เรื่องนี้ต้องระดมนักวิชาการทั่วประเทศมาช่วยกันทำ
ก่อนนำเสนอ สพฐ. และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม
2556" นายภาวิช กล่าว
ว่าไปแล้วสอดคล้องกับแนวคิดของ สพฐ. อยู่เหมือนกัน เพราะไม่กี่เดือนที่ผ่านมามีการประชุมผู้บริหารระดับสูง
ของ สพฐ. ครั้งนั้นสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ได้รายงานผลการศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบโครงสร้างเวลาเรียนของประเทศไทยกับ
ประเทศต่างๆ ในโซนเอเชีย โซนยุโรป และโซนอเมริกาเหนือ ประกอบด้วย ประเทศเกาหลีใต้
ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน ประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมนี และประเทศนิวซีแลนด์ ได้ข้อมูลว่าประเทศไทยจัดโครงสร้างเวลาเรียนตามช่วงชั้นแบบคงที่
ขณะที่เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จะมุ่งเน้นให้เด็ก ป.1
และ ป.2 ทุ่มเทเวลาพัฒนาการด้านภาษาเป็นหลัก
หรือมากกว่าประเทศไทย
ทั้งพบว่าประเทศต่างๆ มีจุดเน้นการพัฒนาด้านภาษาอย่างเข้มข้นตั้งแต่ประถมศึกษาตอนต้น
ควบคู่กับวิชาวิทยาศาสตร์ที่ให้ความสำคัญตั้งแต่ระดับ ป.1-ป.6
ก่อนไปเน้นวิชาคณิตศาสตร์ในช่วงประถมศึกษาตอนปลาย
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่
สพฐ. เตรียมนำมาวิเคราะห์และอาจพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน แต่ทั้งนี้ จะต้องศึกษาวิจัยภาพรวมให้เกิดความชัดเจนในทุกแง่มุมก่อน
ไม่ต่างจากนักวิชาการและผู้บริหารสถานศึกษาที่ออกมาขานรับเรื่องนี้
อย่าง นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
(มธบ.) มองว่า ควรต้องปรับปรุงหลักสูตร เพราะหลักสูตรปัจจุบันยังไม่สะท้อนเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ชัดเจน
เหมือนให้เด็กเรียนไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ฉายภาพว่าเมื่อเรียนจบแต่ละระดับแล้ว จะได้เด็กที่มีคุณลักษณะอย่างไร
ขณะเดียวกัน ยังเน้นวิชาการมากเกินไป และทำให้เด็กแยกตัวเองออกจากสังคม ไม่สะท้อนความรู้สึกสำนึกรับผิดชอบที่มีต่อสังคม
ส่วน นายชลอ เขียวฉลัว
ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ระบุว่า เห็นด้วยกับการปรับปรุงหลักสูตร
เพราะปัจจุบันเด็กเรียนเยอะ และส่วนใหญ่เรียนเพื่อมุ่งสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย ขณะที่หลักสูตรปัจจุบันไม่สอดคล้อง
ทำให้เด็กแห่ไปกวดวิชา
ส่วนการลดชั่วโมงเรียนนั้น ที่ผ่านมาโรงเรียนพยายามลดชั่วโมงเรียนและเพิ่มชั่วโมงกิจกรรม
แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมาเน้นวิชาการ เพราะเด็กต้องไปสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย
รวมถึงแข่งขันกับโรงเรียนอื่น ซึ่งโรงเรียนจะปล่อยให้เด็กเรียนอ่อนไม่ได้ และผู้ปกครองก็ยินดีให้โรงเรียนอัดเนื้อหาเข้าไปเยอะๆ
เรื่องปรับปรุงหลักสูตรและเนื้อหา 8 กลุ่มสาระฯ ไม่มีใครคัดค้าน เพราะต่างเห็นปัญหาตรงกัน
เพียงแต่ว่าการจะแก้ไขให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่เรื่องง่าย
และกว่าจะเห็นผลก็ต้องใช้เวลานาน ซึ่งบทเรียนจากการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ผ่านมา ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ดีอยู่
ฉะนั้น น่าหวั่นว่าการปฏิรูปหลักสูตรครั้งนี้ จะย้อนกลับไปสู่วังวนเดิมๆ
หรือไม่ ที่ท้ายสุด...ยิ่งปฏิรูป การศึกษาก็ยิ่งถอยหลัง
แถมยิ่งเพิ่มภาระให้แก่สถานศึกษาและครูอีกด้วย
เอาใจช่วยให้การปฏิรูปหลักสูตรสำเร็จตลอดรอดฝั่ง...อย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกเลย
ขอบคุณข้อมูลจาก
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 30 พ.ย. - 6 ธ.ค. 2555
บทความวิเคราะห์ข่าว
การปรับปรุงหลักสูตรและเนื้อหา
8 กลุ่มสาระฯ ปกติจะต้องปรับจากชั้น ป.1 ป.4 ม.1 และ
ม.4 ก่อน ปีถัดไปจึงใช้หลักสูตรใหม่ในชั้น ป.1 ป.2 ม.1 ม.2 ม.4 และ ม.5 และปีที่สามจึงจะครบทุกชั้น
ซึ่งการปรับปรุงหลักสูตรนี้ต้องใช้เวลาพอสมควรแต่สภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่างๆที่มีผลต่อการศึกษาทั้งทางด้านสังคม
วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการศึกษาทั้งสิ้น
ซึ่งสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบดังกล่าวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การปรับปรุงหลักสูตรและเนื้อหากลุ่มสาระนั้น
หลายๆฝ่ายเห็นด้วยที่จะควรให้มีการเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งที่ผ่านมามีทั้งด้านบวกและด้านลบ
เช่น หลักสูตรแกนกลาง 2551 ปรับปรุงจาก หลักสูตรการศึกษา 2544 ซึ่งทำโดยนำจุดด้อยของหลักสูตรเดิมมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงและมีความชัดเจนเหมาะสมกับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน
ซึ่งประเทศไทยมีประสบการณ์ในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรมาแล้วหลายครั้ง
ซึ่งองค์ความรู้ต่างๆได้ผ่านการทดสอบและใช้งานโดยเริ่มจากโรงเรียนแกนนำเป็นโรงเรียนนำร่องก่อน
แต่ประเด็นสำคัญในการปรับปรุงหลักสูตรและเนื้อหา 8 กลุ่มสาระฯ
นั้นสำหรับหลักสูตรผมวิเคราะห์ว่า หลักสูตรแกนกลาง 2551 นั้นมีความยืดหยุ่นมากพอสมควรแต่ปัญหาของหลักสูตรนี้น่าจะอยู่ที่การวัดผลมากกว่า
ซึ่งหากแต่ละที่ออกแบบหลักสูตรที่มีความแตกต่างกันโดยอ้างอิงจากหลักสูตรแกนกลาง 2551
นั้น
มาตรฐานและตัวชี้วัด ตัวเดียวกัน แต่แนวทางในการวัดผลนั้นแตกต่างกัน
ซึ่งหากใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทั้งประเทศวัดนักเรียนที่เรียนจากหลักสูตรสถานศึกษาที่แต่ละโรงเรียนออกแบบเองเพื่อให้สอดคล้องกับสถาพการเรียนการสอน
ท้องถิ่นและทรัพยากรที่มีนั้น อาจให้ผลที่แตกต่างกัน
การปรับปรุงหลักสูตรจึงต้องใช้ครูที่มีทักษะความชำนาญหรือพัฒนาครูผู้สอนให้มีความเข้าใจแตกฉานในการเรื่องของการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และการวัดผล
เพื่อให้สามารถสื่อสารหลักสูตรให้ผู้เรียนได้ตามวัตถุประสงค์และสามารถวัดและประเมินผลได้อย่างถูกต้องมีความแม่นยำ ส่วนการปรับปรุงกลุ่มสาระ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นปัจจุบันผมวิเคราะห์ความสอดคล้องบางกลุ่มซึ่งน่าจะจัดใหม่เช่น กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
กับกลุ่มวิทยาศาสตร์
ซึ่งเนื้อหาการเรียนการสอนสุขศึกษาบางส่วนคล้ายคลึงกันกับการเรียนการสอนของวิทยาศาสตร์
ซึ่งน่าจะนำสาระการเรียนรู้ทั้งสองมาปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกันหรือรวมเนื้อหาบางเรื่องเข้าด้วยกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการเรียนการสอน
กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ น่าจะถูกแยกออกมาไว้เป็นกลุ่มสาระของคอมพิวเตอร์หรือรวมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ซึ่งในการเรียนการสอนระดับมหาวิทยาลัย โดยส่วนมาก วิทยาการคอมพิวเตอร์จะรวมอยู่กับคณะวิทยาศาสตร์
ซึ่งกลุ่มสาระกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ผมเข้าใจว่า
แต่ก่อนเครื่องพิมพ์ดีดอยู่กับสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ จึงทำให้วิชาการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์จัดอยู่ในกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี
แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นมากกว่าเครื่องพิมพ์ดีดซึ่งน่าจะมีการจัดการกลุ่มสาระการเรียนรู้นี้ใหม่
เช่น แยกออกเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ของตนเป็นเอกเทศ หรือ
น่าจะรวมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะสอดคล้องกันมากกว่า
ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ก็มีความแตกต่างกันระหว่างประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม
และรายวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งต่างก็มีรายละเอียดวิชาแตกต่างกัน
ซึ่งน่าจะนำมาวิเคราะห์จัดกลุ่มกันใหม่ รวมถึง
หลังจากการแยกเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาแล้ว ก็ยังคงใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้แบบเดิม
ซึ่งยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสภาพการเรียนการสอนที่แตกต่างระหว่าง
ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
อีกส่วนหนึ่งควรจะมีเกณฑ์ที่ใช้ในการสอบแข่งขันเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับการปรับปรุงหลักสูตรและกลุ่มสาระเพื่อแก้ปัญหานักเรียนมุ่งหน้าเข้าโรงเรียนกวดวิชาเพื่อให้สามารถสอบเข้าระดับอุดมศึกษาที่ตนเองต้องการ
ซึ่งต้องแข่งขันกันทางด้านวิชาการเพื่อทำคะแนนให้สูงในการสอบ
ซึ่งเป็นอีกปัญหาหนึ่งในการจัดการศึกษาซึ่งหากการศึกษา หรืออาจต้องทำสื่อในรูปแบบที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้เองตามที่นักเรียนสนใจและมีราคมถูกเพื่อลดช่องว่างทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ให้ทั่วถึง
สุดท้ายนี้ขอสรุปว่า
การศึกษาไม่ได้หยุดนิ่ง
ต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับยุคสมัยทันต่อการเปลี่ยนแปลงและต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ
หากเรียนแล้วไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือประกอบอาชีพได้นั้นการเรียนการสอนที่ทำอยู่คงไม่มีประโยชน์หรือไม่จำเป็นต้องเรียนเลยก็ได้
ดังนั้น การปรับปรุงหลักสูตรและเนื้อหา 8 กลุ่มสาระฯ เพื่อการเรียนการสอนในยุคทศวรรษที่
21 ควรจะเป็นการเรียนเพื่อใช้ในชีวิตจริง
เรียนเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน
นายวีรชาติ
มาตรหลุบเลา
Thursday, December 6, 2012
การสนทนากับลูกศิษย์ในวันพ่อ ความรู้สึกอีกแบบของการเป็นครู
วันพ่อ 5 ธันวาคม 2555 ผมไม่ได้กลับบ้านไปกราบคุณพ่อที่ร้อยเอ็ด ไม่ได้ไปหาลูกที่พิษณุโลก หยุดแค่วันเดียวเองเดินทางไปไหนไม่ได้ก็เลยนั่งทำงานต่อที่โรงเรียน นั่งทำบทที่ 1-3 งานค้นคว้าอิสระจนค่ำ วันนี้นอกจากหน้าจอคอมแล้วไม่ค่อยได้คุยกับใคร แต่ในปีนี้ มีลูกหลายคน(ลูกศิษย์) การคุยกันสนทนากันบางครั้งทำให้รู้สึกว่า อีกมุมหนึ่งของชีวิตเราใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับลูกศิษย์มากกว่าครอบครัว(ผมทำงานใกลบ้าน) มีเวลาสั่งสอนลูกศิษย์มากกว่าลูกตัวเองเนื่องจากอยู่ใกลกัน ชีวิตการทำงานปี 2555 ก็อีกแบบ บรรยากาศรอบข้างก็อีกแนว ขอเก็บบทสนทนากับลูกศิษย์มาโพสไว้นะครับ
ก่อนหน้านี้ 3 ปี ไม่เคยคิดที่จะมาเป็นครู (วันนี้สนุกกับการประกอบสัมมาชีพนี้มาก) แต่ด้วยคุณพ่อและคุณแม่อยากให้รับราชการ ผมจึงมาเรียนหลักสูตร ป บัณฑิตวิชาชีพครูและเทียบวุฒิสอบเอกฟิสิกส์ หากไม่มีคุณพ่อและคุณแม่ชี้นำแนวทาง ผมคงไม่ได้มาประกอบอาชีพนี้ บุญกุศลอันใดที่ได้ทำ ขอจงดลบันดาลให้ คุณพ่อและคุณแม่ สุขภาพแข็งแข็งปราศจากทุกข์ภัยทั้งปวงครับ
ปัจจบัน ใช้เวลา วันจันทร์-ศุกร์ เกือบตลอด 24 ชั่วโมงที่นี่ครับ ซับบอนวิทยาคม หน้าตาเพื่อร่วมงานก็แนวๆนี้แหละครับ ที่ที่สั่งสม มโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม ตามคำสอน กัมมะพันธุ (เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์พวกพ้อง)
Wednesday, December 5, 2012
“บันได 5 ขั้น” สู่รายวิชา IS : การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study :IS)
“บันได 5 ขั้น” สู่รายวิชา IS : การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study :IS)
ณ วันนี้ผู้คนจำนวนไม่น้อยต่างคาดหวังกันว่าการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 นั้นสถานศึกษาจะเป็นหน่วยบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการแข่ง ขันอย่างเสรีที่จะเกิดขึ้น การพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติในอนาคตต้องมีศักยภาพหลายด้านและนำไปสู่ความ เป็นสากล ต้องปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ให้มาก ขึ้น และการเรียนรู้เฉพาะภาษาแม่และภาษาต่างประเทศที่ 2 อย่างเช่นในอดีตนั้นคงไม่เพียงพอแล้ว ยังต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 3, 4, ... เพราะเมื่อเรียนรู้ได้หลากหลายภาษาจะส่งผลให้เราได้เปรียบทั้งในด้านการสื่อ สาร การเจรจาต่อรอง แต่สิ่งที่ต้องเน้นย้ำและไม่อาจมองข้ามนั่นไปได้ก็คือต้องปลูกฝังความรู้ควบ คู่คุณธรรมเพื่อพัฒนาให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันในประชาคมโลกได้อย่างสันติ สุขด้วย
กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใน ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับโรงเรียนชั้นนำที่มีความพร้อมให้เป็นโรงเรียนดี มีมาตรฐานสากล หรือที่เรียกกันว่า World – Class Standard School เพื่อสร้างคนไทยรุ่นใหม่ให้เป็นคนดีของสังคมโลก โดยคาดหวังยกระดับการจัดการเรียน การสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล ยกระดับการบริหารจัดการระบบคุณภาพ พร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้โรงเรียนมาตรฐานสากลมุ่งสร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพด้วยการพัฒนาหลัก สูตรและการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เป็นเป้าหมายในการยกระดับการจัดการศึกษา ของทั้งโรงเรียน การออกแบบหลักสูตรจะต้องสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งผู้เรียนจะเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่กำหนด มีการพัฒนาต่อยอดคุณลักษณะที่เทียบเคียงกับสากล โดยโรงเรียนต้องพิจารณาให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพความพร้อมและจุดเน้นที่มี ความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละโรงเรียน
ส่วน“บันได 5 ขั้น” ของการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากลเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่คุณภาพ ที่คาดหวัง คือ ขั้นที่ 1 การตั้งประเด็นคำถาม/สมมุติฐาน (Hypothesis Formulation) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด สังเกต ตั้งข้อสงสัย ตั้งคำถามอย่างมีเหตุผล ขั้นที่ 2 การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ (Searching for Information) เป็นการฝึกแสวงหาความรู้ ข้อมูล และสารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต หรือจาการปฏิบัติทดลอง เป็นต้น ขั้นที่ 3 การสรุปองค์ความรู้ (Knowledge Formation) เป็นการฝึกให้นำความรู้และสารสนเทศ หรือข้อมูลที่ได้จากการอภิปราย การทดลอง มาคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ และสรุปเป็นองค์ความรู้ ขั้นที่ 4 การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication) เป็นการฝึกให้นำ ความรู้ที่ได้มานำเสนอและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดความเข้าใจ และขั้นที่ 5 การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service) เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีความรู้ในบริบทรอบตัวและบริบทโลกตามวุฒิภาวะที่เหมาะสม โดยจะนำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์
และในการจัดการเรียนรู้ตามบันได 5 ขั้นนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีการหนึ่งที่ยอมรับกันว่ามีประสิทธิภาพและใช้กันอย่างกว้างขวางเป็น การเปิดโลกกว้างให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องหรือประเด็น ที่สนใจ คือ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study :IS) ดังนั้น ในโรงเรียนมาตรฐานสากลจึงนำบันได 5 ขั้นสู่การจัดการเรียนการสอนโดยผ่านรายวิชา “การศึกษ าค้นคว้าด้วยตนเอง” ซึ่งเป็นรายวิชาเพิ่มเติมประกอบด้วย 3 สาระ ดังนี้
IS 1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ (บันไดขั้นที่ 1-3)
IS 2 การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียน นำความรู้ที่ได้รับ มาพัฒนาวิธีการถ่ายทอด/สื่อสารความหมาย/แนวคิด ข้อมูลและองค์ความรู้ ด้วยวิธีการ นำเสนอที่เหมาะสม หลากหลายรูปแบบและมีประสิทธิภาพ (บันไดขั้นที่ 4)
IS 3 การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียน นำ/ประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดบริการสาธารณะ (Public Service) (บันไดขั้นที่ 5)
แต่สิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในสังคมออนไลน์ผ่านทาง facebook นั้นเกิด “กลุ่มต่อต้านวิชา IS แห่งประเทศไทย” โดยมีคำถามว่า “ถ้า "IS" เป็นวิชาเรียนที่คู่ควรและเหมาะสมกับนักเรียนไทยจริง ทำไมนักเรียนจึงไม่เห็นด้วยกับวิชานี้ มีประโยชน์จริงหรือ หรือเป็นเพียงสิ่งที่ผู้ใหญ่คิดว่าเด็กทำได้โดยไม่ดูศักยภาพของผู้เรียนที่ แท้จริง” ประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่ท้าทายซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อง เก็บมาทบทวนไตร่ตรองอย่างถ้วนถี่และศึกษาถึงสาเหตุที่แท้จริงถึงการต่อต้าน วิชา IS เพราะที่ผ่านมายังไม่ปรากฏให้เห็นว่ามีการต่อต้านการเรียนรายวิชาอื่นใด ชัดเจนเช่นนี้มาก่อน
แม้ว่าการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจะเป็นวิธีการที่ยอมรับกันว่ามี ประสิทธิภาพและใช้กันอย่างกว้างขวาง สามารถพัฒนาผู้เรียนให้ก้าวไปสู่โลกกว้างด้วยการศึกษาค้นคว้าได้อย่าง อิสระ แต่ในกระบวนการนำไปใช้จะต้องคำนึงถึงความพร้อม วัย และพัฒนาการของผู้เรียนด้วย เพราะเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ฟาฏินา วงศ์เลขา http://www.dailynews.co.th/education/170333
Saturday, December 1, 2012
หลักและทฤษฎีการสื่อสาร
คลิ
ปวีดีโอนี้ จากที่นั่งดูดีมากครับ
สร้างสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่เป็นปัจจุบัน
ซึ่งมันน่าจะมีประสิทธิภาพมากกับบรรยากาศการศึกษาในปัจจุบันที่เกือบทุกคน
เล่นเฟสบุ๊ค การสื่อสารน่าจะมีหลายๆช่องทางนำสารที่เราต้องการสื่อออกไปให้นักเรียนได้รับรู้(หลักสูตร) คลิปนี้เป็นการทำรายงานของนักเรียนรหัส 54 น่าจะปี 2 เป็นการทำรายงานที่ดีมากอีกรูปแบบหนึ่งครับ
เดวิด เค. เบอร์โล (David K.Berlo) ได้พัฒนาทฤษฎีที่ผู้ส่งจะส่งสารอย่างไร และผู้รับจะรับ แปลคววามหมาย และมีการโต้ตอบกับสารนั้นอย่างไร ทฤษฏี S M C R ประกอบด้วย
http://www.baanjomyut.com/library/communication_theory/03_2.html
ทฤษฎีการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสารและการเรียนการสอน
- สูตรการสื่อสารของลาสแวลล์ (Lesswell)
- ทฤษฏี SMCR ของเบอร์โล (Berio)
- การสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรงของแชนนันและวีเวอร์
- การสื่อสารเชิงวงกลมของออสกูดและชแรมม์
- ขอบข่ายประสบการณ์ในทฤษฏีการสื่อสารของชแรมม์
เดวิด เค. เบอร์โล (David K.Berlo) ได้พัฒนาทฤษฎีที่ผู้ส่งจะส่งสารอย่างไร และผู้รับจะรับ แปลคววามหมาย และมีการโต้ตอบกับสารนั้นอย่างไร ทฤษฏี S M C R ประกอบด้วย
- ผู้ส่ง (source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสารโดยมีความสามารถใน “การเข้ารหัส” (encode) เนื้อหาข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสารมีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับ ข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรจะมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับ ความรู้ของผู้รับ ตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย
- ข้อมูลข่าวสาร (message) เกี่ยวข้องด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสาร
- ช่องทางในการส่ง (channel) หมายถึง การที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับได้รับข่าวสาร ข้อมูลโดยผ่านประสานทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น
- ผู้รับ (receiver)
ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสารโดยมีความสามารถใน
“การถอดรหัส” (decode) สาร เป็นผู้ที่มีทัศนคติ ระดับความ
และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรม
เช่นเดียวหรือคล้ายคลังกันกับผู้ส่งจึงจะทำให้การสื่อสารความหมายหรือการ
สื่อสารนั้นได้ผล
ตามลักษณะของทฤษฏี S M C R นี้ มีปัจจัยที่มีความสำคัญต่อขีดความสามารถของผู้ส่งและรับที่จะทำการสื่อสาร ความหมายนั้นได้ผลสำเร็จหรือไม่เพียงใด ได้แก่ - ทักษะในการสื่อสาร (communication skills) หมายถึง ทักษะซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับควรจะมีความชำนาญในการส่งและการรับการเพื่อให้ เกิดความเข้าใจกันได้อย่างถูกต้อง เช่น ผู้ส่งต้องมีความสามารถในการเข้ารหัสสาร มีการพูดโดยการใช้ภาษาพูดที่ถูกต้อง ใช้คำพูดที่ชัดเจนฟังง่าย มีการแสดงสีหน้าหรือท่าทางที่เข้ากับการพูด ท่วงทำนองลีลาในการพูดเป็นจังหวะ น่าฟัง หรือการเขียนด้วยถ้อยคำสำนวนที่ถูกต้องสละสลวยน่าอ่าน เหล่านี้เป็นต้น ส่วนผู้รับต้องมีความสามารถในการถอดรหัสและมีทักษะที่เหมือนกันกับผู้ส่งโดย มีทักษะการฟังที่ดี ฟังภาษาที่ผู้ส่งพูดมารู้เรื่อง หรือสามารถอ่านข้อความที่ส่งมานั้นได้ เป็นต้น
- ทัศนคติ (attitudes) เป็นทัศนคติของผู้ส่งและผู้รับซึ่งมีผลต่อการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งและผู้รับ มีทัศนคติที่ดีต่อกันจะทำให้การสื่อสารได้ผลดี ทั้งนี้เพราะทัศนคติย่อมเกี่ยวโยงไปถึงการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างผู้ส่ง และผู้รับด้วย เช่น ถ้าผู้ฟังมีความนิยมชมชอมในตัวผู้พูดก็มักจะมีความเห็นคล้อยตามไปได้ง่าย แต่ในทางตรงข้าม ถ้าผู้ฟังมีทัศนคติไม่ดีต่อผู้พูดก็จะฟังแล้วไม่เห็นชอบด้วยและมีความเห็น ขัดแย้งในสิ่งที่พูดมานั้น หรือถ้าทั้งสองฝ่ายมีทัศนคติไม่ดีต่อกันท่วงทำนองหรือนำเสียงในการพูดก็อาจ จะห้วนห้าวไม่น่าฟัง แต่ถ้ามีทัศนคติที่ดีต่อกันแล้วมักจะพูดกันด้วยความไพเราะอ่านหวานน่าฟัง เหล่านี้เป็นต้น
- ระดับความรู้ (knowledge levels) ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีระดับความรู้เท่าเทียมกันก็จะทำให้การสื่อสารนั้น ลุล่วงไปด้วยดี แต่ถ้าหากความรู้ของผู้ส่งและผู้รับมีระดับที่แตกต่างกันย่อมจะต้องมีการ ปรับปรุงความยากง่ายของข้อมูลที่จะส่งในเรื่องความยากง่ายของภาษาและถ้อยคำ สำนวนที่ใช้ เช่น ไม่ใช่คำศัพท์ทางวิชาการ ภาษาต่างประเทศ หรือถ้อยคำยาว ๆ สำนวนสลับซับซ้อน ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกและง่ายต่อความเข้าใจ ตัวอย่างเช่น การที่หมอรักษาคนไข้แล้วพูดแต่คำศัพท์การแพทย์เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ย่อมทำให้คนไข้ไม่เข้าใจว่าตนเองเป็นโรคอะไรแน่หรือพัฒนากรจากส่วนกลางออกไป พัฒนาหมู่บ้านต่าง ๆ ในชนบทเพื่อให้คำแนะนำทางด้านการเกษตรและเลี้ยงสัตว์แก่ชาวบ้าน ถ้าพูดแต่ศัพท์ทางวิชาการโดยไม่อธิบายด้ายถ้อยคำภาษาง่าย ๆ หรือไม่ใช้ภาษาท้องถิ่นก็จะทำให้ชาวบ้านไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดได้ หรือในกรณีของการใช้ภาษามือของผู้พิการทางโสต ถ้าผู้รับไม่เคยได้เรียนภาษามือ มาก่อนทำให้ไม่เข้าใจและไม่สามารถสื่อสารกันได้ เหล่านี้เป็นต้น
- ระบบสังคมและวัฒนธรรม (socio - culture systems) ระบบสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติเป็นสิ่งที่มีส่วนกำหนดพฤติกรรมของประชาชน ในประเทศนั้น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติ สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติย่อมมีความแตกต่างกัน เช่น การให้ความเคารพต่อผู้อาวุโส หรือวัฒนธรรมการกินอยู่ ฯลฯ ดังนั้น ในการติดต่อสื่อสารของบุคคลต่างชาติต่างภาษา จะต้องมีการศึกษาถึงกฎข้อบังคับทางศาสนาของแต่ละศาสนาด้วย
http://www.baanjomyut.com/library/communication_theory/03_2.html
หลักทฤษฎีและปฎิบัติการบริหารการศึกษา (Pricnciples,Theories and practices of Educational Administrator)
วันนี้นอนไม่หลับดูนาฬิกาแล้วเที่ยงคืนกว่าๆ พรุ่งนี้ก็ไม่มีงานค้าง(ยกเว้นงานค้นคว้าอิสระ) เปิดโน๊ตบุ๊คนั่งอับเฟสบุ๊คแล้วก็ยังไม่ง่วงก็เลยมานั่งอับโหลดคลิปที่เรียนวันนี้ต่ออีกสักครึ่งชั่วโมง วันนี้เป็นอาทิตย์ที่สองของการเรียน วิชา หลักทฤษฎีและปฎิบัติการบริหารการศึกษา (Pricnciples,Theories and practices of Educational Administrator) ซึ่งสอนโดย ดร.เฉลิมชัย หาญกล้า
บรรยากาศการเรียนเยี่ยมมากๆครับได้ทั้งสาระและความบันเทิง ผมว่า คุ้มกว่าซื้อบัตรเดียวไมโครโฟนของโน๊ตอุดมมากเลยทีเดียวครับ กิจกรรมการเรียนวิชานี้มีหลากหลายครับทั้งมอบหมายงานค้นคว้างอิสระ อภิปราย บรรยาย และนำเสนอผลงาน สุดท้ายด้วยการสอบภาคทฤษฎี ซึ่งขอบข่ายเนื้อหาวิชานี้ประกอบด้วย 1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา 2.แนวคิดและพัฒนาการของทฤษฎีการบริหารการศึกษา 3.โครงสร้างและการจัดการองค์การเพื่อการบริหารการศึกษาของไทย 4.การกระจายอำนาจทางการศึกษา 5.ภาวะผู้นำทางการศึกษา 6.มนุษย์สัมพันธ์และการจูงใจ 7.วัฒนธรรมและบรรยากาศองค์การทางการศึกษา 8.การเปลี่ยนแปลงขององค์การทางการศึกษา 9.การพัฒนาองค์การทางการศึกษา 10.การนำเสนอบทความทางวิชาการ
การเรียนการสอนในรูปแบบการถ่ายทอดประสบการณ์นี้มีประโยชน์สำหรับผมมากครับ ซึ่งการเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆก่อนที่เราจะต้องทำการ วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้เหล่านั้นเพื่อตอบสนององค์กรที่เราทำงาน(ในที่นี้องค์การคือโรงเรียนที่ผมสอนครับ) กลุ่มผมได้หัวข้อการนำเสนอผลงานวิชาการเรื่องการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การสำหรับสถานศึกษา ซึ่งผมคิดว่าเป็นโจทย์คลาสสิกอีกหัวข้อหนึ่งครับ ซึ่งต้องใช้ทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ ซึ่งต้องนำเสนอในแนวการบริหารการศึกษาและต้องโฟกัสลงเชิงบริหาร ทั้ง 4 ฝ่าย ซึ่งในโรงเรียนทุกที่ปกติแล้วจะแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ฝ่ายแต่บางที่อาจมีมากกว่านี้ครับ ซึ่งบางอย่างผมก็ได้แชร์ไปบ้างแล้วเช่น
บรรยากาศการเรียนเยี่ยมมากๆครับได้ทั้งสาระและความบันเทิง ผมว่า คุ้มกว่าซื้อบัตรเดียวไมโครโฟนของโน๊ตอุดมมากเลยทีเดียวครับ กิจกรรมการเรียนวิชานี้มีหลากหลายครับทั้งมอบหมายงานค้นคว้างอิสระ อภิปราย บรรยาย และนำเสนอผลงาน สุดท้ายด้วยการสอบภาคทฤษฎี ซึ่งขอบข่ายเนื้อหาวิชานี้ประกอบด้วย 1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา 2.แนวคิดและพัฒนาการของทฤษฎีการบริหารการศึกษา 3.โครงสร้างและการจัดการองค์การเพื่อการบริหารการศึกษาของไทย 4.การกระจายอำนาจทางการศึกษา 5.ภาวะผู้นำทางการศึกษา 6.มนุษย์สัมพันธ์และการจูงใจ 7.วัฒนธรรมและบรรยากาศองค์การทางการศึกษา 8.การเปลี่ยนแปลงขององค์การทางการศึกษา 9.การพัฒนาองค์การทางการศึกษา 10.การนำเสนอบทความทางวิชาการ
การเรียนการสอนในรูปแบบการถ่ายทอดประสบการณ์นี้มีประโยชน์สำหรับผมมากครับ ซึ่งการเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆก่อนที่เราจะต้องทำการ วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้เหล่านั้นเพื่อตอบสนององค์กรที่เราทำงาน(ในที่นี้องค์การคือโรงเรียนที่ผมสอนครับ) กลุ่มผมได้หัวข้อการนำเสนอผลงานวิชาการเรื่องการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การสำหรับสถานศึกษา ซึ่งผมคิดว่าเป็นโจทย์คลาสสิกอีกหัวข้อหนึ่งครับ ซึ่งต้องใช้ทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ ซึ่งต้องนำเสนอในแนวการบริหารการศึกษาและต้องโฟกัสลงเชิงบริหาร ทั้ง 4 ฝ่าย ซึ่งในโรงเรียนทุกที่ปกติแล้วจะแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ฝ่ายแต่บางที่อาจมีมากกว่านี้ครับ ซึ่งบางอย่างผมก็ได้แชร์ไปบ้างแล้วเช่น
21st Century Skills ซึ่งว่าด้วย ทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Life Skills, ICT Skills, Learning Skills) เป็นแนวคิดหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การสำหรับสถานศึกษา
คลิปด้านล่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนนะครับเอามาเล่าสู่กันฟัง แชร์ไว้เผื่อมีประโยชน์กับผู้อ่านครับ
Monday, November 26, 2012
เก็บภาพการแข่งขันโครงงานหุ่นยนต์ ในงานศิลปหัตกรรมครั้งที่ 62 ณ จังหวัดเชียงใหม่
เก็บภาพการแข่งขันโครงงานหุ่นยนต์ ในงานศิลปหัตกรรมครั้งที่ 62 ณ จังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 ผมได้นำนักเรียนเข้าร่วมแข่งขัน โครงงานหุ่นยนต์ ในหัวข้อหุ่นยนต์ทำงานแทนมนุษย์ ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกในการทำงานของผม สิ้นเดือนธันวาคมนี้ก็จะครบ 1 ปี ผมเริ่มสอนโครงงานในชุมนุมนักประดิษฐ์และบูรณาการกับสาระอื่นที่ผมสอน เช่น วิชาฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งดูแล้วสองวิชานี้ไปด้วยกันได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวิชาเรียนที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า สามารถนำมาเล่นโครงงานได้อย่างหลากหลาย จากประสบการณ์ร่วมประกวดโครงงานครั้งนี้มีผลดังนี้ครับ
ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้สำหรับผมน่าจะเป็นการศึกษาดูงานมากกว่าเพราะในปีนี้เป็นปีแรก ที่เราเข้าร่วมผมเองยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้ ส่วนความรู้ที่ได้รับและการเพิ่มโลกทัศน์ให้นักเรียนนั้นคือสิ่งที่ผมมุ่งหวังตั้งเป้าไว้ให้การเรียนการสอนของผมเสร็จสิ้นสมบูรณ์แบบ ซึ่งผมได้เขียนไว้ในบทความก่อนหน้านี้ บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน Project Base Learning ส่วนรางวัลต่างๆสำหรับผมผมถือว่านี่เป็นผลพลอยได้ของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนะครับ
ในการแข่งขันครั่งนี้ทำให้ผมต้องกลับมามองอีกมุมหนึ่งของเทคโนโลยีซึ่งเทคโนโลยีบางตัว เช่น Labviews , PLC นั้นผมเรียนในระดับมหาวิทยาลัย บางตัวนำแล็บแมคคาทอนิกส์ที่ผมเรียนมาเลย ซึ่งข้อจำกัดต่างๆทำให้ให้ผมสะท้อนได้หลายมุม แต่ก็ยังคงต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาที่ผมสอน ซึ่งก็ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากมายนัก แต่ต้องประยุกต์ใช้สิ่งที่มีให้คุ้มค่าและเหมาะสมที่สุด ซื้อมาครั้งเดียวให้ใช้งานได้กับการเรียนการสอนหลายๆรอบ ซึ่งถ้าตอบโจทย์แบบนี้ได้ ที่โรงเรียนที่ผมสอนคงไม่มีปัญหาเรื่องการซื้อวัสดุอุปกรณ์
ผมนำภาพกิจกรรมการประกวดโครงงานมาฝากครับ
Subscribe to:
Posts (Atom)