วันนี้ท่านอาจารย์ธนัตต์ ได้แบ่งกลุ่มการศึกษาค้นคว้าและนำเสนอทั้งหมด 9 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คนพอดี ซึ่งมีหัวข้อดังนี้
1.Structure in Schools 2.Individuals in Schools 3.Culture and Climate in Schools 4.Power and Politics in Schools 5.Extranal Environment of Schools 6.Schools Effectiveness,Accountability,and Improvement 7.Decision Makinging in Schools 8.communication in Schools 9.Ledership in Schools
การเรียนการสอนปัจจุบันนำ Media ต่างๆเข้ามาร่วมในการเรียนการสอน เกือบทุกรูปแบบ รูปสึกว่าเรียนอยู่กับปัจจุบันมากครับ
วันนี้เรียนสบายๆ ฟังบรรยายเกี่ยวกับปรัชญาและการบริหาร ในบริบทของการศึกษา วิชา ความเป็นนักบริหารมืออาชีพ วันนี้เราเรียนรู้ทฤษฎีการบริหาร ของหลายๆท่าน ของนำเสนอ 1 ท่านนะครับ คาร์ล เอมิล มักซิมิเลียน "มักซ์" เวเบอร์
คาร์ล เอมิล มักซิมิเลียน "มักซ์" เวเบอร์ (เยอรมัน: Karl Emil Maximilian "Max" Weber) (21 เมษายน ค.ศ. 1864 – 14 มิถุนายน ค.ศ. 1920) เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองและนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ถือกันว่าเวเบอร์เป็นผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยาสมัยใหม่และรัฐประศาสนศาสตร์ งานชิ้นหลัก ๆ ของเขาเกี่ยวข้องกับสังคมวิทยาศาสนาและสังคมวิทยาการปกครอง นอกจากนี้เขายังมีงานเขียนอีกหลายชิ้นในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ งานที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุดของเวเบอร์คือ ความเรียงเรื่อง จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม ซึ่งเป็นงานชิ้นแรกของเขาในสาขาสังคมวิทยาศาสนา ในงานชิ้นดังกล่าว เวเบอร์เสนอว่าศาสนาเป็น หนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ที่นำไปสู่เส้นทางการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่ต่างกันระหว่างโลกประจิม (the Occident) กับโลกบูรพา (the Orient) ในงานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของเขาที่ชื่อการเมืองในฐานะวิชาชีพ (Politik als Beruf) เวเบอร์นิยามรัฐว่ารัฐคือหน่วยองค์ (entity) ซึ่งผูกขาดการใช้กำลังทางกายภาพที่ถูกกฎหมาย ซึ่งนิยามนี้ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ในเวลาต่อมา
ทฤษฎีระบบราชการ (bureaucracy) Max Weber
แยกพิจารณาได้เป็น 2 แบบ
1. Bureaucracy – ในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคม (social institute) สถาบันหนึ่ง นั่นคือ เป็นสถาบันการบริหาร / การปกครองของรัฐ
1.1 ถือเป็นสถาบันหนึ่งของกระบวนการในการปกครองประเทศ
1.2 เป็นสถาบันที่มีหน้าที่ ต้องปกป้อง ดูแล รักษาผลประโยชน์บ้านเมือง อีกแห่งหนึ่ง
1.3 ต้องการอิสระในการทำงาน เป็นสถาบันที่มั่นคง ยากต่อการเปลี่ยนแปลง แก้ไข
2. bureaucracy - ในฐานะที่เป็น รูปแบบหนึ่งของการจัดองค์การ (a form of organization) ในแง่นี้ bureaucracy
2.1 ระบบการบริหาร หรือระบบการทำงานระบบหนึ่ง
2.2 มีโครงสร้างแบบที่เรียกว่า “Weberian Bureaucracy”
2.3 เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ต่าง ๆ
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การแบบระบบราชการ
ข้อสมมติฐาน องค์การแบบระบบราชการเป็นองค์การที่ดีที่สุด และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัดที่สุดเหตุผล
1. ยึดหลักการบริหารที่อาศัยความมีเหตุมีผล และความถูกต้องตามกฎหมายในการปฏิบัติงาน
2. มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นทางการตามตัวบทกฎหมาย
3. อาศัยหลักความรู้ความสามารถ (ระบบคุณธรรม) เป็นเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคล
4. สามารถพยากรณ์พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ได้
รูปแบบแห่งการใช้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชา
ตามแนวคิดของ Max Weber แบ่งเป็น 3 รูปแบบ
-Charismatic Domination รูปแบบการใช้อำนาจเฉพาะตัวแบบอาศัยบารมี กลไกลการบริหารที่ใช้คือ
Dictatorship, communal
-Traditional domination รูปแบบการใช้อำนาจแบบประเพณีนิยม
-Feudal / Patrimonial (ระบบศักดินา / เจ้าขุนมูลนาย) รูปแบบการใช้อำนาจตามกฎหมาย (Legal domination)
องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber
ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้
1. หลักลำดับขั้น (hierarchy)
2. หลักความสำนึกแห่งความรับผิดชอบ (responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentiation, specialization)
6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
7. หลักความเป็นวิชาชีพ (professionalization)
1. หลักลำดับขั้น (hierarchy) การสั่งการและการควบคุมมีความรัดกุม ทำให้การดำเนินงานเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการบริหารที่เน้นกฎเกณฑ์และขั้นตอน
2. หลักความสำนึกแห่งความรับผิดชอบ (responsibility) หมายถึง การ รับผิดและรับชอบต่อการก
ระทำใด ๆ ที่ (responsibility) ตนได้กระทำลงไปและความพร้อมที่ จะให้มีการตรวจสอบโดยผู้
บังคับบัญชาอยู่ตลอดเวลาด้วย
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality) ความถูกต้องเหมาะสมของแนวปฏิบัติที่จะนำมาใช้
เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
- ประสิทธิผล (effective)
-ประสิทธิภาพ (efficiency)
- ประหยัด (economic)
4. หลักการมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation) การปฏิบัติงานใด ๆ จะต้องมุ่งสู่เป้าหมายหรือ
วัตถุประสงค์ขององค์การเสมอ (ประสิทธิผล)
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization) ลักษณะทาง
โครงสร้างขององค์การแบบระบบราชการ ต้องมีการแบ่งงาน และจัดแผนกงาน หรือจัดส่วนงาน
(departmentation) ขึ้นมา เพราะภารกิจการงานขององค์การขนาดใหญ่มีจำนวนมากจึงต้องมีการ
แบ่งงานที่ต้องทำออกเป็นส่วนๆ แล้วหน่วยงานมารองรับ
6. หลักระเบียบวินัย (discipline) ต้องมีการกำหนดระเบียบ วินัย และบทลงโทษ ขึ้นมาเพื่อเป็น
กลไกการควบคุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์การ
7. ความเป็นวิชาชีพ (Professionalization) ความเป็นวิชาชีพ “รับราชการ” นั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้อง
มีความรู้เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ
งานในภาระหน้าที่ของตนด้วย
http://ecom53.blogspot.com/2011/07/max-weber.html
No comments:
Post a Comment