โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Thursday, September 6, 2012

การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Desig) จัดทำคลิปวีดีโอการนำเสนอ อัตราเร็วเชิงมุม วิชาฟิสิกส์

 หลังจากที่ติดภารกิจในช่วง วันพฤหัสบดีและวันศุกร์ เกือบหนึ่งเดือนเต็มที่ไม่ได้สอนฟิสิกส์ เนื่องจากตรงกับวันที่ผมไปอบรม  แต่สั่งงานนักเรียนไว้ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองและเตรียมจัดทำรายงานในรูปแบบคลิปวีดีโอและอับโหลดขึ้น Youtube วันนี้ได้คลิปแรก ต้นแบบ แบบฮาๆ มาหนึ่งคลิป
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Desig) จัดทำคลิปวีดีโอการนำเสนอ อัตราเร็วเชิงมุม วิชาฟิสิกส์




ส่วนที่ผมได้ประสบการณ์ตรงจาการสอนโดยใช้ Social Media แบบนี้ สังเกตได้ว่า นักเรียนให้ความสนใจกับเนื้อหาวิชาการและสนุกกับการเรียนมากขึ้น 


จิตวิทยาที่น่าสนใจครับ แนะนำเพิ่ม

จากแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึมที่เป็นรากฐานสำคัญซึ่งปรากฏ จากรายงานของนักจิตวิทยาและนักการศึกษา คือ Jean Piaget ชาวสวิส และ Lev Vygotsky ชาวรัสเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ Cognitive Construtivism และ Social Construtivism ดังมีรายละเอียด ดังนี้
  1. Cognitive Constructivism มีพื้นฐานมาจากแนวคิดของ Piaget แนวคิดของทฤษฎีนี้ เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการลงมือกระทำ Piaget เชื่อว่าถ้าผู้เรียนถูกกระตุ้นด้วยปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive conflict) หรือเรียกว่าเกิดการเสียสมดุลย์ทางปัญญา(Disequilibrium) ผู้เรียนต้องพยายามปรับโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive structuring)ให้เข้าสู่ภาวะสมดุลย์(Equilibrium) โดยวิธีการดูดซึม (Assimilation) ได้แก่ การรับข้อมูลใหม่จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปไว้ในโครงสร้างทางปัญญา และ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญา(Accomodation) คือ การเชื่อมโยงโครงสร้างทางปัญญาเดิม หรือความรู้เดิมที่มีมาก่อนกับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่งผู้เรียนสามารถปรับโครงสร้างทางปัญญาเข้าสู่สภาพสมดุลย์ หรือสามารถที่จะสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ หรือเกิดการเรียนรู้นั่นเอง
     
  2. Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีรากฐานมาจาก Vygotsky ซึ่งมีแนวคิดที่สำคัญที่ว่า "ปฏิสัมพัธ์ทางสังคม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านพุทธิปัญญา"รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับศักยภาพในการ พัฒนาด้านพุทธิปัญญาที่อาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับช่วงของการพัฒนาที่รียกว่า Zone of Proximal Development ถ้าผู้เรียนอยู่ต่ำกว่า Zone of Proximal Development จำเป็นที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า Scaffolding และVygotskyเชื่อว่าผู้เรียนสร้างความรู้โดยผ่านทางการมีปฏิสัมพันธ์ทาง สังคมกับผู้อื่น ได้แก่ เด็ก กับ ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครูและเพื่อน ในขณะที่เด็กอยู่ในบริบทของสังคมและวัฒนธรรม(Sociocultural context )

No comments:

Post a Comment

like