โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Saturday, September 29, 2012

กรอบการวิจัยและหัวข้อการวิจัย

                

             เมื่อวันเสาร์ที่ 29 กันยายน ผมเรียนวิชา การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา  ซึ่งวิชาแรกคือ วิทยาการวิจัย วิชานี้่ต่อจากวิชาก่อน ว่าด้วยการออกแบบการวิจัย  สร้างเครื่องมือ  วิเคราะห์ข้อมูล  แปรผล  สรุปผล  และเขียนรายงานการวิจัย   ซึ่งกรอบการวิจัยและหัวข้อการวิจัย ของผมก็พึ่งผ่านเมื่อวานนี้ ผมได้หัวข้อ "การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหาร สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 จังหวัดเพชรบูรณ์"  ซึ่งใช้กรอบในแนวคิดการวิจัยของ เซ็งกี้(Senge, 1990, p.126) ซึ่งได้แก่ 1) ความเป็นบุคคลรอบรู้ 2) แบบแผนความคิด 3) วิสัยทัศน์ร่วม    4) การเรียนรู้เป็นทีม  5) การคิดอย่างเป็นระบบ  โดยมีกรอบแนวคิดการวิจัย ดังนี้

 ตัวแปรอิสระ
สถานภาพของครูและผู้บริหาร จำแนกตาม
1)ตำแหน่ง
2)อายุ
3)วุฒิการศึกษา
4)ประสบการณ์ในการทำงาน
5)ขนาดของสถานศึกษา


ตัวแปรตาม
การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหาร สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 จังหวัดเพชรบูรณ์
 1) ความเป็นบุคคลรอบรู้
 2) แบบแผนความคิด
 3) วิสัยทัศน์ร่วม   
 4) การเรียนรู้เป็นทีม 
 5) การคิดอย่างเป็นระบบ


ที่โรงเรียนของผม มีครู 20 คน  ผู้บริหาร 2 คน กำลังเรียนต่อ ปริญญาโทและจบแล้วอยู่ 9 คน  ซึ่งผมมองดูแล้วเหมาะที่จะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และ ครูอีกหนึ่งคนที่ทำหัวข้อใกล้เคียงกัน คือ ปัญหาการจัดการความรู้ของครูและผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 40 ใช้ กรอบแนวคิดการจัดการความรู้ของมาร์ควอท (Marquardt, 1996,pp. 130-140) ซึ่งได้แก่ 1. การแสวงหาความรู้  2. การสร้างความรู้ 3. การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ 4. การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ ซึ่ง หัวข้อนี้กับ หัวข้อที่ผมทำวิจัย ใกล้เคียงกัน มีจุดคาบเกี่ยวบางส่วนที่ต้องใช้ทั้งสองเรื่องเข้าด้วยกัน



              การทำวิจัยครั้งนี้เป็นการทำวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งเริ่มแรกเดิมทีนั้น ผมอยากทำการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งตอนเรียน ป ตรี นั้น ผมทำโปรเจค ซึ่งต้องทำการวิจัยเชิงทดลอง แต่ ลองมาทำวิจัยเชิงสำรวจ ก็น่าจะได้ความหลากหลายอีกแบบ ส่วนการวิจัยเชิงทดลอง เรืือง "การจัดการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์โดยใช้ Social Media ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้(Constructivism)" และเรื่อง "การจัดการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์โดยใช้ Social Media ตามทฤษฎีการจักการความรู้ (Knowlage Management)" นั้งคงต้องลงไว้ก่อน นำไปเป็นวิจัยในชั้นเรียนแทน แต่สิ่งที่ได้ คือการค้นคว้าเพิ่มเติมความรู้ และชิ้นงานที่นักเรียนได้ทำ ตลอต 20 สัปดาห์ ที่ผมสอนนักเรียนที่ซับบอนวิทยาคม  และได้เริ่มสอนโดยใช้การบูรณาการสอน  วิชาคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์  และฟิสิกส์ โดยการสอนแบบบูรณาการ

No comments:

Post a Comment

like