อาทิตย์นี้ทั้งอาทิตย์ ผมนั่งอ่านหนังสือ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ หลายๆเล่น และหลายๆรอบ หายใจเข้าออกช่วงนี้มีแต่เรื่องนี้ เรื่องอื่นขั้นเวลา และได้เขียนในบทความก่อนเกี่ยวกับงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
ช่วงที่งานยุ่งๆ ศึกษาธรรมมะ อิทธบาท 4 สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 สติปฐาน 4 และ อริยสัจ 4
Peter Senge (1990) เชื่อว่า หัวใจของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ที่การเสริมสร้างวินัย 5 ประการกับศาสตร์แห่งพุทธศาสนาที่น่าจะผสมผสานกับวัฒธรรมแบบไทยเราได้ดี
1.บุคลากรชั้นเลิศ (Personal mastery) คือการมุ่งพัฒนาตนสู่ความเป็นมืออาชีพ ซึ่งมีความหมายที่ใกล้เคียงกันกับ อิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริย จิตตะ วิมังสา สามารถทำให้เกิดสิ่งนี้่ได้สบายๆ
2.มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Building shared vision) คือ การมีเป้าหมายร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกัน พรหมวิหาร 4
3.มีแบบแผนความคิดร่วม (Mental models) คือ รูปแบบการคิดการแก้ปัญหา ต้องเป็นรูปแบบที่สร้างสรรค์ ควบคุมให้อยู่ในระบบเบียบได้ ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกับ สติ ต้องฝึก สติปฐาน 4
4.เรียนรู้เป็นทีม (Team learning) คือ ต้องสามารถทำงานร่วมกันได้ ไม่ได้เด่นหรือเก่งแค่คนเดียว ธรรมมะที่จำเป็นต้องใช้ คือ สังคหวัตุ 4 (ตัวแปรเรื่องนี้หลากหลาย พูดกันเพราะๆจะได้ไม่ต้องต่อยกัน)
5.การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic thinking) คือ การคิดเป็นระบบ เชื่อมโยงส่วนย่อยต่างๆเข้าด้วยกันได้ หาเหตุผลการเกิดปัญหาได้สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น หากเป็นธรรมคำสอนตามแนวพทธ คือ อริยสัจ 4
ธรรมมะที่จำเป็นสำหรับ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีดังนี้ครับ
1.อิทธบาท 4
2.พรหมวิหาร 4
3.สติปฐาน 4
4.สังคหวัตถุ 4
5.อริยสัจ 4
ถ้ามองกลับไปถึงก่อนการตรัสรู้นั้น พระพุทธเจ้า เป็นองค์ชายที่เตรียมขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากบิดา ซึ่งเมื่องได้ตรัสรู้ธรรม ก็ได้เสด็จไปเผยแผ่ธรรมมะให้กษัตริย์แคว้นต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่า น่าจะมีแนวการบริหารองค์กรอยู่ไม่น้อย ซึ่งธรรมมะที่ได้ตรัสสอนไว้นั้น ปฎิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล วันนี้มานั่งพิจารณาเชื่อมโยงแล้ว เป็นจริงทุกประการครับ
หลังจากที่ได้ศึกษาทั้งสองศาสตร์และจากการอ่านตำราของหลายๆศาสตราจารย์ หลาย ดร. ผมขอสรุปในมุมมองของผมนะครับ
องค์การแห่งการเรียนรู้ในมุมมองของผม ต้องทำอย่างแรก คือ อภัยทาน (สังคหวัตถุ 4) เนื่องจากผมเห็นว่าทุกองค์การมีความขัดแย้งกันอยู่มาก อย่างที่สอง คือ ต้องมีพรหมวิหาร 4 มีเมตตาเป็นหลัก ตามมาด้วย กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา ประการที่สาม สี่ ห้าต่อมา คือ สติ อิทธบาท 4 และอริยสัจ 4
เน้นๆย้ำๆ เรื่อง อภัยทาน เป็นการทำบุญและทำทานที่ทำได้ทุกที่ทุกเวลา ให้ผลได้ทันตาเห็น อย่างแรกคือสบายใจ ไม่ทุกข์แค้นใจ
หัวข้อธรรม อิทธบาท 4 สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 สติปฐาน 4 และ อริยสัจ 4 ว่างๆ จะมาเขียนต่อนะครับ
No comments:
Post a Comment