โฆษณา

STEM Education ด้วย Social Media by kruweerachat

Saturday, October 6, 2012

โครงงาน" หุ่นยนต์ทำงานแทนคน " ได้ไปแข่งต่อระดับภาคเหนือ อีก 1 รายการ

โครงงาน" หุ่นยนต์ทำงานแทนคน "  ได้ไปแข่งต่อระดับภาคเหนือ อีก 1 รายการ
                หลังจากทีรอประกาศจากสำนักนวัฒกรรมมานานพอสมควร วันนี้ ก็ได้รับข้อมูลที่ส่งมาโดย อ.จรัสพงษ์ คือผลการคัดเลือก โครงงาน "หุ่นยนต์ทำงานแทนคน" ซึ่งได้ผ่านรอบการคัดเลือกให้เข้าแข่งระดับภาคเหนือต่อไป ซึ่งการเรียนการสอนในรูปแบบโครงงานนี้ ผมอยากจัดร่วมกับการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์และวิชาอื่นๆ ซึ่งเคยเขียนเกี่ยวกับ Project Base Learning ไว้แล้วเมื่อประมาณสองเดือนที่แล้ว ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้ กระบวนการเรียนรู้ และได้ลงมือปฎิบัติจริง
             

                วันนี้คงต้องกลับไปรีโปรเจคให้นักเรียนใหม่เพื่อเตรียมไปแข่ง ซึ่งผมสอนที่โรงเรียนใช้สอนในชุมนุมนักประดิษฐ์ มีครูสอน ร่วมกัน อีก 2 คน คือ อ.ชำนาญ คำมี และ อ.จำรัส เพชรภักดี และกิจกรรมต่างๆ เช่น งานวันวิทยาศาสตร์  ซึ่งสอนเสริมกันไปในรายวิชา ซึ่งก็มีอยู่ตามมาตรฐานการเรียนับรู้ในหลักสูตรครับ


เก็บความรู้มาฝากนิดนึงครับ




การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project Based Learning)


การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project Based Learning)
การเรียนรู้ด้วยโครงงานเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าอย่างไร
ครูต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายอะไรบ้าง
สิ่งท้าทายที่ครูต้องเผชิญ อาจรวมถึง

......... การนำโครงงานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนถือได้ว่าไม่ใช่สิ่งใหม่ในการจัดการศึกษา อย่างไรก็ตามในทศวรรษที่ผ่านมามีการนำมาใช้ได้ค่อยพัฒนาจนได้รับการยอมรับเป็นกลวิธีการสอนอย่างเป็นทางการ การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานได้เข้ามามีส่วนสำคัญในห้องเรียนเมื่อมีงานวิจัยมาสนับสนุนสิ่งที่ครูได้เชื่อมั่นมายาวนานก่อนหน้านี้ว่านักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นเมื่อมีโอกาสได้ค้นคว้าในสิ่งที่ซับซ้อน ท้าทายหรือในบางครั้งเป็นประเด็นปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้

>
.........การเรียนรู้ด้วยโครงงานจะเป็นไปตามความสนใจของนักเรียน การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือล้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูง (Thomas, 1998) มีงานวิจัยเกี่ยวกับสมองได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมการเรียนรู้ลักษณะนี้ ศักยภาพในการรับรู้สิ่งใหม่ๆของนักเรียนจะถูกยกระดับขึ้นเมื่อได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการแก้ปัญหาที่มีความหมายและเมื่อนักเรียนได้รับความช่วยเหลือให้เข้าใจว่าความรู้กับทักษะเหล่านั้นสัมพันธ์กันด้วยเหตุใด เมื่อไหร่และอย่างไร (Bransford, Brown, & Conking, 2000, p. 23)

การเรียนรู้ด้วยโครงงานคืออะไร
>
.........การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นรูปแบบวิธีสอนที่จะนำนักเรียนเข้าสู่การแก้ปัญหาที่ท้าทายและสร้างชิ้นงานได้สำเร็จด้วยตนเองโครงงานที่จะมาช่วยสร้างสภาวะการเรียนรู้ภายในชั้นเรียนจะเกิดได้ในหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ในหลายเนื้อหาและในหลายระดับช่วงชั้นโครงงานจะเกิดขึ้นบนความท้าทายจากคำถามที่ไม่สามารถตอบได้จากการท่องจำ โครงงานจะสร้างบทบาทหลากหลายขึ้นในตัวนักเรียน-เป็นผู้ที่แก้ปัญหา คนที่ตัดสินใจ นักค้นคว้า นักวิจัยโครงงานจะตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงทางการศึกษา;ไม่ใช้สิ่งที่แปลกแยกหรือเพิ่มเติมลงไปในหลักสูตรเนื้อหาที่แท้จริง


>
.........การค้นคว้าจะเป็นการรวบรวมกิจกรรมหลากหลายที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเราในเรื่องความอยากรู้อยากเห็นที่มีต่อสิ่งรอบตัวการค้นคว้าจะมีความหมายเฉพาะเจาะจงในประเด็นทางการศึกษา ครูที่ใช้กระบวนค้นคว้าเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนจะกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักตั้งคำถาม วางแผนดำเนินงานในการค้นคว้า การสังเกต และบอกสิ่งที่ค้นพบได้ แต่อย่างไรก็ดี อาจจะเป็นได้มากกว่านั้นก็ได้ กิจกรรมการค้นคว้าในห้องเรียนอาจเกิดต่อเนื่องไปตลอดการเรียนรู้-จากการเรียนรู้แบบเดิมที่มีครูเป็นผู้ดำเนินการไปสู่การเรียนรู้ที่เปิดกว้างและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในสิ่งอื่นๆ ได้ (Jarrett, 1997)
เราอาจจะคิดว่าการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เชิงค้นคว้า มีงานวิจัยที่สรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยโครงงานไว้ว่าเป็นโครงงานจะเน้นให้ผู้เรียนสนใจในปัญหาหรือคำถามที่จะผลักดันให้เข้า ถึงแก่นของแนวคิดหรือหลักการนั้น (Thomas, 2000, p. 3) ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนรู้จักการค้นคว้าและสร้างสรรค์ความรู้เชิงนวัตกรรมด้วยตนเอง (Thomas, 2000) โดยปกติแล้ว นักเรียนจะเป็นผู้สร้างทางเลือกในการออกแบบโครงงานเอง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ตอบสนองต่อความสนใจใครรู้และความอยากรู้อยากเห็น และในการพยายามที่จะคำถามเหล่านั้น นักเรียนอาจได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่แม้แต่ครูเองก็ยังไม่ได้กำหนดไว้

ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบโครงงานมีอะไรบ้าง
>
.........การเรียนรู้ด้วยโครงงานจะมีประโยชน์ที่หลากหลายทั้งต่อครูและนักเรียน ในการที่จะช่วยสร้างองค์ความรู้จากการค้นคว้ามีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นที่รับรองว่าการเรียนรู้ด้วยโครงงานจะทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมลดการขาดเรียนเพิ่มทักษะในการเรียนรู้แบบร่วมมือและช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (George Lucas Educational Foundation, 2001)
สำหรับนักเรียนแล้ว ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มีดังนี้
• เพิ่มอัตราการเข้าเรียน เสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และพัฒนาทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้ (Thomas, 2000)
• เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการเรียนรู้แบบอื่นแล้ว ผลสัมฤทธิ์มค่าเท่ากับหรือสูงกว่า หากผู้เรียนได้มีส่วนรับผิดชอบในการทำโครงงาน (Boaler, 1997; SRI, 2000)
• เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาทักษะที่ซับซ้อน เช่น ทักษะการคิดขั้นสูง การแก้ปัญหา การทำงานแบบร่วมมือและการสื่อสาร (SRI, 2000)
• ให้โอกาสที่เปิดกว้างต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน มีการปรับใช้กลวิธีเพื่อรองรับผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Railsback, 2002)
>
.........การเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบนี้จะเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักเรียนหลายๆ คนจากการที่ได้รับประสบการณ์ตรง โดยจะได้รับบทบาทและใช้พฤติกรรมของผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการทำหนังสารคดีเกี่ยวกับอนุรักษ์สภาพแวดล้อม การออกแบบแผ่นพับที่แนะนำแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นหรือสร้างงานนำเสนอเพื่อแสดงข้อดีข้อเสียของการก่อสร้างห้างสรรพสินค้า นักเรียนจะได้มีส่วนร่วมในสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกจริงๆ ที่มีความสำคัญนอกชั้นเรียน

>
.........ประโยชน์ที่ได้สำหรับครูที่นอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพแล้วยังช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน รวมทั้งโอกาสที่จะได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนด้วย (Thomas, 2000) นอกจากนั้นยังมีครูอีกมากที่รู้สึกยินดีที่ได้ค้นพบรูปแบบวิธีสอนที่เหมาะสมกับความหลากหลายของนักเรียนด้วยการเปิดโอกาสในการเรียนรู้ในชั้นเรียนยังพบอีกว่านักเรียนที่จะได้ประโยชน์จากวิธีเรียนด้วยโครงงานมักจะเป็นนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการแบบเดิมไม่ค่อยได้ผลดีนัก (SRI, 2000)

วิธีสอนนี้เปลี่ยนแปลงการสอนในห้องเรียนแบบเดิมๆ อย่างไรบ้าง
>
.........โครงการพัฒนาคุณภาพวิชาชีพครู Intel® Teach to the Future (2003) ได้กล่าวในงานนำเสนอเพื่อชี้แจงโครงการว่าห้องเรียนที่ครูใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน จะมี
• คำถามที่ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องคำตอบเดียว
• มีบรรยากาศที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและการเปลี่ยนแปลง
• นักเรียนมีการตัดสินใจโดยมีกรอบแนวคิด
• นักเรียนได้ออกแบบวิธีการที่จะแก้ไขปัญหา
• นักเรียนมีโอกาสที่จะประเมินกิจกรรมที่ทำ
• มีการประเมินเป็นกระบวนการต่อเนื่อง
• มีผลผลิตในขั้นสุดท้ายและสามารถประเมินคุณภาพได้

>
.........สำหรับนักเรียนที่คุ้นเคยกับวิธีจัดการเรียนการสอนแบบเดิมๆจะพบว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานจากทำตามสั่งมาเป็นการทำงานที่กำหนดเป้าหมายด้วยตนเองจากการเน้นความจำและทำงานซ้ำๆมาเป็นการค้นคว้า การบูรณาการและการนำเสนอ จากการฟังและการตอบคำถามมาเป็นการสื่อสารและมีความรับผิดชอบ จากความรู้เชิงข้อเท็จจริงด้านเนื้อหามาเป็นความเข้าใจกระบวนการ จากการรู้ทฤษฎีมาเป็นการประยุกต์ใช้ จากการต้องพึ่งพาครูผู้สอนมาเป็นการพึ่งพาตนเอง (Intel, 2003)


>
.........ครูที่นำการจัดการเยนรู้ด้วยโครงงานมาสู่ชั้นเรียนจำเป็นจะต้องนำเอากลวิธีการสอนใหม่ๆมาใช้เพื่อให้เกิดความสำเร็จนอกจากนี้นักวิชาการยังเห็นด้วยว่าครูควรปรับบทบาทจากผู้สอนหรือถูกสอนมาเพื่อสอนมาเป็นผู้ชี้แนะหรือผู้จัดประสบการณ์ด้านการเรียนรู้มากกว่า
การสอนโดยตรงที่ต้องพึ่งพาตำราเรียน การสอนแบบบรรยายและการสอบแบบเดิมๆ อาจไม่ได้ผลตามที่คาดหากเทียบกับโลกแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงานที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกันหลายกลุ่มสาระ และถึงแม้ว่าครูจะทำหน้าที่เป็นโค้ชให้คำแนะนำแนวทางมากกว่าการบอกการสอน แต่ครูเองก็ต้องยอมรับข้อบกพร่องที่อาจเกิดขณะที่นักเรียนพยายามทำโครงงานให้สำเร็จ (Intel, 2003). ในขณะทำโครงงาน ตัวครูเองอาจพบว่าตัวเองก็กำลังเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับนักเรียนได้เช่นเดียวกัน

• การจดจำถึงสถานการณ์ที่อาจนำมาทำเป็นโครงงานที่ดี
• ปัญหาที่อาจก่อให้เกิดโอกาสในการเรียนรู้
• การร่วมมือกับเพื่อนครู่เพื่อบูรณาการข้ามกลุ่มสาระ
• การจัดการกระบวนการเรียนรู้
• การบูรณาการเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
• การพัฒนาแนวทางในการประเมินตามสภาพจริง
>
.........ที่จริงแล้ว ตัวครูเองก็อาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการที่จะเอาชนะความท้าทายตั้งแต่แรก การได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารจะช่วยทำให้การนำไปใช้จริงมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การกำหนดระยะเวลาหรือการวางแผนร่วมกันและช่วยให้โอกาสในการพัฒนาคุณภาพวิชาชีพแก่ครู

             


No comments:

Post a Comment

like